ภาพถ่ายและความทรงจำ (จบ)

เกริ่นไว้ใน “Think out of The Box” ฉบับที่แล้วถึงวิถีชีวิตในยุคดิจิทัลที่ดูเหมือนจะขาดการถ่ายภาพทุกจังหวะชีวิตไม่ได้แล้ว โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ จึงหันมาเน้นลูกเล่นในเรื่องกล้องและเลนส์อย่างเต็มที่ ทั้งการถ่ายภาพบุคคล ภาพวิวทิวทัศน์ ภาพอาหาร ภาพสัตว์เลี้ยง ฯลฯ

รวมถึงการพัฒนาระบบเอไอมาใช้เพื่อทำให้ภาพสวยงามตามความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น ยิ่งถ่ายแล้วสวยผู้ใช้ก็จะยิ่งใช้ในโอกาสต่างๆ มากขึ้น ต่างจากในอดีตที่เราจะถ่ายภาพเฉพาะในโอกาสสำคัญๆ แต่ทุกวันนี้เราถ่ายทุกอย่าง ทุกเวลา และทุกสถานที่

การทานอาหารร่วมกันกับญาติพี่น้องเพื่อนฝูงจึงมักถูกขัดจังหวะด้วยการถ่ายภาพเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเราคงปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่ได้ แต่เราก็จึงเป็นต้องคิดถึง “แก่นแท้” ของการพบปะสังสรรค์กัน

ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญของคนที่เราร่วมทานอาหารด้วย หรือแม้แต่ตัวอาหารเองที่มีความพิเศษมากมาย แต่เราอาจมองข้ามไปเพราะมัวแต่สนใจโพสต์ของเราในโซเชียลมีเดีย

มิตรสหายคนหนึ่งของผมที่ไม่นิยมถ่ายรูปเหมือนกันคนอื่นๆ แต่เขามีความสุขกับการดูความเป็นไปของเพื่อนฝูงและคนรอบข้าง เพราะในจังหวะที่ทุกคนชุลมุนถ่ายรูปกันอยู่นั้น เขามักจะใช้เวลาในการพุดคุยกับคนอื่น แม้กระทั่งพนักงานเสิร์ฟเพื่อให้รู้ข้อมูลของอาหารแต่ละจาน

เพื่อนคนนี้ทำให้ผมได้คิดว่าความสุขจากการอยู่กับปัจจุบัน คือได้อยู่กับเพื่อนฝูงที่อยู่ต่อหน้า ไม่ใช่แค่เพื่อนที่อยู่ในโซเชียลมีเดียซึ่งไม่รู้ว่าอยู่มุมไหนของโลก หรือได้รู้ว่าอาหารที่กำลังจะทานนั้นมีความเป็นมาอย่างไร ไม่ใช่ติดตามแต่เรื่องหลากหลายมากมายในโลกออนไลน์ที่ไม่ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราเลยก็ได้

ผมคิดว่าชีวิตของเราก็ไม่ต่างอะไรกับบ้านของเราที่ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกที่จะเก็บอะไรและไม่เก็บอะไร หากเราเก็บสะสมข้าวของต่าง ๆ มากมาย สุดท้ายภายในบ้านก็จะเต็มไปด้วยสิ่งของที่เราไม่จำเป็นต้องใช้และมักหาของที่ต้องการใช้จริง ๆ ไม่เจอ

หากมีเวลาได้ลองจัดบ้านและเลือกเก็บเฉพาะของที่จำเป็นจริง ๆ เราอาจจะพบว่ามีของส่วนเกินที่เราไม่ได้ใช้แล้วมากมายกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อจัดการแจกจ่ายให้กับคนที่เขาต้องใช้หรือบริจาคออกไปให้หมดบ้านก็จะโล่งและน่าอยู่มากขึ้น

ไม่ต่างอะไรกับอุปกรณ์ดิจิทัลของเราทั้งมือถือ ไอแพด คอมพิวเตอร์โน้ตบุ้ค ฯลฯ ที่มักเก็บรูปภาพเก็บวิดีโอ เก็บข้อมูล บทความ ฯลฯ มากมายไว้จนเต็มไปหมด และทำให้หาสิ่งที่ต้องการจริงๆ ไม่เจอ โดยเฉพาะรูปภาพในโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายไว้จนเต็มไปหมด และจำไม่ได้แล้วว่ารูปเหล่านี้ถ่ายเมื่อไร ที่ไหนและถ่ายไปทำไม

ผมเองก็มักจะเก็บข่าว บทความ และความคิดเห็นดีๆ เก็บไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ต้องย้ายอาคารสำนักงานก็จะพบว่ามีหนังสือ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เก็บสะสมไว้เต็มไปหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราเลือกได้ว่าจะเก็บหรือไม่เก็บอะไร ไม่จำเป็นต้องเก็บเอาไว้ทั้งหมดให้เป็นภาระ

เพราะบางครั้ง เราเก็บหนังสือดีๆ บทความดีๆ เหล่านี้เผื่อจะถ่ายทอดให้คนอื่นๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเขาอาจไม่สนใจหรือไม่ชอบใจ รวมถึงไม่คิดว่ามันมีค่าใดๆ เพราะมีสาระความรู้อื่นๆ ให้ติดตามได้มากมายในโลกออนไลน์​

ยิ่งถ้าเป็นหนังสือเขาอาจชอบให้ระบบเอไอสรุปใจความหรือจับประเด็นที่น่าสนใจขึ้นมาให้ ซึ่งเร็วกว่าที่จะอ่านคนเดียวทั้งเล่มเพราะคนยุคดิจิทัลดูเหมือนจะสนใจผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการในการได้ผลลัพธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดายเหมือนกันเพราะเขาจะพลาดรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...