ดร.สุเมธ ย้ำเศรษฐกิจพอเพียง หนุนความยั่งยืน เสริมภูมิคุ้มกันให้ภาคธุรกิจ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา องค์ปาฐก ประธานในพิธีเปิดงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) กล่าวว่า การจัดงานมีเป้าหมายที่ต้องการบรรลุเป้าหมายความยั่งยั่นที่วางไว้ Sustainable Development Goals 2030 และการจัดงานในปีนี้มีความสำเร็จจากการที่มีภาคเอกชนเข้ามาร่วมงานมากขึ้น

หัวข้อที่นำมาพูดในวันนี้จะเป็นเรื่อง “ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง” หากย้อนกลับไปในหัวข้อเศรษฐกิจพอเพียงเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2542 ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ในปี 2539 เศรษฐกิจของประเทศไทยเกิดภาวะฟองสบู่ ทำให้ประชาชนมีหนี้สินเพิ่มขึ้นเท่าตัว กิจกรรมต่างๆ ไม่สามารถเดินหน้าไปได้ ทำให้คนในประเทศประสบปัญหาเดือดร้อน โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เริ่มกล่าวในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง หลายๆ ครั้ง รวมถึงมีการนำมารวมบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 และ 9 

 

 

ทั้งนี้เมื่อเกิดสถานการณ์โควิดจึงสะท้อนได้ว่า พระองค์ได้เตือนทุกอย่างและหลายด้านที่เราแปรไม่ออกเอง จากสถานการณ์โควิดที่ทุกอย่างปรับเปลี่ยนทั้งหมด จนถึงถึงยุคดิจิทัล รวมถึงในปัจจุบันที่ประเทศไทยประสบกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ และเมื่อน้ำลดแล้ว เกิดปรากฎการณ์อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เหลือดิน ทราย และไม้จำนวนมาก 

อีกทั้งเมื่อมองภาพรวมในโลก มีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมของมนุษย์เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย ผู้สร้างสรรค์มากมาย มีการพัฒนาเอไอจำนวนมาก ทำให้ต้องมาคิดว่า ทุกสิ่งที่มนุษย์สร้าง นวัตกรรม อุปโภคบริโภค ใช้วัตถุดิบและทรัพยากรทุกอย่างมาจากโลก 

"เมื่อมองโลกใบนี้ไม่ใหญ่ ประชากรมีการประเมินว่าในอีก 10-20 ปีจะสูงถึง 9,000 ล้านคนแล้ว ทุกวันนี้ต้องประเมินว่า ทุกคนบริโภคด้วยเหตุผลหรือความโลภ ต้องมาตอบคำถาม ต้องมาดูของในบ้าน มีนักวิทยาศาสตร์บอกว่า มีของ 70% ในบ้านที่ไม่มีความจำเป็นในชีวิต ของทุกอย่างมีต้นทุนและต้องนำมาจากแผ่นดิน ที่หลายคนบอกว่า ไม่มีวันหมด แต่ปัจจุบัน ทรัพยากรน้ำมันใกล้หมดแล้ว  ทำให้มนุษย์พยายามหาทางออกใช้พลังงานทดแทนต่างๆ"

ทุกวันนี้ในการทำสิ่งใดก็ตาม ต้องผ่านกระบวนการคิด ต้องมีคำว่าพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน โดยแนวคิดพอประมาณ คือการประเมินตนเอง หรือ Self assessment ในด้านนักลงทุน ก่อนลงทุนต้องประเมินก่อนทุกครั้ง ต้องพิจารณาทุนและ ตลาด มีกระบวนการความคิด ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

หากประเมินหลัก "เศรษฐกิจพอเพียง" คือความคิด ต้องดูสติปัญญา และประเมินทุกอย่าง ซึ่งตามหลักชาวพุทธคือ ศีล สมาธิและปัญญา โดยการตัดสินใจทุกด้านต้องใช้ปัญญา คือ "เหตุผล" แต่ในมุมมองของนักลงทุนเมื่อมองเห็นตลาดเติบโต เกิดความสนใจและเกิดกิเลสอยากลงทุน จึงนำไปกู้เงินจำนวนมาก พอลงทุนก็เจ๊งไป กลายเป็นทุกอย่างต้องทำตามกระแส แต่ควรมีการต้องประเมินทุนและตลาด 

รวมถึงต้องประเมินความเสี่ยง โดยทุกอย่างมี Risk management ต้องสร้างภุมิคุ้มกัน อย่างการทำการเกษตร ไม่ควรปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างเดียว เพราะหากเกิดสถานการณ์อะไรมากระทบ อาจเกิดการเจ๊งได้ ทำทุกอย่างต้องประเมินในเรื่องทุน เพราะในโลกทุกอย่างต่างต้องมีกติกา และมีกฎต่างๆ มากมาย 

นอกจากนี้ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเตือนอีกสองอย่างโลกทั้งการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทุกอย่างต้องปรับใหม่ให้สอดคล้องกัน อย่างในเรื่องการเรียน ต้องเปลี่ยนหลักสูตรและองค์ความรู้ให้ทันกับเด็กที่ต้องการแบบใหม่ องค์ความรู้ที่เคยสอนมา 10 ปีอาจไม่เหมาะสมแล้วกับปัจจุบัน รวมถึงต้องประเมินว่าระบบทุกอย่างเปลี่ยนแปลงทันหรือไม่

รวมถึงมีการดิสรัปชันต่างๆ เกิดขึ้น ดังนั้น "ต้องรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง" โลกไม่มีพรมแดน สิ่งที่เกิดอีกซีกโลกกระเทือนถึงเรา โลกนี้เป็นหนึ่ง ความสัมพันธ์ใกช้ชิดกันหมด ดังนั้นอยากได้ความสมดุล มั่นคง ยั่งยันนั้น ต้องมีคุณธรรมอย่าโกง ทุจริต คอรัปชัน

“ผมเดินเรียนรู้ ถวายงาน ผมเป็นนักเรียนมา 35 ปีเดินตาม เรียน ดิน น้ำ ลม ไฟ สุดท้ายพระองค์ท่านเน้นความดี การทุจริตคอรัปชัน ครั้งแรกและครั้งเดียว ที่เห็นท่านทรงแช่งคน ใครทุจริตแม้นิดเดียวให้มีอันเป็นไป รับสั่งอย่างรู้พระองค์ด้วย ผมจำได้อย่างแม่นยำ สุดท้ายก็ให้พร ใครไม่ทุจริต คอรัปชันให้มีอายุยืนร้อยปี  ท่านตั้งความหวังอีก 10 ปี ประเทศชาติเจริญ ทุจริตคอรัปชันลดลง แต่ผ่านมา 10 ปีแล้ว จนถึงปัจจุบันยังไม่สำเร็จ”

ขณะที่ภาคธุรกิจในปัจจุบันต่างเน้นเรื่องธรรมาภิบาล หรือ  Good Governance และ Corporate governance ถือเป็นสิ่งสำคัญ โดยแม้ว่าองค์กรมีแผนในเรื่องนี้แล้ว แต่ต้องมีการปฏิบัติอย่างจริงจังและทำสำเร็จตามแผนให้ได้ 

อีกสิ่งที่ต้องเน้นย้ำ การทำสิ่งใดก็ตาม ต้องประเมินและคิดให้มากๆ และต้องใช้ปัญหาตัดสิน ทุกอย่างต้องกลับไปพอเพียงเท่ากับทุนที่มี 

“แผ่นดินนี้ลูกหลานต้องอยู่ต่อ เราทำเพื่อตัวเอง ต้องส่งผ่าน ส่งต่อ ส่งทรัพยากรให้อยู่อย่างพอเพียงจนถึงรุ่นลูกด้วย นี้คือคำว่า ยั่งยืน ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น มีความสุขตามอัตภาพ บนฐานของประโยชน์สุขที่ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อยากให้เห็นแผ่นดินนี้รอด อยากให้ลูกหลานเรารอด เราสามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง หากเรารวมมือกันได้ และมีสปิริต” 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ วางแผนหลังตาย ซ้อนประโยชน์มูลนิธิประจำตระกูล

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีนักลงทุนวัย 94 ปี ผู้ใช้ชีวิตเรียบง่าย และพยายามหลีกเลี่ยงเข้าไปยุ่งการเมื...

‘จีน-เกาหลีใต้’ อพยพพลเมือง ออกจาก เลบานอน

รอยเตอร์ส เผย ‘จีน-เกาหลีใต้’ ได้ทำการ อพยพพลเมือง ออกจากประเทศ เลบานอน หลังสถานการณ์ความขัดแย้งระหว...

ผู้นำอาหรับอเมริกันจี้'แฮร์ริส' หัก'นโยบายอิสราเอล'ไบเดน

กลุ่มผู้นำชาวอเมริกันเชื้อสายอาหรับพบกับรองประธานาธิบดีแฮร์ริส ในห้องหลังเวทีหาเสียงในเมืองฟลินต์ รั...

เรียนรู้ 'พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก' ผ่านงาน SX2024 ที่โซน SEP INSPIRATION

งาน “Sustainability Expo 2024” หรือ SX2024 งานเอ็กซ์โปเกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซ...