ให้ต่างชาติมาอยู่ไทยเยอะๆ นี่ดีใช่ไหม | โสภณ พรโชคชัย

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติที่ปรากฏใน Wikipedia ปี 2562 พบว่าประเทศทั่วโลกมีคนต่างชาติไปอยู่ประมาณ 3.5% หรือราว 271,642,105 ล้านคน มาดูประเทศเหล่านี้มีคนต่างชาติไปอยู่มากมายเกิน 30% ของประชากรของตนเอง (ตารางประกอบ)

จะเห็นได้ว่าประเทศเกือบทั้งหมดที่มีประชากรต่างชาติอยู่เป็นจำนวนมาก ก็เพราะมาขายแรงงานเป็นสำคัญ และบางส่วนอาจมีการรับผู้อพยพเข้าไปอยู่บ้าง ทั้งนี้ยังมีประเทศยุโรปตะวันตกที่รับผู้อพยพเข้าไปอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และกลุ่มสแกนดิเนเวีย เป็นต้น

อย่างในกรณีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จะพบว่าประชากรจำนวนมากมาจากต่างประเทศโดยในจำนวนประชากรทั้งหมด 13,149,612 คน เกือบ 90% เป็นชาวต่างชาติ

โดยอินเดียมีจำนวนประชากรเป็นอันดับหนึ่งถึง 4.75 ล้านคน หรือ 37.96% ของทั้งหมด รองลงมาก็คือปากีสถาน บังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อิหร่าน อียิปต์และเนปาล

หากเจาะลึกเฉพาะในสิงคโปร์จะพบว่า ประชากรของประเทศที่ไปอยู่มากที่สุดก็คือฟิลิปปินส์ รองลงมาคือจีนและอินโดนีเซีย ประเทศเพื่อนบ้านต่างมาขายแรงงานในสิงคโปร์ ณ สิ้นปี 2566

หากพิจารณารายได้ประชาชาติต่อหัว(GDP per capita) ของชาวสิงคโปร์จะพบว่ามีรายได้สูงถึง 88,953 ดอลลาร์ต่อคน ในขณะที่ไทยมีรายได้เพียง 7,362 ดอลลาร์ แสดงว่ารายได้ต่อหัวของสิงคโปร์มีขนาดเป็น 12 เท่าของไทย

สัดส่วนนี้ถ่างห่างออกไปมากเพราะเมื่อราว 20 ปีก่อน รายได้ต่อหัวของสิงคโปร์มีขนาดเพียง 5 เท่าของไทยเท่านั้น

ในทางตรงกันข้ามก็มีประเทศที่มีประชากรต่างชาติในสัดส่วนที่น้อยมากเป็นพิเศษ ซึ่งก็น่าศึกษาดูว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้ ประเทศที่ไม่ค่อยมีไปใครอยู่อาศัย มีสัดส่วนของผู้อพยพเข้าไปอยู่น้อยมาก ได้แก่ “จีน”

จีนมีสัดส่วนประชากรเพียง 0.1% รองลงมาก็คืออินโดนีเซีย เมียนมาและเวียดนาม ประเทศเหล่านี้อาจไม่ต้อนรับชาวต่างชาตินัก เช่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และเกาหลีเหนือ ส่วนบางประเทศก็มีปัญหาทางการเมือง เช่น เกาหลีเหนือ เมียนมา เป็นต้น

จีนเป็นประเทศที่มีประชากรอพยพไปอยู่ประเทศอื่นมากที่สุดก็ว่าได้ แต่กลับมีชาวต่างประเทศไปอยู่จีนในสัดส่วนที่น้อย

บางท่านอาจแย้งว่าจีนมีประชากรต่างชาติถึง 1,030,871 ล้านคน แต่ก็ติดอันดับที่ 53 ก็ไม่น้อยใช่หรือไม่ หากนับตามจำนวนประชากรต่างชาติ ก็ยังน้อยกว่าไทยที่มีประชากรต่างชาติถึง 3,635,085 คน ยิ่งกว่านั้นฮ่องกง ก็มีประชากรต่างชาติมากกว่าจีนหลายเท่าตัว คือมีถึง 2,942,254 คน ส่วนสิงคโปร์ก็มีประชากรต่างชาติ 2,155,653 คน

ในกรณีประเทศไทย ตามข้อมูลของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว เกี่ยวกับสถิติจำนวนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ณ เดือน ก.ค.2567 พบว่าเป็นแรงงานเมียนมา กัมพูชาและลาวเป็นหลัก

กลุ่มที่เป็นแรงงานมีทักษะมีอยู่เพียง 182,082 คน โดยเป็นกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพียง 56,143 คน ที่เหลือ 125,939 คน เป็นกลุ่มทั่วไป 

ดังนั้น โอกาสที่จะคิดให้มีการมาอยู่อาศัยในไทยนับล้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นแค่ “ความฝัน” ที่ไม่เป็นจริงเท่านั้น มีไว้เพื่ออ้างโดยหวังให้ต่างชาติมาซื้อที่อยู่อาศัยในไทยให้ได้

อย่างกรณี Golden Visa ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ปรากฏว่ามีผู้ได้รับถึง 158,000 รายในปี 2566 ส่วนในปี 2565 ได้รับ 79,617 รายและ ปี 2564 ได้รับ 47,150 คน รวม 5 ปีคงได้รับไม่เกิน 330,000 คน

แต่โอกาสที่ไทยจะมีคนเข้ามาเป็นล้านคนใน 5 ปี จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และการอยู่อาศัยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็เป็นการอยู่ทำธุรกิจเป็นสำคัญ เพราะขณะนี้ดูไบกลายเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจในภูมิภาคไปเสียแล้ว

ในปัจจุบันคาดว่ามีคนจีนจากประเทศจีนเข้ามาอยู่ในไทยไม่เกิน 200,000 คน โดยในปี 2565 มีราว 110,000 คนและน่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คนเหล่านี้คงไม่เหมือนคนจีนเมื่อเกือบร้อยปีก่อนที่อพยพเข้ามาแบบเสื่อผืนหมอนใบ แต่มาแบบนายทุนและได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลให้ออกมาทำกินนอกประเทศ

 คนเหล่านี้อาจมีอิทธิพลทางการเงินและทางการเมืองในประเทศไทยได้ในอนาคต โดยดูจากกรณี “ตู้ห่าว” ที่ซื้อบ้านในโครงการจัดสรรเป็นจำนวนมาก

โอกาสที่ต่างชาติมาอยู่ในไทยก็อาจไม่ได้ใช้แรงงานไทย อย่างจีนก็อาจขนแรงงานมาจากประเทศของตนเอง รัสเซียก็ขนช่างทำผมและแอปเรียกแท็กซี่ของตนเอง (ที่ภูเก็ต)

คนต่างชาติเหล่านี้อาจไม่ได้ใช้แรงงานไทย อาจว่าจ้าง “คนใช้” จากแรงงานเมียนมา ลาวและกัมพูชา ซึ่งก็ไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย แถมจีนเทาๆ ก็อาจก่ออาชญากรรมต่างๆ ครอบงำข้าราชการได้ ทำให้มีอิทธิพลทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง

การให้ต่างชาติมาอยู่ไทยจึงไม่ใช่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

คอลัมน์ อสังหาริมทรัพย์ต่างแดน

ดร.โสภณ พรโชคชัย 

ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย 

บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส 

www.area.co.th

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...