เราศึกษา รัฐสวัสดิการ ประเทศอื่นไปทำไม?

“...ระบอบรัฐสวัสดิการมิใช่นโยบายสังคมต่าง ๆมารวมกัน แต่มันคือระบบที่ประกอบด้วยสถาบันองค์กรต่างๆ สัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน...” Esping-Andersen, 1999

ทำไมไม่มีประเทศไหนทำตามสแกนดิเนเวีย?      

        เมื่อสแกนดิเนเวียเป็นรูปแบบที่พึงปรารถนาขนาดนี้แล้ว ทำไมไม่มีประเทศอื่นดำเนินรอยตาม? สแกนดิเนเวียมิได้เป็นประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก เศรษฐกิจเขาเล็กกว่าอินเดีย และจีน รายได้ต่อประชากรก็น้อยกว่า อเมริกา หรือสิงคโปร์อีก

        หรือว่าผู้นำประเทศรายได้สูงไม่เห็นใจประชาชน? หมกหมุ่นระบบทุนนิยม? บทความนี้มาสำรวจกันว่าเหตุใดไม่มีประเทศไหนเลียนแบบสแกนดิเนเวียได้

การศึกษานโยบายและการถ่ายโอนนโยบาย

       เราสามารถศึกษารัฐสวัสดิการโดยจำเพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือศึกษาเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ข้อดีของการศึกษาประเทศเดียว คือ สามารถศึกษาเชิงลึกลงรายละเอียดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้ มองเห็นพลวัตของการค่อยๆ ก่อร่างสร้างรัฐสวัสดิการขึ้นมา

เพราะกรุงโรมสร้างไม่เสร็จในวันเดียวฉันท์ใด รัฐสวัสดิการก็ต้องใช้เวลาเป็นทศวรรษหรือศตวรรษในการสร้างมันขึ้นมา

การศึกษารัฐสวัสดิการเปรียบเทียบเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลังจากทศวรรษ 70-80 เนื่องจากกลุ่มประเทศยุโรปประสบปัญหาวิกฤติรัฐสวัสดิการ กองทุนประกันสังคมติดหนี้ก้อนโตขึ้นทุกปีชนิดว่าใช้หนี้ไม่มีวันหมด

เนื่องจากปัญหาโครงสร้างประชาชนเริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย ประชาชนอายุยืนขึ้นจากสันติภาพไม่มีสงคราม สวัสดิการที่ประชาชนได้จากรัฐช่วยลดอัตราการตาย อีกทั้งวิกฤติเศรษฐกิจทำให้เกิดเงินเฟ้อและอัตราว่างงานสูง

เหล่านี้ทำให้รายจ่ายกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินกว่ารายได้ที่เก็บได้จากเบี้ยประกันคนทำงาน เมื่อเกิดปัญหาและจำเป็นต้องปฏิรูปรัฐสวัสดิการใหม่ พวกเขาก็เริ่มหารูปแบบทางเลือกอื่น ซึ่งก็คือรัฐสวัสดิการในเอเชียตะวันออก เพราะมีลักษณะที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับตะวันตก

รัฐใช้จ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการสังคมน้อย และให้ครอบครัวเข้าร่วมรับผิดชอบ อีกทั้งนโยบายสวัสดิการสังคมช่วยกระตุ้นการเติบโตเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องอีก แรงงานก็ได้รับการคุ้มครองสังคมขั้นพื้นฐาน

        การศึกษารัฐสวัสดิการเปรียบเทียบเป็นการศึกษาลักษณะที่เหมือนและแตกต่างกันของรัฐต่างๆ ศึกษาว่าเหตุการณ์ใดในประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้รัฐเกิดพัฒนาการที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน

ศึกษาว่าปัจจัยใดเป็นอุปสรรค เป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการพัฒนารัฐสวัสดิการ รวมถึงศึกษาว่ารัฐสวัสดิการรูปแบบต่างๆส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างไรตามมา

        แน่นอนว่า การศึกษารัฐที่เป็นระบบใหญ่อันซับซ้อนยิ่งต้องการข้อมูลจำนวนมหาศาล และเวลาในการวิเคราะห์ รวมถึงทฤษฎีการลงทุนและผลตอบแทนทางสังคม ทฤษฎีด้านกระบวนการนโยบายสาธารณะและการถ่ายโอนนโยบายสาธารณะ

ทำให้การศึกษารัฐสวัสดิการถูกลดรูปเป็น การศึกษานโยบายหรือกลุ่มนโยบายสวัสดิการสังคมและเป็นที่นิยมมากกว่าในปัจจุบัน

ข้อจำกัดของการถ่ายโอนนโยบาย

       อย่างไรก็ตาม การศึกษาประสบการณ์นโยบายจากประเทศอื่นเพื่อนำมาปฏิบัติตาม หรือการถ่ายโอนนโยบายสวัสดิการก็มีข้อจำกัดเช่นกัน Castles (1998) ได้อธิบายลักษณะดังกล่าวว่า

1.) ลักษณะกระบวนการผลิตสาธารณะ เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและยากที่จะมีแค่ตัวแปรเดียวกำหนด เช่น งบประมาณจำนวนมากจำเป็นต่อการทำนโยบายสุขภาพสำเร็จ แต่ก็พบว่าบางประเทศทำนโยบายสำเร็จถึงแม้มีงบประมาณจำกัดเพราะมีปัจจัยอื่นที่สนับสนุนทดแทน เช่น มีความร่วมมือจากองค์กรมูลนิธิต่างๆ เป็นต้น

2.) ไม่มีหลักประกันว่าปัจจัยที่เคยมีผลกำหนดนโยบายในปัจจุบัน เมื่อเวลาผ่านไปแล้วยังคงมีอิทธิพลต่อเนื่อง เช่น งบประมาณส่งผลต่อความสำเร็จนโยบายสุขภาพปัจจุบัน แต่ในอนาคต 30 ปีข้างหน้า ปัจจัยด้านงบอาจจะมีผลหรือไม่มีผลก็ได้

3.) ไม่มีเหตุผลใดที่จะสันนิษฐานว่าผลลัพธ์ของนโยบายประเภทต่างๆ จะมีปัจจัยกำหนดที่เหมือนกัน เช่น ปัจจัยที่ทำให้นโยบายสุขภาพสำเร็จก็ไม่จำเป็นว่าจะทำให้นโยบายการศึกษาสำเร็จด้วยเช่นกัน หรือการก๊อปปี้นโญบายจากประเทศฮื่นแล้วจะคาดหวังว่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน

4.) ผลลัพธ์ของนโยบายสังคมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์สวัสดิการด้วยวิธีการที่ซับซ้อน เช่น การศึกษาที่สูงขึ้นทำให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น บางประเทศอาจเป็นเพราะการศึกษาไปเพิ่มโอกาสการทำงานค่าตอบแทนสูง แต่บางประเทศกลไกอาจเกิดจากการศึกษาทำให้ประชาชนมีความเชื่อใจมากขึ้นไปเพิ่มประสิทธิทุนสังคมมากขึ้น เป็นต้น

ศึกษารัฐสวัสดิการประเทศอื่นยังมีประโยชน์ไหม?

       เมื่อการศึกษาประสบการณ์รัฐสวัสดิการประเทศอื่น การลอกเลียนแบบนโยบายสวัสดิการจากประเทศเจริญแล้ว ไม่รับประกันผลที่ตามมา

เช่น ประเทศไทยมีนโยบายสวัสดิการสังคมต่างๆเหมือนประเทศตะวันตก เช่น มีประกันสังคม มีประกันสุขภาพ มีบำนาญ มีนโยบายอาคารสงเคราะห์ แต่ความเหลื่อมล้ำยังสูงอยู่ คุณภาพชีวิตก็ไม่เท่าเทียม แบบนี้แล้วการศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศยังมีประโยชน์หรือไม่?

        การศึกษาเปรียบเทียบประเทศอื่นยังมีประโยชน์เสมอ เราศึกษารัฐสวัสดิการเปรียบเทียบเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ หลีกเลี่ยงความผิดพลาด มากกว่าที่ศึกษาเพื่อจะทำตามอย่างไม่มีเงื่อนไข

การศึกษารัฐสวัสดิการสแกนดิเนเวียช่วยให้เราทราบว่า ตำแหน่งที่เรายืนอยู่ในปัจจุบันมันห่างจากเป้าหมายในอุดมคติมากน้อยเพียงใด เราต้องทำอะไรอีกเยอะแยะหรือไม่เพื่อที่จะได้รัฐที่ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่าสแกนดิเนเวีย  

เราศึกษาประวัติศาสตร์รัฐสวัสดิการประเทศอื่น เพื่อทราบข้อผิดพลาดในอดีตและหลีกเลี่ยงการกระทำผิดซ้ำรอยประวัติศาสตร์ เช่น ประวัติศาสตร์รัฐสวัสดิการโลกตะวันตกต้องผ่านช่วงที่มีสงครามชนชั้นระหว่างนายทุนและแรงงาน

เราจะทำอย่างไรไม่ให้รัฐสวัสดิการไทยซ้ำรอยเกิดสงครามชนชั้น ที่สุดท้ายแล้วคนได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คือ ประชาชนทั่วไปในสังคม.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...