หมอชลน่านจ่อออกกฎกระทรวง 'ยาบ้า' ไม่ถึง 10 เม็ดเป็นแค่ผู้เสพ แต่ต้องดูเจตนา

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำปี 2567 โดยระบุว่า ผู้ติดยาเสพติดเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง และกลับมาเป็นซ้ำได้  ปัจจุบันประเทศไทย มี ใช้สารเสพติด ผู้เสพ และผู้ติด1.5ล้านคน และในจำนวนนี้ มี 5 แสนคน ที่อยู่ในเป้าหมายต้องค้นหา คัดกรอง เข้าสู่กระบวนการรักษาบำบัดยาเสพติดสิ่งสำคัญ คือ การในบำบัดรักษาผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด นอกจากทางการแพทย์แล้ว ครอบครัวชุมชน มีส่วนสำคัญที่จะต้องช่วยกันด้วย

ทางด้านกฎหมายการกำหนดจำนวนครอบครองยาเสพติดนั้น นายแพทย์ชลน่า ระบุว่า เบื้องต้นทางการรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข ออกกฎกระทรวงในการกำหนดจำนวนการครอบครองยาเสพติดว่ากี่เม็ดถึงจะเป็นผู้เสพ หรือ เป็นผู้ค้าเบื้องต้นได้มีการ ประชุมหารือกับคณะกรรมการยาเสพติด และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) โดยคาดว่าจะกำหนด 10 เม็ด ซึ่งจะต้องคอยสรุปโดยดูในทุกมิติ คาดประกาศกฏกระทรวงออกได้ในเดือนธันวาคมนี้

สำหรับการกำหนดคาดเป็นเรื่องของการครอบครอง กรณี 10 เม็ดขึ้นไป ถือเป็นผู้ค้าโดยมี แต่หากน้อยกว่า 10 เม็ดเป็นผู้เสพ

ทั้งนี้ก็ต้องดู ถึงเจตนาและพฤติการณ์ของผู้ที่ครอบครองยาเสพติดด้วย เช่น หากพบว่ามีการครอบครอง 1 เม็ด แต่มีพฤติการณ์ที่บ่งบอกในลักษณะของการขายชัดเจน ก็อาจจะตีเป็นผู้ขายได้ อย่างไรก็ตามในมุมของกระทรวงสาธารณสุขจะไม่สนใจว่าผู้เสพ เสพกี่เม็ด ก็ต้องดูแลบำบัดรักษา

ขณะที่ รัฐบาลมีนโยบาย มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้ความร่วมมือของทุกหน่วยงาน  ยึดหลัก เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย สนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ด้วยการพัฒนารูปแบบการเข้ารับบริการที่เชื่อมโยงตั้งแต่ศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้เห็นผลภายใน 100 วัน 

 

 

เป้าหมายการดำเนินการ 3 เรื่อง

  • การจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดระยะยาวให้ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ  ซึ่งปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชน ที่มีความพร้อมจะจัดตั้งมินิธัญญารักษ์ 146 แห่ง รองรับผู้ป่วยยาเสพติด 1,957 เตียง /  โดยจะเปิดบริการผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในรูปแบบมินิธัญญารักษ์ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 นี้
  • มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัด ปัจจุบันมีเตียงจิตเวช 7,796 เตียง / หอผู้ป่วยจิตเวช  69 แห่ง ใน 58 จังหวัด หรือคิดเป็นร้อยละ 76.32 ของจังหวัดทั่วประเทศ
  • มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ ปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชน 776 แห่ง มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดแล้ว 626 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 80.67 ที่เหลืออีก 150 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการ

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่าปัจจุบัน มีผู้ติดสารเสพติดที่มีอาการทางจิตเข้าสู่ระบบบริการในปีงบประมาณ 2564  จำนวน 132,456 ราย ขณะที่ผู้ติดสารเสพติดที่มีโอกาสเป็นโรคทางจิตเวชเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง จำนวน 2,213 ราย คิดเป็นร้อยละ 17.34 สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมที่เกิดจากการใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หากแยกตามภูมิลำเนาตั้งแต่ปี 2556-2565 พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 46.9 รองลงมา คือภาคเหนือ 24.8 ภาคกลาง ร้อยละ 16.7 และภาคใต้ร้อยละ 11.7

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...