บริษัทเอเชียรุกยุโรป ปักหมุดสร้าง‘ฮับอีวี’ในฝรั่งเศส

กระแสตื่นตัวการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ไม่ได้มีแต่ในฝั่งจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกรถอีวีเบอร์ 1 ของโลกเท่านั้น แต่ยังร้อนแรงไปในฝั่ง “ยุโรป” ที่กำลังขับเคี่ยวกันเป็นศูนย์กลางมหาอำนาจอีวีของภูมิภาคอีกด้วย โดยมีจุดโฟกัสล่าสุดมุ่งไปที่ “ดันเคิร์ก” หนึ่งในว่าที่ฮับแบตเตอร์รีอีวีแห่งยุโรป

ความน่าสนใจก็คือ นี่เป็นโอกาสที่ธุรกิจอีวีจากฝั่งเอเชียกำลังตบเท้าเข้าไปลงทุนในซัพพลายเชนอีวีขนาดใหญ่ในยุโรป เมื่อยุโรปกำลังเปิดรับการลงทุนอีวีครั้งใหญ่และยังแข่งขันกันเองภายในเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ

ตัวอย่างล่าสุดคือการเข้ามาของ “โปรโลเจียม” บริษัทผู้ผลิตแบตเตอร์รีอีวีจากไต้หวัน ซึ่งประกาศแผนการลงทุนขนาด 5,200 ล้านยูโร เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เพื่อสร้างโรงงานผลิตแบตเตอร์รีกำลังการผลิตขนาดใหญ่ หรือ “กิกะแฟคทอรี” ในเมืองดันเคิร์ก ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส

ดีลนี้ได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ที่เปิดทางให้รัฐบาลฝรั่งเศสสามารถ “อุดหนุน” โครงการนี้ได้เป็นวงเงิน 1,500 ล้านยูโร ถือเป็นชัยชนะของรัฐบาลฝรั่งเศสที่พยายามจะพลิกฟื้นพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งนี้อีกครั้ง ซึ่งตอกย้ำความสำคัญของยุโรปที่เพิ่มขึ้นในระบบซัพพลายเชนอีวี และที่สำคัญก็คือ ยังสะท้อนความเร่งรีบของยุโรปที่ต้องการลดการพึ่งพาซัพพลายเชนจากฝั่ง “จีน” ตั้งแต่รถอีวี ไปจนถึงแบตเตอร์รี และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

“เมื่อตลาดอยู่ในยุโรป วันที่ต้องนำเข้าแบตเตอร์รีจากฝั่งเอเชียจึงสิ้นสุดลง” จิลส์ นอร์มองด์ ประธานของโปรโลเจียมในภาคพื้นยุโรป ให้สัมภาษณ์กับนิกเกอิเอเชีย

ปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทไต้หวันรายนี้เข้ามาร่วมลงทุนในฝรั่งเศสและฝ่าด่านรับมาตรการอุดหนุนได้ เป็นเพราะความเชี่ยวชาญในฐานะผู้ผลิตแบตเตอร์รีแบบ “โซลิดสเตต” (solid-state) สำหรับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กมาก่อน โดยแบตเตอร์รีชนิดนี้ใช้อิเล็กโทรไลต์แข็งและมีความปลอดภัยมากกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เนื่องจากโอกาสติดไฟต่ำ มีเสถียรภาพสูง เก็บพลังงานได้มากขึ้น และชาร์จได้เร็วขึ้น

ขณะที่บริษัทเลือกฝรั่งเศสเป็นหมุดหมายขยายการลงทุนขนาดใหญ่นอกไต้หวันเป็นครั้งแรก ซึ่งสำหรับบริษัทต่างชาติแล้ว “มาตรการอุดหนุนการลงทุน” ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ดึงดูดบริษัทได้เป็นอย่างดี


 

นโยบายในภาพรวมของยุโรปที่มุ่งสนับสนุนรถอีวี โดยสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศจะเลิกจำหน่ายรถยนต์สันดาปใหม่ที่ใช้พลังงานน้ำมันในปี 2035 ทำให้ชาติสมาชิกอียูต้องพากันเข็นนโยบายออกมาสนับสนุนรถอีวีทั้งในแง่การใช้งานและการลงทุน หรือเท่ากับว่านอกจากยุโรปจะมีนโยบายที่เป็นมิตรกับอีวีแล้ว ชาติสมาชิกก็ยังแข่งกันเพื่อดึงดูดการลงทุนอีวีเข้ามาในประเทศด้วย

ยุโรปนับเป็นตลาดรถอีวีรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ในโลกรองจากจีน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตแบบก้าวกระโดดภายใน 10 ปีข้างหน้า โดยข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (ไออีเอ) ระบุว่าในปี 2565 ยอดขายรถอีวีในยุโรปคิดเป็นสัดส่วน 25% และมีปริมาณการใช้รถอีวีในสัดส่วนราว 30% ของทั้งโลก ขณะที่ยอดขายรถอีวีในสหรัฐยังมีสัดส่วนเพียง 10% เท่านั้น

ทว่าประเด็นหลักของอีวีไม่ใช่แค่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่อยู่ที่ “แบตเตอร์รี” ซึ่งปัจจุบันจีนครองตลาดอยู่ทั้งในแง่แบตเตอร์รีอีวีและแร่แร์เอิร์ธที่ใช้ในการผลิต เช่น ลิเธียม โคบอลต์ และนิกเกิล ในขณะที่สหรัฐเองก็ดึงดูดการลงทุนโรงงานผลิตขนาดใหญ่ นำโดยกิกะแฟคทอรีจากค่ายเทสลา และมีการผ่านกฎหมายดึงดูดการลงทุนสีเขียวอย่างไออาร์เอ ทำให้ยุโรปต้องเร่งปรับนโยบายเพื่อแข่งขันดึงเม็ดเงินลงทุนและเพื่อลดการพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก

ส่วนเมืองดันเคิร์ก ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ที่มีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม และเป็นซัพพลายเชนเดิมของการผลิตรถยนต์ เป็นหนึ่งในเมืองที่ฝรั่งเศสพยายามผลักดันให้เมืิองนี้เป็นฮับอีวีของยุโรป โดยการลงทุนล่าสุดของโปรโลเจียมกำลังจะทำให้ฝรั่งเศสมีโรงงานผลิตแบตอีวีขนาดใหญ่ระดับกิกะแฟคทอรีถึง 4 แห่งด้วยกัน ได้แก่

บริษัทโปรโลเจียม (Prologium) จากไต้หวัน เตรียมลงทุนโรงงานผลิตแบตเตอร์รีโซลิดสเตต กำลังการผลิต 48 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในเมืองดันเคิร์ก โดยจะเริ่มก่อสร้างภายในช่วงปลายปี 2569 และคาดว่าจะสร้างงานทางตรงได้กว่า 3,000 อัตรา และทางอ้อมอีกกว่า 12,000 อัตรา

บริษัทเวอร์คอร์ (Verkor) ซึ่งเป็นสตาร์ตอับสัญชาติฝรั่งเศส มีแผนเปิดโรงงานผลิตในเมืองดันเคิร์ก กำลังการผลิต 12 กิกะวัตต์ชั่วโมง เพื่อรองรับรถยนต์อีวีของค่ายเรโนลต์โดยเฉพาะ

บริษัทออโตโมทีฟ เซลส์ คอมพานี (ACC )เป็นการร่วมทุนระหว่างสเตลแลนทิส เมอร์เซเดส เบนซ์ และโททาลเอ็นเนอร์ยีส์ มีแผนสร้างโรงงาน 3 แห่ง ในเมืองดูแวรง รวมมูลค่ากว่า 7 พันล้านยูโร โดยมีกำลังการผลิตรวม 40 กิกะวัตต์ชั่วโมง ภายในปี 2573 ปัจจุบันมีการเปิดโรงงานแห่งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 30 พ.ค. และจะเริ่มการผลิตได้ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

บริษัทเอ็นวิชัน (Envision) จากจีน เตรียมลงทุน 2 พันล้านยูโร เพื่อสร้างโรงงานในเมืองดูอาย ใกล้กับอีวีฮับของค่ายเรโนลต์ มีกำลังการผลิต 9 กิกะวัตต์ชั่วโมง ในปี 2567 และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 24 กิกะวัตต์ชั่วโมง ภายในปี 2573
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...