‘TDRI’ ห่วงหนี้สาธารณะไทยพุ่ง แนะอุดหนุนราคาพลังงานแค่ระยะสั้น

“รัฐบาลเศรษฐา1” เตรียมที่จะนำมาตรการลดราคาพลังงานเข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 13 ก.ย.ที่จะถึงนี้หลังจากที่ได้มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมาว่าการลดราคาพลังงานจะเป็นนโยบายที่ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน โดยคำแถลงของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแถลงว่า

“การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการ ราคาพลังงานทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที”

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าการลดราคาพลังงานถือว่าเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะทำก่อนจะแจกเงินดิจิทัล โดยรัฐบาลจะทำในเรื่องของการปรับลดค่าน้ำมันและค่าไฟฟ้าเพื่อหวังที่จะลดค่าครองชีพและทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกที่ดีกับรัฐบาล และคาดหวังว่าทำให้คนมีกำลังในการใช้จ่าย

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการลดราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้าจะทำให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นเนื่องจากทั้งหนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และหนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)นั้นถือเป็นหนี้สาธารณะด้วยโดยปัจจุบันหนี้กองทุนน้ำมันฯนั้นยังสูงในระดับหลายหมื่นล้าน ส่วนหนี้ของ กฟผ.ที่ช่วยแบกรับค่าไฟฟ้าอยู่ที่กว่า 1 แสนล้านบาท  

“การแทรกแซงราคาพลังงานหากจะทำก็หวังว่ารัฐบาลจะทำสั้นๆเพราะหากทำต่อเนื่องระยะยาวจะเกิดปัญหากับฐานะการคลังภาครัฐที่หนี้สาธารณะจะสูงขึ้น หากไปรวมเอากับงบประมาณภาครัฐในอนาคตจะต้องไปอุ้มหนี้ของกองทุนน้ำมันที่มีการติดลบหลายหมื่นล้านบาท รวมทั้งหนี้ของ กฟผ.ที่ชดเชยค่าไฟฟ้าในระดับแสนล้านบาทก็จะเพิ่มหนี้ภาครัฐให้เพิ่มขึ้น”  

ห่วงอุดหนุนราคาพลังงานทำการใช้พลังงานไร้ประสิทธิภาพ

ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวต่อว่าการอุดหนุนราคาพลังงานจะทำให้การใช้พลังงานที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่สวนทางกับทิศทางการดำเนินงานของประเทศต่างๆที่มุ่งไปในการลดคาร์บอน การส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพทุกประเทศทำให้พลังงานมีราคาแพงขึ้นเพื่อทำให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ

เช่น ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียร์ที่มีการเก็บภาษีคาร์บอน ภาษีน้ำมันเพิ่ม หากปล่อยคาร์บอนออกมาก 1 ตันจะเก็บภาษีคาร์บอนเพิ่มอีกหลายร้อยยูโร หากประเทศไทยมีการอุดหนุนราคาพลังงานมากขึ้น

ซึ่งนอกจากจะทำให้กองทุนน้ำมันติดลบมากขึ้น ก็จะทำให้การปรับตัวไปสู่การลดคาร์บอนนั้นทำยากขึ้น การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพก็ไม่เกิดขึ้น เป้าหมายในเรื่องนี้ต้องดูในเรื่องระยะยาวมากกว่า 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...