Stripe รุกตลาดเอเชียรวมไทย มุ่งใช้ AI รองรับการค้าออนไลน์ข้ามพรมแดน

Stripe” ยักษ์ใหญ่ให้บริการระบบชำระเงินออนไลน์ กำลังเร่งขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียและประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกให้ร้านค้าออนไลน์สามารถรับชำระเงินจากลูกค้าได้ง่ายดาย ภายใต้แนวคิด “ไม่ว่าลูกค้าจะอยู่มุมใดของโลก”

โดยล่าสุด ในงาน Stripe Tour 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์ บริษัทได้เปิดเผยข้อมูลการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย พร้อมทั้งเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย และนำเสนอวิธีการที่ Stripe จะช่วยสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ในการขยายตัวสู่ตลาดโลก

Stripe ซึ่งเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์รับชำระเงินสำหรับธุรกิจในยุคดิจิทัล ปัจจุบันรองรับการชำระเงินกว่า 135 สกุลเงินทั่วโลก โดยในปี 2023 บริษัทมีมูลค่าการทำธุรกรรมสูงถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ คิดเป็นประมาณ 1% ของ GDP โลก สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของ Stripe ในระบบการเงินดิจิทัลระดับโลก

การเติบโตอย่างก้าวกระโดดในเอเชีย

ศริตา ซิงห์ (Sarita Singh) ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ Stripe ประจำภูมิภาคจีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ปัจจุบันเอเชียแปซิฟิกมีสัดส่วน GDP เกือบ 40% ของโลก และคาดว่าจะเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก Stripe เชื่อว่าส่วนสำคัญของการเติบโตนี้จะมาจากเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาล่าสุดโดยบริษัทฯ ยังพบว่า รายได้จากการทำธุรกิจข้ามประเทศ (Cross-Border e-Commerce) สำหรับประเทศไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่า 65% 

“มีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียเริ่มใช้งานระบบของ Stripe หลายร้อยราย ซึ่งมากกว่าสองเท่าของจำนวนในปี 2020 จุดเด่นของเราคือ ความยืดหยุ่น และเชื่อมต่อได้ง่ายกับหลากหลายธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยีหรืออีคอมเมิร์ซ 

ลูกค้าระดับโลกของเรา เช่น Apple, Amazon และ Uber และในเอเชียก็มี InVideo บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์ตัดต่อวิดีโอด้วยเอไอ, LG Electronics เปิดร้านค้าออนไลน์ในสิงคโปร์โดยใช้ Stripe, M1 Limited บริษัทมือถือชั้นนำในสิงคโปร์ และ TADA แอพเรียกรถที่กำลังขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ศริตา กล่าว

อย่างไรก็ดี Stripe กำลังขยายบริการไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ โดยจับมือกับบริษัท NICEPay เพื่อให้ร้านค้าในอเมริกาสามารถรับเงินจากลูกค้าเกาหลีใต้ได้ง่ายขึ้น และทางอินโดนีเซียก็มีแผนจะเปิดให้บริการในปีหน้า 

สำหรับประเทศไทย Stripe ได้ร่วมมือกับ จิม ทอมป์สัน (Jim Thompson) แบรนด์ค้าปลีกแฟชั่นของไทย พัฒนาระบบขายของออนไลน์เพื่อขยายธุรกิจไปยังตลาดทั่วโลก 

โดย ปัญจรัตน์ ลิมปินนท์ ผู้บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด เจ้าของแบรนด์ฯ กล่าวว่า การใช้ Stripe ช่วยให้ลูกค้าซื้อของออนไลน์ได้ง่ายขึ้น และการชำระเงินได้หลายสกุลเงินเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจที่มีลูกค้าหลายประเทศ

อีกทั้ง ยังเหมาะกับธุรกิจที่ตีตลาดออนไลน์ เน้นการเข้าถึงผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าอายุน้อยของแบรนด์ให้มีความสะดวกสบายและง่ายต่อการซื้อมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่ได้ทำงานร่วมกับ Stripe

ฟีเจอร์ใหม่สำหรับผู้ประกอบการ

ภายในงานได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่รองรับผู้ประกอบการเอเชียรวมไทย โดยแบ่งได้ดังนี้

1) รองรับการชำระเงินแบบ Real-Time: Stripe ได้พัฒนาระบบเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่าง PromptPay ของไทย กับระบบการชำระเงินของประเทศเพื่อนบ้าน เช่น PayNow ของสิงคโปร์ และ UPI ของอินเดีย ช่วยให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น

2) ระบบป้องกันการฉ้อโกงด้วยเอไอ (Radar Assistant): ป้องกันการฉ้อโกง โดยใช้ prompt ภาษาธรรมชาติในการสร้างกฎเกณฑ์ตรวจจับการฉ้อโกง 

3) แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจที่มีรายได้ประจำ (Stripe Billing): ช่วยให้ธุรกิจที่มีรายได้แบบสมาชิกหรือการสมัครสมาชิกสามารถจัดการการเรียกเก็บเงินและการสมัครสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4) รองรับการขยายธุรกิจข้ามพรมแดน (Adaptive Pricing): ช่วยให้ธุรกิจสามารถมอบประสบการณ์การชำระเงินที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละประเทศ ครอบคลุมกว่า 150 ประเทศ พร้อมจัดการเรื่องภาษีและการทำบัญชีให้โดยอัตโนมัติ

“เราสร้างเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อช่วยให้ร้านค้าออนไลน์ในไทยและเอเชียขายของได้มากขึ้น เช่น ระบบชำระเงินที่แสดงราคาเป็นเงินท้องถิ่นของลูกค้า และมีระบบป้องกันการโกง ทำให้ลูกค้ามั่นใจในการซื้อของมากขึ้น” ศริตา ชี้จุดสรุป

อนาคตของการค้าออนไลน์

Stripe ได้ทำการศึกษาและพบว่า ภายในปี 2030 คนซื้อของออนไลน์จะไม่สนใจว่าร้านค้าอยู่ประเทศไหน นั่นหมายความว่า ร้านค้าออนไลน์จะมีโอกาสขายของไปทั่วโลกมากขึ้น

การเติบโตของ Stripe ในเอเชียและประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า การค้าออนไลน์กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Stripe ช่วยให้ร้านค้าทุกขนาดสามารถขายของไปทั่วโลกได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ใหญ่อย่าง Jim Thompson หรือร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็ก

ในอนาคต เราอาจจะเห็นร้านค้าออนไลน์ของไทยสามารถขายสินค้าไปทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย เหมือนกับการขายในประเทศ ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทย และทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าจากทั่วโลกได้สะดวกยิ่งขึ้น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...