เกษตร ดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 1 จังหวัด 1 ชนิดสินค้า นำร่องภาคใต้

นายครองศักดิ์ สงรักษา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภายใต้การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ภาคใต้ “1 จังหวัด 1 ชนิดสินค้า” โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ได้คัดเลือกพืชในพื้นที่มาดำเนินการพัฒนาสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูงเพื่อยกระดับเกษตรกร บูรณาการการทำงานกับหน่วยงานในพื้นที่และนำกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม BCG Model มาร่วมดำเนินการด้วย

จะเห็นได้ว่ามีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการขับเคลื่อน และเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการสร้างรายได้แก่เกษตรกรและชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ได้ร่วมนำเสนอผลสำเร็จของการดำเนินงานในปี 2566 ดังนี้

 

1. จังหวัดตรัง : พริกไทยตรัง พริกไทยคุณภาพ พัฒนาให้จังหวัดตรังเป็นแหล่งผลิตพริกไทยอินทรีย์หลักของประเทศไทย

2. จังหวัดพัทลุง : สละ BCG MODEL สามารถลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตได้รับมาตรฐาน GAP และมูลค่าสินค้าสละเพิ่มขึ้น พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสละ มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเหลือใช้ร้อยละ 50

3. จังหวัดยะลา : ทุเรียนสะเด็ดน้ำยะลา สู่มาตรฐานโลก มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรกร โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกร เพื่อรวมกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน และบริหารจัดการสวนภายใต้มาตรฐาน GAP

4. จังหวัดสตูล : “กาแฟสตูล คุณภาพมูลค่าสูง” มุ่งพัฒนาความรู้ด้านการจัดการสวนกาแฟและการแปรรูปขั้นต้น สามารถถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรข้างเคียงได้ แปลงกาแฟมีความพร้อมและสามารถขอรับรองตามมาตรฐาน GAP

5. จังหวัดสงขลา : กาแฟโรบัสต้า BCG MODEL สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต และเพิ่มพื้นที่ปลูก เกิดการรวมกลุ่มและเครือข่ายการปลูกกาแฟ เกิดศูนย์เรียนรู้และเป็นแหล่งศึกษาดูงาน โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

6. จังหวัดปัตตานี : การพัฒนาเครือข่ายธุรกิจคลัสเตอร์ผักมูลค่าสูงด้วย BCG MODEL ปรับแนวทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้แก่เกษตรกรโดยการวางแผนการจัดการด้านการผลิตการตลาดและเกิดจุดเรียนรู้ต้นแบบในพื้นที่และขยายผลสู่พื้นที่อื่น

7. จังหวัดนราธิวาส : “ทุเรียนบางนรามูลค่าสูงภายใต้การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่” เน้นการผลิตสินค้าพรีเมี่ยมและมีการแปรรูปในขั้นต้นและขั้นกลาง เพื่อสร้างแบรนด์สร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคภายใต้มาตรฐานสากล

8. จังหวัดชุมพร : การส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่จังหวัดชุมพรสู่“ชุมพรมหานคร โรบัสต้า” จัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนกาแฟโรบัสต้าชุมพร เพิ่มมูลค่าสารกาแฟ พัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐาน GAP ตลอดจนการจัดตั้งบอร์ดกาแฟชุมพร

9. จังหวัดระนอง : พัฒนาคุณภาพทุเรียน “ฝนแปด แดดสี่ทุเรียนดีมีคุณภาพด้วย BCG MODEL” จังหวัดระนอง พัฒนาคุณภาพทุเรียนอัตลักษณ์จังหวัดระนอง ภายใต้สัญลักษณ์ GI และพัฒนาคุณภาพทุเรียนแบบยั่งยืน เน้นการจัดการสวนด้วยชีววิธี

10. จังหวัดสุราษฎร์ธานี :การขับเคลื่อนแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานีสู่ต้นแบบเมืองปาล์มน้ำมันยั่งยืน ยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันให้เป็นเกษตรกรผู้ปลูกตามน้ำมันแบบยั่งยืนผ่านมาตรฐาน RSPO

11. จังหวัดพังงา : มังคุดทิพย์พังงาสู่สินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วย BCG การสร้างมูลค่าจากวัสดุเศษเหลือในการแปรรูปมังคุด เช่น ถ่านจากเปลือกมังคุด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมังคุด สร้างมูลค่าเพิ่มโดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

12. จังหวัดกระบี่ : การขับเคลื่อนการผลิตทุเรียนทะเลหอย ทุเรียนทะเลหอยของจังหวัดกระบี่ ได้รับการรับรองเป็นสินค้า GI กระบวนการผลิตได้รับการรับรองคุณภาพภายใต้มาตรฐาน GAP และสามารถนำผลผลิตเข้าสู่กระบวนการแปรรูปขั้นสูง เช่น ทุเรียนฟรีซดราย

13. จังหวัดภูเก็ต : สินค้าเกษตรมูลค่าสูงสับปะรดภูเก็ตด้วย BCG MODEL มีการจัดการวัสดุเศษเหลือจากกระบวนการผลิต มีการส่งเสริมความรู้ในการแปรรูปวัตถุดิบขั้นต้นและขั้นกลาง เช่น น้ำพริกสับปะรด สบู่สับปะรด และส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด โดยการเพิ่มช่องทางการตลาด ร่วมมือกับสถาบันวิจัยเพื่อการแปรรูปขั้นสูงเชิงพาณิชย์ เช่น เวชสำอางจากสับปะรดและโลชั่นสับปะรด

14. จังหวัดนครศรีธรรมราช : การขับเคลื่อนสินค้าเกษตรมูลค่าสูง (มังคุด)ด้วย BCG MODEL ยกระดับกลุ่มเกษตรกรเป็นวิสาหกิจเริ่มต้น (Start up) มีการทำการตลาดเพื่อการประมูลเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ผลิตมังคุดคุณภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัสดุเศษเหลือ เช่น การทำสารไล่แมลง ปุ๋ยหมัก การนำเปลือกมังคุดมาทำเป็นกล่องหรือภาชนะ และการส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ เป็นแนวทางที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการเพื่อต่อยอดการส่งเสริมการเกษตร โดยที่ผ่านมาได้มีการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรทั้งในลักษณะรายบุคคล (Individual Approach) การส่งเสริมในรูปแบบกลุ่ม (Group Approach) รวมทั้งการส่งเสริมให้เกษตรกรบริหารจัดการสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิต (Commodity Approach) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...