'ลดน้ำมัน-ไฟฟ้า' รัฐบาลเศรษฐา 'ถูกที่-ถูกเวลา' หรือไม่?

เริ่มกันที่น้ำมันดีเซล ถือว่าเป็นไปตามคาดด้วยวิธีลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 2.50 บาทต่อลิตร จากที่เคยเก็บที่ 5.99 บาทต่อลิตร ลดลงจากเดิมลิตรละ 31.94 บาท เหลือ ลิตรละ 29.94 บาท เพื่อลดภาระกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ในช่วงนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกผันผวนอย่างหนักต้องควักเงินอุดหนุนระดับ 7-8 บาทต่อลิตร หากคำนวนรายวันก็จะเฉลี่ยที่ 500 บาท หรือตกเดือนละ 15,000 ล้านบาท ส่งผลให้บัญชีติดลบกว่า 6 หมื่นล้านบาทแล้ว

อย่างไรก็ตาม จากแนวคิดการนำเข้าน้ำมันเสรี ของ รมว.พลังงาน ทำให้หลายฝ่ายได้เกิดคำถามในใจดัง ๆ ว่า “ก็ทุกวันนี้การนำเข้าน้ำมันเสรีอยู่แล้ว” โดยผู้ค้าน้ำมันสามารถไปเจรจาซื้อ-ขายน้ำมันได้เองตามต้องการ ดังนั้น การที่ รมว.พลังงาน จะหารือกับ “กรมศุลกากร” เพื่อขอราคานำเข้าจึงดูแปลก ๆ

แหล่งข่าวจากวงการผู้ค้าน้ำมัน ระบุว่า ปกติการนำเข้าน้ำมันจะมีราคากลางอยู่แล้ว การซื้อขายน้ำมันจึงถือเป็นกลยุทธ์ของผู้ค้าแต่ละรายในการเจรจาว่าจะซื้อขายราคาเท่าไหร่ เสมือนกับเราไปดีลซื้อของต่าง ๆ ถือเป็นการตกลงราคากันเองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ดังนั้น กรมศุลกากรจะไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ราคา แต่จะมุ่งเป้าไปที่ปริมาณและเรียกเก็บภาษีตามปริมาณการนำเข้า เป็นต้น

 

อีกโจทย์สำคัญที่ รมว.พลังงาน โดนกดดันคือผู้ใช้น้ำมันเบนซิน เริ่มออกมาเรียกร้องเป็นเสียงเพลงว่า “เบนซินมีสิทธิ์ไหมคะ” ซึ่งนายกฯ ได้รับปากอย่างหมั่นเหมาะว่า “เบนซินมีสิทธิ์สิครับ” จึงต้องกลับมาที่ “กรมธุรกิจพลังงาน” ที่ต้องทำสมมติฐานเสนอรมว.พลังงาน ซึ่งหากเดาไม่ผิดจากที่เคยช่วยเหลือมาแล้ว คือ ให้ส่วนลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินแก่มอเตอร์ไซค์รับจ้างผ่านโครงการ “วินเซฟ” ที่มีใบอนุญาตกับกรมการขนส่งทางบกจำนวนสิทธิรวม 106,655 ราย (ข้อมูลปี 2565) จะได้รับสิทธิช่วยเหลือค่าน้ำมันไม่เกิน 250 บาท/คน/เดือน รวม 3 เดือน เป็นต้นโดยใช้เงินจากสำนักงบประมาณ

อีกกระแสที่ไม่พูดคงจะเป็นไปไม่ได้ คือ ค่าไฟฟ้าที่เรียกเสียงฮือฮาได้ติดต่อกันถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งมติครม. วันที่ 13 ก.ย. 2566สั่งลดค่าไฟลงมาจากมติคณะกกรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ที่เรียกเก็บรอบเดือนก.ย.-ธ.ค. 2566 ที่ 4.45 บาทต่อหน่วย เหลือ 4.10 บาทต่อหน่วย ถัดมาเพียงสัปดาห์เดียว ที่ประชุมครม. วันที่ 18 ก.ย. 2566 มีมติลดค่าไฟลงอีกเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย

ดังนั้น กกพ. จึงได้เรียก บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หารือเพื่อสนองต่อภาคนโยบาย เพราะการลดราคา 2 ครั้ง ทำให้เกิดส่วนต่างถึง 46 สตางค์ต่อหน่วย รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง จึงต้องแบกรับภาระไปก่อน โดยให้ปตท. ลดค่าก๊าซธรรมชาติ ที่เรียกเก็บจากกิจการผลิตไฟฟ้าเดิม 323.37 บาทต่อล้านบีทียู เป็นไม่เกิน 304.79 บาทต่อล้านบีทียู 

ในขณะที่ กฟผ. ซึ่งแบกภาระค่าไฟคงค้างเหลือราว 1.35 แสนล้านบาท และอยู่ระหว่างการเรียกเก็บคืนเงินคงค้างในค่าไฟฟ้างวดเดือนก.ย.-ธ.ค. 2566 หน่วยละ 38.31 สตางค์นั้น ส่งผลให้เดิมการคืนหนี้กฟผ.งวดสุดท้ายคือเดือนเม.ย. 2568 ก็อาจจะต้องขยายไปถึงสิ้นปี

ดังนั้น แม้จะยืดหนี้ กฟผ. ก็ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาระยะยาว เพราะถึงที่สุดแล้ว หนี้ก้อนนี้ “ผู้ใช้ไฟ” จะต้องกลับมาจ่ายค่าไฟในส่วนที่กฟผ. แบกรับภาระไปก่อนในช่วงสถานการณ์ราคาพลังงานเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งก็ไม่มีใครทราบได้ว่า “จะปกติเมื่อไหร่”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...