แพทย์เผยเคสปอดรั่วหลังฝังเข็ม ย้ำมีประโยชน์แต่ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ

นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Somros MD Pho glamai เผยเคสกรณีศึกษาหลังพบ คนไข้ปวดคอบ่าไหล่ ไปฝังเข็ม วันต่อมาหายใจแล้วเจ็บหน้าอกทุกครั้ง เจ็บแปล๊บๆ x-ray เจอปอดรั่ว pneumothorax นิวโมธอแรกซ์ ! ถ้าขึ้นเครื่องบินอาจตายได้

การฝังเข็มหรือการลงเข็ม เป็นการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ ออฟฟิศซินโดรมที่ดี ประหยัด มีประสิทธิภาพถ้าใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ประมาท เข้าใจการดำเนินโรคอย่างถูกต้อง

แต่ช่วงหลังๆเจอปัญหาปอดรั่วบ่อยขึ้นมากๆ คนไข้มักมีอาการไอหลังฝังเข็มสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ประมาท” “กายวิภาคไม่แม่น”

  • อย่าฝังลึกเกินจำเป็น มากกว่า 3.34 cm to 5.35 cm. +/- ผอมอ้วน
  • อย่าปักจำนวนเข็มมากเกินจำเป็น
  • อย่าให้คนไข้ขยับตัวโดยไม่จำเป็น
  • ให้คนไข้หายใจด้วยท้อง เบาๆ ฝังตอนหายใจออกให้ปอดแฟ่บ
  • ทิศทางเข้ากล้ามเนื้อ ไม่ใช่เข้าปอด

สำหรับแพทย์จีน อย่าจำแค่ว่าจุดนี้ฝังได้กี่ชุ่น กี่ ซม. เพราะเคสนี้กล้ามเนื้อก็หนา ไม่ได้ผอม ไม่มีโรคปอดใดๆ เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญชำนาญล้วนๆ มีอาจารย์หลายท่านสอนน้องๆว่าปักลึกได้เลย ไม่ต้องกลัว อันนี้อันตรายอย่างยิ่ง ! ขณะที่ คุณหมอแผนปัจจุบัน ตอนฉีดยาชาเข้า Trigger point ก็ยิ่งต้องระวังนะครับ ปลายเข็ม syringe ใหญ่กว่าเข็มฝังเข็มมาก ปอดรั่วจะใหญ่กว่านี้เยอะ

คนที่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์จีน “ไม่ควรฝังเข็มในสิ่งที่เราไม่เชี่ยวชาญ” นะครับ เห็นน้องๆวิชาชีพอื่นๆแอบทำกันหลายคลินิก

ถ้าทำแล้วคนไข้ปอดรั่วหนัก พิการ เสียชีวิตขึ้นมา จะโดนทั้งอาญา แพ่ง วิชาชีพ และวินัยได้

นพ.สมรส ยังระบุต่อว่า ฝากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์จีนเข้มข้นกับการสอน ให้แม่นอนาโตมี่หน่อย รู้ทิศทางและตำแหน่งปอดดีๆ อย่าย่ามใจประมาทเกินไป ถ้าประมาทก็พิการหรือตายได้เพราะทุกครั้งที่เราจะฝังเข็ม/ลงเข็ม ต้อง Informed Consent เสมอว่าจะมีโอกาสเกิดปอดรั่วได้, และติดตามอาการคนไข้สม่ำเสมอ, ถ้ามีปัญหารีบ take action ดูแลคนไข้เต็มที่ และย้ำว่าอย่ามั่นใจในตัวเองเกินไป ไม่มีอะไร 100% ใน medicine ต่อให้ฝังมา 10 ปีก็เกิดได้ถ้าทุกอย่างซวยจริงๆ

อย่างไรก็ตามถ้าปอดรั่วขนาดเล็ก 1-2 เซนติเมตร มักปิดเองใน 1-2 สัปดาห์ (ดังนั้นจำนวนผู้ป่วยที่แท้จริงจึงมากกว่าที่รายงานจากโรงพยาบาล เพราะคนไข้หายได้เอง) ติดตามอาการเหนื่อย หายใจเจ็บ ออกซิเจนปลายนิ้ว ตลอด อาจพิจารณา x-ray ซ้ำ 24-48 ชั่วโมงถ้าขนาดใหญ่ มากกว่า 2 เซนติเมตร อาจต้องใส่ท่อระบาย ขึ้นกับหลายปัจจัยและคุณหมอเจ้าของไข้

หากสมมุติคนไข้รายนี้ ขึ้นเครื่องบินก่อนที่ปอดรั่วหาย จะเกิดอะไรขึ้น ?  

นพ.สมรส เปิดเผยต่อว่าขณะที่ขึ้นบินแรงดันในเครื่องจะต่ำ ทำให้ปอดรั่วลามมากขึ้นได้ ในกรณีที่แย่ที่สุดคือเสียชีวิต ดังนั้นอย่าเสี่ยง งดบินไปเลยอย่างน้อย 2 สัปดาห์หรือยืนยันแน่ชัดว่ารูรั่วปิดสนิทแล้ว อย่างไรก็ตามการฝังเข็มไม่ได้น่ากลัว สิ่งที่น่ากลัวคือความประมาท เพราะคนที่ต้องมารักษาปอดรั่ว มักไม่ใช่คนทำให้ปอดรั่วนะครับ

จากกรณีดังกล่าวมีผู้ใช้เฟซบุ๊ก เข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยมีทั้งผู้ที่เคยได้รับผลกระทบจากการฝั่งเข็มและตั้งคำถามว่าการฝั่งเข็มสามารถสร้างผลกระทบรุนแรงไปถึงปอดได้จริงหรือไม่

ด้านแพทย์จีนภาคภูมิ พิสุทธิวงษ์ หนึ่งในคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นอีกด้าน โดยระบุว่า ก่อนอื่นผมต้องขอขอบคุณคุณหมอที่มาให้ความรู้และตักเตือนเรื่องปอดรั่วให้ผู้ประกอบวิชาชีพที่ใช้วิธีฝังเข็มพึงระวัง

โดยอธิบายต่อว่าการเป็นแพทย์แผนจีนในประเทศไทยได้ต้องผ่านการเรียนในหลักสูตรที่ได้มาตรฐานที่ถูกกำกับโดยคณะกรรมการวิชาชีพและคณะกรรมการอุดมศึกษา ปัจจุบันในประเทศเรามีมหาวิทยาลัยจำนวน 9 แห่งที่ได้รับการรับรองแล้ว เป็นปริญญาการแพทย์แผนจีนบัณฑิต หลักสูตร 6 ปี ต้องผ่านการเก็บชั่วโมงฝึกประสบการณ์อย่างน้อย 1,200 ชั่วโมงทั้งในไทยและประเทศจีน  เมื่อสำเร็จการศึกษาว่าที่คุณหมอทุกคนต้องสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตการประโรคศิลปะกับคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีน ซึ่งอยู่ภายใต้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จึงจะเป็นแพทย์แผนจีนได้อย่างเต็มตัว ออกปฏิบัติงานรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

นอกจากนี้เรายังได้กำหนดมาตรฐานการรักษาของแพทย์แผนจีนเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับในการกำกับดูแลวิชาชีพ สามารถอ่านรายละเอียดมาตรฐานวิชาชีพแพทย์แผนจีนได้ที่ ในประเทศไทยผู้ที่สามารถฝังเข็มได้มีเพียงแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนปัจจุบันที่ผ่านการอบรมหลักสูตรฝังเข็มมาแล้วเท่านั้น หากผู้อ่านท่านใดพบว่าไม่ใช่สองวิชาชีพนี้สามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ทันที ตรวจเช็ครายชื่อแพทย์แผนจีนได้ที่ 

สุดท้ายอยากให้คุณหมอและผู้อ่านทุกท่านวางใจ เรื่องปอดรั่วจากการฝังเข็มเป็นสิ่งที่พวกเราแพทย์จีนระมัดระวังมากเป็นอันดับต้นๆ อาจารย์แพทย์แพทย์แผนจีนที่สอนในมหาวิทยาลัยหรือแม้แต่รุ่นพี่ จะปลูกฝังเรื่องนี้ให้กับน้องนักศึกษาตั้งแต่ชั้นปีแรกๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้มากที่สุด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...