เอชพีวี (HPV) คืออะไร? ทำไมก่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์-สารพัดมะเร็ง

เชื้อเอชพีวี (HPV) หรือ ไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human papillomavirus) ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว ส่งผลให้เกิดโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นที่รู้จักกันว่าก่อมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง แต่ความจริงแล้ว ไวรัสดังกว่ามีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่อันตรายต่อร่างกายมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18

เชื้อเอชพีวี (HPV)ติดง่ายแค่ไหน ?

มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก ปาก โดยแพร่เชื้อผ่านรอยแผล หรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง หรือสัมผัสผิวหนัง อีกทั้งสิ่งของปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย ที่น่าเป็นห่วงคือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีเชื้อ HPV อาจแพร่เชื้อสู่ลูกระหว่างการคลอดได้ ด้วยการสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งผู้ที่มีเชื้อ HPV อยู่ในร่างกายมักไม่มีอาการแสดงใด ๆ  จึงอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว

อาการเมื่อติดเชื้อ HPV

ผู้ที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ เพราะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสได้ก่อนเป็นหูด ซึ่งลักษณะของหูดจะแตกต่างตามสายพันธุ์ไวรัส ได้แก่

  • หูดทั่วไป จะเป็นตุ่มเล็ก ๆ ที่อาจขึ้นตามมือ นิ้ว ข้อศอก มีสีเนื้อ สีขาว สีชมพู สีน้ำตาลอ่อน บริเวณที่พบคือ มือ นิ้วมือ ข้อศอก แม้ไม่อันตราย แต่อาจทำให้เจ็บปวด โดยผิวหนังที่เกิดหูดอาจมีเลือดออกได้ง่าย
  • หูดแบนราบ จะมีสีเข้มกว่าปกติและนูนขึ้นมาเล็กน้อย มีขนาดเล็ก พื้นเรียบ เกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยผู้หญิงมักพบที่ขา ผู้ชายมักพบที่เครา เด็กมักพบที่ใบหน้า
  • หูดบริเวณอวัยวะเพศ หรือหูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อคล้ายดอกกะหล่ำที่เกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศหญิง อวัยวะเพศชาย และทวารหนัก มักรู้สึกคัน แต่ไม่เจ็บปวด
  • หูดบริเวณฝ่าเท้า มักขึ้นตรงส้นเท้าหรือเนินปลายเท้า มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง ไม่ว่ายืนหรือเดินจะรู้สึกเจ็บ

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ HPV

  • หญิงชายที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • เด็กและวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กวัยเจริญพันธุ์
  • ผู้ที่มีแผลหรือรอยขีดข่วนตามผิวหนัง
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ฯลฯ
  • ผู้ที่สัมผัสหูดหรือสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงมือเพื่อป้องกัน
  • ผู้ที่ใช้สถานที่ที่มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ สระว่ายน้ำ ฯลฯ

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV 

  • ผู้ที่มีอายุ 9 – 26 ปี แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก 4 ชนิด
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 21 – 65 ปี ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ไม่ควรแกะหรือเกาหูดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น
  • สวมรองเท้าเมื่ออยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น สระว่ายน้ำสาธารณะ ห้องอาบน้ำรวม ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมี HPV Self–Collected Test ชุดเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยตัวเองเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส HPV ที่ออกแบบเพื่อเก็บสิ่งตรวจไปตรวจวิเคราะห์การติดเชื้อ HPV ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก โดยจะมีไม้เก็บสิ่งตรวจและชุดน้ำยาที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ในการเก็บสิ่งตรวจจากปากมดลูกชั้นในของคุณผู้หญิงเพื่อนำไปใช้ทดสอบกับชุดตรวจแอพติมาเอชพีวี คลามัยเดีย ทราโคมาติส และนีสซีเรีย โทโนเรียในห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ผลต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ

ภาพจาก : freepik

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...