อินไซต์คนไทย ‘รายรับไม่พอรายจ่าย’ กังวลค่าครองชีพ กลัวตกงาน เศรษฐกิจไม่ดี

“นีลเส็น” เปิดรายงาน “2024 Industry Insights Report” เป็นการเจาะลึกข้อมูลผู้บริโภคหรือ Insight ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น รถยนต์ ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก อีคอมเมิร์ซ ซูเปอร์แอป วิดีโอสตรีมมิ่ง(โอทีที) วิตามิน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารฯ ในกลุ่มผู้บริโภคคนไทยอายุ 12 ปีขึ้นไป ผ่านทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ การบริโภคสื่อ และพฤติกรรมการรับรู้แบรนด์ ฯ พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

ขณะนี้คนไทยีความกังวลกับภาวะค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า พร้อมกันนี้ยังพบว่าคนไทย 57% มีความกังวลเรื่อง “รายรับ” ที่ไม่เพียงพอกับ “ร่ายจ่าย” ด้วย ซึ่งปัจจุบันรายจ่ายเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกีบสถานการณ์หลังโควิด-19 ระบาดในช่วงปี 2564

ตัวแปรที่กระทบต่อค่าครองชีพพุ่ง มีหลายด้าน ตั้งแต่อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงขึ้น

ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ คนไทยสัดส่วนเพียง 32% ที่มีเงินสำรองที่สามารถใช้จ่ายได้ หากเกิดกรณีตกงาน หรือไม่ได้ทำงาน 6 เดือน โดยมีเพียง 1 ใน 3 จองคนไทยเท่านั้นที่ “ไม่กลัวตกงาน”

“ความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในหลายอุตสาหกรรม”

เมื่อผู้บริโภคส่งสัญญาณไม่มีเงินสอดคล้องกับค่าใช้จ่าย ทำให้สินค้าที่จะได้รับผลกระทบตามมา หนึ่งในนั้นคือ “กลุ่มยานยนต์” ผลสำรวจพบว่า รถยนต์ยังคงเป็นสินค้าที่คนไทย 47% วางแผนจะซื้อเป็นอันดับ 1 ในปี 2567 เนื่องจากมองเป็นสิ่งที่ต้องการและ “จำเป็นต้องใช้” โดยเฉพาะคนที่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลกว่า 34% วางแผนที่จะซื้อรถยนต์ภายในปีหน้า ตามด้วย "มือถือ" 35% แล็บท็อป 46% รถจักรยานยนต์ 50%

ส่วน “บ้านและคอนโด” รั้งอันดับ 5 ที่คนไทยอยากมีสัดส่วน 40% เนื่องจากคนไทยยังยึดการมีบ้านและรถเป็นตัววัดความสำเร็จและเป็นสิ่งที่จำเป็นของคนในปัจจุบัน รวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

“แม้ในยุคเศรษฐกิจฟืดเคือง แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า รถยนตร์ยังเป็นสิ่งที่คนไทยต้องการและหลายคนจำเป็นต้องใช้”

ด้านการใช้จ่ายเงินโฆษณาของแบรนด์ท่ามกลางยุคข้าวยากหมากแพง คนไทยกำลังซื้อเปราะบาง “นีลเส็น” ยังกระตุ้นให้จับจ่ายใช้สอยเพื่อสื่อสารการตลาด โดยย้ำว่า แม้เศรษฐกิจโลกอาจจะไม่สู้ดีนัก แต่สำหรับเมืองไทยการจับจ่ายใช้สอยยังถือมีความคึกคักอยู่ รวมถึงจำนวนผู้บริโภคที่ “วางแผนซื้อสินค้า” ในปี 2566 หรือปี 2567 ยังพอมีสัญญาณที่บวกอยู่จากกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแบรนด์กลุ่มนี้ควรใช้โอกาสในยุคที่ผู้บริโภคมีความต้องการสูงทำการตลาดที่เข้มข้นมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา(ม.ค.-ส.ค.66) กลุ่มยานยนต์มีการใช้จ่ายงบโฆษณา 2,621 ล้านบาท ลดลง 32% และกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า 1,339 ล้านบาท ลดลง 14% เมื่อเทียบกับปี 2564 ขณะที่อสังหาฯ ใช้จ่ายงบโฆษณา 741 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เทียบปี 2564 หลังโควิดคลี่คลาย

รัญชิตา ศรีวรวิไล Thailand Vertical Lead - Advertiser and Agency บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย กล่าว โลกของผู้บริโภคไม่เคยหยุดนิ่ง และเส้นทางของผู้บริโภคก่อนการตัดสินใจซื้อหรือ Consumer Journey ได้รับอิทธิพลในทางที่มากขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการเกิดขึ้นของวิธีการคิดและวิถีชีวิตแบบใหม่ มีมาตรฐานใหม่ทั้งในการบริโภค การเสพสื่อ ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ และการรับรู้แบรนด์

“การเข้าใจลึกซึ้งถึงความต้องการของผู้บริโภคยังเป็นสิ่งที่สำคัญ ยิ่งสร้างประสบการณ์ที่ดี ก็ยิ่งสร้างยอดขายให้กับแบรนด์ได้ และช่วยให้คุณ Win a customer's heart ได้มากขึ้น”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

คำเดียวสั้นๆ "แฟนสาวจาค็อบ" พูดต่อหน้า "รถถัง" หลังชวดแชมป์โลก

เผยคำพูด แฟนสาวของ จาค็อบ สมิธ ที่พูดต่อหน้า รถถัง จิตรเมืองนนท์ หลังฟาดปากกันในศึกมวยไทย รุ่นฟลายเว...

กรมวิชาการเกษตร ระดมแผนเตรียมพร้อม ส่งลำไยเจาะตลาดจีน

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไ...

ผลบอล "บาเยิร์น มิวนิก" ไม่พลาด บุกเชือด "ซังต์ เพาลี" รั้งจ่าฝูงบุนเดสลีกา

"เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิก ทำได้ตามเป้า บุกมาเอาชนะ ซังต์ เพาลี เก็บ 3 คะแนนสำคัญ รั้งจ่าฝูง บุนเดสลี...

ส่องขุมทรัพย์ที่ดิน 'รถไฟ' 9.6 หมื่นล้าน จ่อประมูลสร้างรายได้เชิงพาณิชย์

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีทรัพย์สินที่ดินทั่วประเทศจำนวนมาก และยังเป็น...