สทนช. หนุนอาเซียน และ MRC ลดภัยพิบัติในลุ่มน้ำโขง

 สทนช. เป็นผู้แทนไทยประชุม  Asean-MRC Water Security Dialogue ครั้งที่ 2 สนับสนุนความร่วมมือภูมิภาคอาเซียน ลดภัยพิบัติในลุ่มน้ำโขง โดยทุกประเทศต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง พร้อมประชุมทวิภาคีร่วมกับเมียนมาและ สปป.ลาว เพื่อกระชับความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำ ตามนโยบายของรัฐบาล 

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เปิดเผยว่าได้เข้าร่วมการประชุม Asean-MRC Water Security Dialogue ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ Sustainable Investment for a connected, Resilient and Water-secure Southeast Asia ในฐานะรัฐมนตรีและผู้แทนประเทศไทย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว  พร้อมการประชุมทวิภาคีกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาและการประชุมทวิภาคีกับ สปป.ลาว ในวันเดียวกันด้วย 

ทั้งนี้การประชุม Asean-MRC Water Security Dialogue ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและประสบการณ์ในการรับมือกับแนวโน้ม ความท้าทาย และโอกาสในการแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านน้ำ

และการบริหารจัดการภัยพิบัติ ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคแม่น้ำโขงและอาเซียน รวมถึงเสริมสร้าง ความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการจัดการกับความมั่นคงด้านน้ำอย่างจริงจัง

 ซึ่งในฐานะผู้แทนประเทศไทย ได้ร่วมแสดงจุดยืนด้านความมั่นคงด้านน้ำของไทย โดยกล่าวถึงความท้าทายที่ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติด้านน้ำ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง โดยเหตุการณ์น้ำท่วมในแม่น้ำโขง ประเทศสมาชิกแม่น้ำโขงจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง

 รวมทั้งต้องการการสนับสนุนจากพันธมิตรอาเซียน ทั้งนี้ ประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประเทศสมาชิกในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืนต่อไป

 นอกจากนี้ คณะผู้แทนจากประเทศไทยได้ประชุมเพื่อหารือความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำร่วมกับเมียนมา และ สปป.ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล โดยสำหรับ การประชุมทวิภาคีกับเมียนมา ได้หารือประเด็นสำคัญเร่งด่วนด้านความร่วมมือชายแดนไทย - เมียนมา เพื่อบริหารจัดการน้ำข้ามพรมแดนบริเวณน้ำสาย - น้ำรวก และขอความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันเพื่อติดตั้ง สถานีวัดระดับน้ำในพื้นที่ต้นน้ำในเขตของเมียนมา การพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยร่วมกัน การขุดลอกลำน้ำพรมแดนที่ตื้นเขินที่เกิดจากตะกอนทับถมจำนวนมากจากเหตุการณ์อุทกภัย เพื่อแก้ไขปัญหาระยะสั้น และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำ

ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อชะลอน้ำ เช่น การสร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนเพื่อควบคุมน้ำในช่วงน้ำหลาก การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ โดยการใช้มาตรการ Nature-based solution เพื่อแก้ไขปัญหาระยะยาว ทั้งนี้ เมียนมายินดีให้การสนับสนุน และรับประเด็นเพื่อเสนอรัฐบาล รวมทั้งเห็นชอบในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อหารือในรายละเอียดต่อไป

สำหรับ การประชุมทวิภาคี สปป.ลาว ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แบบบูรณาการระหว่างไทย - สปป.ลาว โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านน้ำ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการแจ้งเตือนภัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแม่น้ำโขงให้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ การบริหารจัดทรัพยากรน้ำ ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เป็นการบริหารจัดการในลักษณะกลุ่มลุ่มน้ำ ซึ่งประเทศไทยพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ กับ สปป.ลาว เพื่อให้เกิดประโยชน์และครอบคลุมทั้งลุ่มน้ำโขง

โดยสำหรับบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทย - สปป.ลาว คาดว่าจะ มีการลงนามร่วมกันในการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission Council – MRC Council) ภายในเดือน พ.ย. นี้  พร้อมทั้ง ได้มีการเสนอโครงการร่วมวิจัยชุมชน (Joint Community Research) ระหว่างไทยและ สปป.ลาวเพื่อส่งเสริมอาชีพและการปรับตัวของชุมชน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้กับผลิตภัณฑ์ ช่วยเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับประชาชนริมฝั่งน้ำโขงของทั้งสองประเทศอีกด้วย 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...