‘ดีอีเอส’ ปลื้ม อันดับแข่งขันดิจิทัลประเทศพุ่ง ‘ประเสริฐ’ เร่งสปีดแผนใหญ่

นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าว ในงานสัมมนาโครงการสัมมนาการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ว่าได้เห็นถึงความสำคัญของงานด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมสานต่อและเร่งรัดผลักดันให้ประเทศไทยขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ

โดยในปี 2022 ประเทศไทย ได้รับการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ  (World Digital Competitiveness Ranking; WDCR) จาก IMD เป็นอันดับที่ 40 จากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยมีกรอบในการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศ ประกอบด้วย 54 ตัวชี้วัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

 

1. องค์ความรู้ (Knowledge) จำนวน 19 ตัวชี้วัด ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่  45

2. เทคโนโลยี (Technology) จำนวน 18 ตัวชี้วัด ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 20  และ

3. ความพร้อมในอนาคต (Future readiness) จำนวน 17 ตัวชี้วัด ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 49 เพื่อให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศมีอันดับที่สูงขึ้น

ก้าวสำคัญของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการขับเคลื่อน ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย และได้มีการศึกษาวิเคราะห์การจัดเก็บตัวชี้วัดการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล มีการจัดทำระบบ Dashboard ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลทางสถิติแบบอัตโนมัติ สำหรับใช้ในการติดตามสถานะข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

รวมถึงมีแนวทางสร้างทัศนคติกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน เพื่อให้รับรู้ถึงนโยบายของภาครัฐและความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ โดยการดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยมีอันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศมีอันดับที่สูงขึ้น

นายประเสริฐ กล่าวว่า กระทรวงฯ ยังมุ่งมั่นในการส่งเสริม และสนับสนุน ให้ประชาชนมีความพร้อมในการก้าวสู่สังคมดิจิทัลอย่างมั่นคงและปลอดภัย รวมถึงการวางรากฐานอนาคตให้กับคนไทยทุกคน  โดยมีกรอบนโยบายในการบริหารและพัฒนาประเทศตามกรอบความเร่งด่วน ได้แก่

กรอบระยะสั้น รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นการใช้จ่าย เพื่อจุดประกายให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตอีกครั้ง ประกอบกับการเร่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของประชาชนอย่างเร่งด่วนและรวดเร็ว ส่วนกรอบระยะกลางและระยะยาว รัฐบาลจะเสริมขีดความสามารถให้กับประชาชน ผ่านการสร้างรายได้ลดรายจ่าย สร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนทุกคน

นอกจากนี้ ดีอีเอสจะเร่งรัดการยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพของประชาชน และภาคธุรกิจ ที่จะขยายการลงทุน ขยายกิจการ เกิดการผลิตสินค้าที่มากขึ้น นำไปสู่การจ้างงาน สร้างอาชีพ 

โดยนำดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนในการประกอบอาชีพ ขณะเดียวกันต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้งานให้มีความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ รวมถึงสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนประชาชนทุกคนจะต้องรู้เท่าทันภัยออนไลน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วย

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกและของประเทศได้พัฒนามาสู่ยุคที่ดิจิทัลเป็นสมรรถนะหลักในการสร้างความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มมีการนำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านดิจิทัล มาใช้เป็นองค์ประกอบในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) ของสถาบันการจัดการนานาชาติ IMD (International Institute for Management Development: IMD ที่สะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของประเทศไทยในเวทีโลก

“สำหรับวันนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดโครงการสัมมนาการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานวิชาการที่เกี่ยวข้อง รับทราบนโยบายของภาครัฐ รวมถึงความก้าวหน้าในการพัฒนา ด้านดิจิทัลของประเทศไทย ที่จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทยตามการจัดอันดับของในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย (World Digital Competitiveness Ranking) ต่อไป” นายประเสริฐ กล่าว

ด้าน ศ.พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับการพัฒนาของโลกที่เข้าสู่ยุคที่ดิจิทัลเป็นสมรรถนะหลักในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเริ่มมีการนำประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมาเป็นองค์ประกอบในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

รวมทั้งมีการจัดทำดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) ในระดับนานาชาติ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดให้อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย (World Digital Competitiveness Ranking) ตามการจัดอันดับของสถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development: IMD) เป็นตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic KPIs) ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ

รวมถึงเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย และสร้างการรับรู้แก่บุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อให้ทราบถึงสถานการณ์การพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ และกระทรวงฯ ในการขับเคลื่อนขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของประเทศไทย

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...