สถิตย์ ไม่ห่วงการเมืองแทรกแซงเลือก 'ประธานบอร์ดธปท.' ยึดคุณสมบัติ-ข้อกม.

ความคืบหน้าในการการสรรหาผู้ที่เหมาะสมมานั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แทนนายปรเมธี วิมลศิริ ที่จะหมดวาระลงในวันที่ 11 ก.ย.ที่จะถึงล่าสุดกระทรวงการคลังได้ตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน จากอดีตข้าราชการระดับสูง ในระดับปลัดกระทรวง และอดีตเลขาธิการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านกฎหมายและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของ ธปท.

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการสรรหาประธานบอร์ด ธปท.ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเปิดเผยว่ากระทรวงการคลังและกรรมการทั้ง 7 คนได้นัดประชุมครั้งแรกในวันที่ 23 ส.ค.นี้ที่กระทรวงการคลัง

โดยการคัดเลือกครั้งนี้มีการตั้งกรรมการสรรหาซึ่งเป็นการแก้ไขกรอบกฎหมายในการได้มาซึ่งประธานบอร์ด ธปท.ที่ได้แก้ไขให้มีการเสนอชื่อของผู้ที่เหมาะสมทั้งจากฝั่งของกระทรวงการคลัง และธปท.ซึ่งมีการแก้ไขในสมัยของมรว.ปรีดียาธร เทวกุล เป็นรองนายกรัฐมนตรี จากเดิมที่ตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท.จะมีการเสนอชื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโดยตรงจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ทั้งนี้ในกรอบระยะเวลาในการสรรหาประธานบอร์ด ธปท.คนใหม่นายสถิตย์กล่าวว่าคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน น่าจะทันภายในวันที่ 11 ก.ย.เนื่องจากมีข้อกฎหมายและคุณสมบัติของผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนี้ชัดเจน และในเรื่องเหล่านี้เราก็ต้องคุยกันตั้งแต่การประชุมครั้งแรก

“ผมคิดว่าใช้เวลาไม่นาน คิดว่าต้องกระชับ ในการประชุมครั้งแรกก็ต้องคุยในเรื่องนี้ว่าคุณสมับัติของผู้ที่จะเสนอเข้ามาเป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติจะต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้างเพื่อที่จะแจ้งไปยังกระทรวงการคลัง และแบงก์ชาติให้ทราบเพราะทั้งสองที่จะต้องเสนอคนที่จะเข้ามาเป็นประธานกรรมการตามสัดส่วน ซึ่งหากจำไม่ผิดสัดส่วนที่จะเสนอเข้ามาคือกระทรวงการคลัง 1 ส่วนและแบงก์ชาติ 2 ส่วน ซึ่งในรายละเอียดพวกนี้ก็จะต้องคุยกับคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งก็มีอดีตเลขาฯกฤษฎีกาอยู่ในกรรมการด้วย”

ไม่กังวลการเมืองแทรกแซง

เมื่อถามว่าในฐานะกรรมการที่จะต้องคัดเลือกประธานบอร์ด ธปท.คนใหม่มีความกังวลเรื่องประเด็นทางการเมืองหรือไม่ เพราะสังคมกำลังกังวลเรื่องการแทรกแซง ธปท.ของรัฐบาลนายสถิตย์ระบุว่าเรื่องนี้ไม่น่ากังวลเพราะการคัดเลือกเป็นเรื่องตรงไปตรงมา เรื่องคุณสมบัติเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ส่วนเรื่องความเชี่ยวชาญนั้นกรรมการก็ต้องพิจารณาตามความรู้ความสามารถ คนที่จะมาเป็นประธานบอร์ด ธปท.ต้องมีความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์เรื่องการบริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินและการลงทุน

นอกจากนี้ในสถานการณ์ปัจจุบันก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างประเทศด้วย

 

พรบ.ธปท.กำหนดคุณสมบัติประธานบอร์ดชัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกเสนอชื่อ การพิจารถาและการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28/2 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยพุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มแคทพระระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 คณะกรรมการคัดเลือกจึงได้กำหนดระเบียบว่าด้วยการประชุมของคณะกรรมการคัดเลือกการเสนอชื่อ การพิจารณา และการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้     

ให้ประธานกรรมการคัดเลือกแจ้งให้ผู้ว่าการและปลัดกระทรวงการคลังเสนอรายชื่อบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ ธปท. ต่อคณะกรรมการคัดเลือก ภายในเวลาที่ประธานกรรมการ คัดเลือกกำหนด โดยให้ผู้ว่าการเสนอเป็นจำนวนไม่เกินสองเท่าและปลัดกระทรวงการคลังเสนอเป็น จำนวนไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนกรรมการที่จะได้รับแต่งตั้ง ตามลำดับ     

บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อตามข้อ 14 ต้องมีสัญชาติไทย และมีอายุไม่กินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ รวมทั้งมีความรู้ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์สำหรับการดำรงตำเเหน่งในคณะกรรมการ ธปท. ได้แก่ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านกฎหมาย ด้านบัญชีหรือด้านอื่นอันจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการของ ธปท.

 

บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อ ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ

(2) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต

(3) เคยใด้รับไทยจำคุกโดยคำพิพากมาถึงที่สุดให้ข้าคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เว้นแต่จะได้พ้นจากตำแหตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(5) เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง เว้นแต่จะได้ฟันจากตำแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(6) เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งใดในสถาบันการเงิน เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งเนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ

(7) เป็นกรรมการหรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือมีส่วมได้เสียอย่างมีนัยสำคัญในนิติบุคคล ซึ่งมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ ธปท. ดังเช่น

(ก) นิติบุคคลที่เข้าเป็นคู่สัญญาทางธุรกิจ หรือกำลังจะเป็นคู่สัญญาทางธุรกิจกับ ธปท. อันมีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดเเย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ธปท.

(ข) นิติบุคคลที่อยู่ภายใต้การกำกับหรือตรวจสอบของ ธปท. เว้นแต่เป็นการดำรงตำแหน่งเนื่องจากมีกฎกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ

(8) เป็นคู่สัญญาหรือเป็นผู้มีส่วนใต้เสียในสัญญาหรือกิจการของ ธปท.อันมีลักษณะที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ธปท. โดยให้ไช้บังคับกับคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติกาวะของบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...