เปิดแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบ 68 ก่อหนี้ใหม่ 1.05 ล้านล้าน หนี้สาธารณะแตะ 66%

นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คนน.) เมื่อวันที่ 18 ก.ย.2567 ว่า ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2568 คาดว่าระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ จะอยู่ที่ 66% ต่อจีดีพี ตามคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3% ซึ่งถือว่ายังต่ำกว่ากรอบวินัยการคลังที่รัฐบาลกำหนดไว้ไม่เกิน 70% ต่อจีดีพี 

ทั้งนี้ ตามแผนการคลังระยะปานกลาง ในช่วงปี 2568-2571 คาดการณ์ว่า ระดับหนี้สาธารณะของปี 2569 จะเริ่มอยู่นิ่ง และเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2570 ภายใต้สมมุติฐานว่า เศรษฐกิจไทยจะมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่อง 
 

สำหรับกรอบการบริหารหนี้สาธารณะในปีงบประมาณ 2568 จะอยู่ที่ประมาณ 2.586 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการก่อหนี้ใหม่ 1.05 ล้านล้านบาท เพื่อเป็นการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลของรัฐบาล ในวงเงิน 8.65 แสนล้านบาท และปรับโครงสร้างหนี้ 1.529 ล้านล้านบาท  

ทั้งนี้ ปัจจัยกดดันการบริหารหนี้สาธารณะในปีหน้าลดลง เนื่องจากความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมีไม่มากด้วยส่วนส่วนเงินกู้จากต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยโลกอยู่ในช่วงขาลงเช่นกัน 
 

จ่อออกดอลลาร์บอนด์ Q1 ปี 68 

สำหรับแนวคิดการออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ หรือ Dollar Bond นั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่ยังไม่มีมติที่แน่ชัด ซึ่งขณะนี้เองมีเงินทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามา รวมทั้งกลุ่มนักลงทุน Non Residential ที่นำเงินดอลลาร์เข้ามาแลกเป็นเงินบาทและลงทุนในไทย ซึ่งในมุมมองของรัฐบาลควรจะต้องสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark) ให้กับภาคเอกชนที่จะออกไประดมทุนในต่างประเทศ

"ต่างชาติเองก็เรียกร้องมากนานให้ไทยออกพันธบัตรสกุลเงินต่างประเทศ ซึ่งจะต้องพิจารณาจังหวะและบรรยากาศที่ดี เศรษฐกิจที่ทำท่าจะดีขึ้น ประกอบกับเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) ของโลกที่ลดลง คาดว่าอย่างเร็วที่สุดคงจะออกดอลลาร์บอนได้ในช่วงไตรมาส 1 ปีหน้า"

รายงานจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ระบุว่า สบน. ได้รับนโยบายไปศึกษาหลักการออกพันธบัตรสกุลเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currency Bond: FCY) ซึ่งจะเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความหลากหลายในการระดมทุนจากกองทุนทั่วโลก และเป็นแหล่งเงินของรัฐบาล  

ซึ่งการออกบอนด์สกุลต่างประเทศจะเป็นการลดผลกระทบการแย่งเงินลงทุนในประเทศของภาครัฐกับภาคเอกชน (Crowding Out Effect) รวมทั้งใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงอัตราดอกเบี้ยให้กับภาคเอกชนไทยในการระดมทุนต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเอกชนจะใช้เครดิตของตัวเอง และถูกหักส่วนลด โดยเบื้องต้นจะมีวงเงินอยู่ที่ 500-1,500 ล้านดอลลาร์ 

นายพิชัย กล่าวว่า ปัจจุบัน อันดับความน่าเชื่อถือไทย (Credit Rating) อยู่ที่ระดับ BBB+ ถ้าสถานการณ์ในภาพรวมดีขึ้นก็มีสิทธิจะได้ปรับเป็น A- จากปัจจัยเรื่องการเมืองที่นิ่งขึ้น เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่ได้ A- ไทยก็ไม่ต่างกัน    

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...