สินค้าจีนทะลัก4อุตฯ ‘ไม่รอด’ รถ-เหล็ก-ฮาร์ดดิส-ปิโตรฯ

สถานการณ์สินค้าจีนทะลักตลาดโลกเริ่มเห็นภาพที่ชัดต่อผลกระทบภาคการผลิตของไทย โดยหลายอุตสาหกรรมมีการใช้อัตรากำลังการผลิตในระดับต่ำ และได้เรียกร้องให้ภาครัฐเข้ามาแก้ปัญหาอย่างจริงจัง

นายพิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บล.เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP เปิดเผยว่า เราประเมินผลการเลือกตั้งในสหรัฐ ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ 

ดังนั้น เชื่อว่าคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานการณ์ของ “สงครามการค้า” (Trade War) ได้ แต่หาก “โดนัลด์ ทรัมป์” มาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ มองว่าผลกระทบกับประเทศไทยจะมากกว่าอย่างแน่นอน

สำหรับผลกระทบจากจีนต่อไทย พบผลกระทบ 3 เรื่อง 

1.ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มมีสัญญาณการขาดดุลการค้ากับจีนชัดเจนมากขึ้น โดยมีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น 6 เดือนแรกปีนี้ พบขาดดุลการค้ากับจีนถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ 

2.การตั้งกำแพงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ปริมาณการค้าโลกลดลง ส่งผลทำให้ปริมาณการค้าของไทยมีโอกาสลดลง ขณะที่ต้นทุนของผู้ประกอบไทยสูงขึ้น 

3. การที่จีนมาใช้ไทยเป็นทางผ่านการซื้อขายสินค้า รวมทั้งเศรษฐกิจของจีนชะลอตัว ทำให้มีสินค้าราคาถูกจากจีน และแฟลตฟอร์มออนไลน์จากจีนเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการลดลง แม้ว่าสินค้าราคาถูกจากจีน จะทำให้การบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ก็ตาม 

“มองว่าหาก ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เกิดการกำแพงภาษีกับจีนค่อนข้างสูงมาก ทำให้ไทยเป็นทางผ่านในการค้าขาย และการที่เศรษฐกิจจีนไม่ดี การค้าขายในประเทศจีนลดลง การนำสินค้าราคาถูกส่งออกขายทั่วทุกประเทศ รวมถึงไทยก็โดนด้วย" นายพิพัฒน์ กล่าว

นอกจากนี้แม้ว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการบริโภคเพิ่มขึ้น และมีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย แต่ซัพพลายเชนของการผลิตยังเป็นจีนทั้งหมด ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่ามาก ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจะโดดเข้ามาในซัพพลายเชนนี้ต้องดรัมพ์ราคาสู้ และแบกต้นทุนเพิ่มขึ้น ขณะที่ขีดความสามารถการแข่งขันยิ่งน้อยลง

4 อุตสาหกรรมเสี่ยงหนัก

ทั้งนี้ ผลกระทบจากจีนครั้งนี้ จะส่งผลต่อ 4 อุตสาหกรรมใหญ่ของไทยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ เหล็ก รถยนต์ ฮาร์ดดิสท์ไดร์ฟ และปิโตรเคมี ซึ่งล้วนแต่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม ,ต้นทุนของผู้ประกอบการไทยเพิ่มขึ้น และผู้ประกอบกอบการไทยยังมีข้อเสียเปรียบความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะเริ่มเห็นสัญญาณความยากลำบากชัดเจนขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และปิโตรเคมี

อีกทั้ง ด้วยอุตสาหกรรมใหญ่ของไทย ยังเป็นอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม ประกอบกับการที่ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมและปริมาณการค้า ยังไม่กลับมา ดังนั้น ย่อมส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ยังติดกับดักการเติบโตระดับต่ำ ที่ 2-2.5% ตลอดช่วงที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่า ปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบทางอ้อมต่อแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ปรับลดลง 

รวมทั้งไม่มีการระดมทุนเพิ่มในอุตสาหกรรมใหม่ๆ จะพบว่า กำไร บจ.ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ไม่เติบโต โดยทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่เติบโตตามไปด้วย รวมทั้งผลตอบแทนการลงทุน (รีเทิร์น) ในหุ้นไทยไม่เติบโตด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ปัญหาดังกล่าว มองว่า หากเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศควรจะได้รับการปกป้อง หรือความคุ้มครอง เพื่อเป็นการซื้อเวลาระยะหนึ่งให้อุตสาหกรรมดังกล่าวสามารถปรับตัวและพัฒนาต่อไปในระยะข้างหน้าได้

แนะรัฐตั้งกำแพงภาษีสกัดจีน

นอกจากนี้ เสนอแนะว่า ภาครัฐ ควรจะมีการตั้งกำแพงภาษี กับสินค้านำเข้าจีน ที่ตั้งใจขายต่ำกว่าจากต้นทุน และ ควรจะควบคุมคุณภาพสินค้าจีนได้มาตรฐาน เดียวกับสินค้าไทย

พร้อมส่งเสริมการลงทุนเพื่อดึงต่างชาติมาระดมทุนเพิ่ม ทั้งด้วยการเตรียมพัฒนาคนให้พร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานและ การปัญหากฎเกณฑ์และระเบียนต่างๆ เพื่อลดข้อจำกัดการลงทุนของต่างชาติ และทำให้การเมืองในประเทศมีเสถียรภาพ นโยบายเศรษฐกิจไทย ที่จะทำใน 10 ปีข้างหน้าต้องชัดเจน

“ปัญหาดังกล่าวมองว่า หากเป็นอุตสาหกรรมกลยุทธ์หลักของประเทศควรจะได้รับการปกป้อง หรือ ความคุ้มครอง เพื่อซื้อเวลาระยะหนึ่งให้อุตสาหกรรมดังกล่าวพัฒนาต่อไปข้างหน้า และ ภาครัฐควรจะมีการตั้งกำแพงภาษีกับสินค้านำเข้าจีนที่ตั้งใจขายต่ำกว่าจากต้นทุน และ ควบคุมคุณภาพได้มาตรฐานเดียวกับสินค้าไทยหรือไม่ พร้อมส่งเสริมการลงทุนดึงต่างชาติ เช่น แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหากฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ”

นอกจากนี้ด้วย ด้วยการแข่งขันจากจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน สุดท้ายผู้ประกอบการไทย ต้องปรับตัวให้อยู่รอด เช่น ทำอะไรที่ไม่ได้กำไรต้องยอมสละและพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นให้ได้ มีการลงทุนอินโนเวชั่นใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยนมาแข่งขันด้วยการผลิตและขายสินค้าค้าคุณภาพสูงขึ้น อย่างเช่น ธุรกิจปิโตรเคมีนั้นอาจปรับยาก จึงต้องหาสิ่งที่เป็นไฮ แวลู (High Value) ใหม่ๆ

“อุตสาหกรรมหลักของไทยตอนนี้ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมโลกเก่า อย่างรถยนต์ และฮาร์ดดิสไดร์ฟ เหมือนบุญเก่ากำลังหาย ขณะที่บุญใหม่ยังมาไม่ทัน มองว่า เราควรจะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งต้องปกป้องบุญเก่า และต้องสร้างบุญใหม่ไปพร้อมกัน ซึ่งคงต้องใช้เวลากำหนดเป็นแผนระยะยาวและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...