IVL งบ Q2/67 พลิกขาดทุน 2.3 หมื่นล้าน ด้อยค่าสินทรัพย์ถาวรกดดัน

นายโซวิค รอย เชาว์ดูรี่ เลขานุการบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) (IVL) แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า งบการเงินไตรมาสที่ 2/2567 ขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่เท่ากับ 22,995.72 ล้านบาท จากไตรมาสที่ 2/2566 ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่มีกำไร 411.13 ล้านบาท

รวม 6 เดือนแรกปี 2567 ขาดทุนเท่ากับ 21,862.73 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำกำไรได้ 1,434.52 ล้านบาท
 

คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการระบุว่า IVL รายงานรายได้ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเติบโต 5% จากไตรมาสก่อนหน้าและทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา

เป็นผลมาจากการเติบโตของปริมาณยอดขายเพิ่ม 3% จากไตรมาสก่อน และ 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดขายอยู่ที่ 3.64 ล้านตันในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 บริษัทมี Adjusted EBITDA เท่ากับ 370 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เติบโต 1% จากไตรมาสก่อนหน้าแต่ลดลง 11% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกนี้ยังคงได้รับผลกระทบจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่ยังมีต่อเนื่องและสภาวะอัตราดอกเบี้ยที่สูงในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าโดยเฉพาะในจีนและสหรัฐอเมริกาซึ่งสะท้อนจากตัวเลขดัชนีภาคการผลิต PMI ที่อ่อนแอ

รอบระยะเวลาครึ่งปีแรกของปี 2567 ปริมาณยอดขายทั้งกลุ่มธุรกิจเติบโต 2% เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้และ Adjusted EBITDA ลดลง 3% และ 6% ตามลำดับ ยอดขายที่เติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ

และในไตรมาสนี้ ฝ่ายบริหารได้ดำเนินการบันทึกการด้อยค่าและสำรองค่าใช้จ่ายรวม 666 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (รายการที่ไม่ใช่เงินสด จำนวน 543 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) จากการที่บริษัทกำลังปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป การจัดการดำเนินการดังกล่าวนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนของสินทรัพย์

สำหรับส่วนที่ยังคงมีการดำเนินงานและปฏิบัติการต่อไป บริษัทเชื่อว่าในการปรับปรุงสินทรัพย์ที่ยังเหลืออยู่จะไม่ทำให้เกิดการด้อยค่าที่เป็นสาระสำคัญในอนาคต 

การปรับปรุงสินทรัพย์และการตั้งด้อยค่าที่ดำเนินการในไตรมาส 2 ปี 2567 นับเป็นการเตรียมทางให้เกิดพัฒนาการในการดำเนินงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินในระยะถัดไป บริษัทประเมินว่าจะสามารถเริ่มลดต้นทุนคงที่ลงได้ในไตรมาส 3 ปี 2567 การประหยัดต้นทุนคงที่จำนวน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะเริ่มเห็นผลในปี 2568 ซึ่งจะทำให้ EBITDA ดีขึ้นประมาณ 150-160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
มุมมองระยะถัดไปในครึ่งปีหลัง 2567 บริษัทคาดว่าปริมาณยอดขายจะเติบโตต่อไปในทุกกลุ่มธุรกิจ จากการคลี่คลายของสภาวะการเร่งลดสต๊อกระบายสินค้า (destocking) อย่างไรก็ตาม ระดับอัตราส่วนต่างกำไรมาตรฐานของอุตสาหกรรม (benchmark spreads) ยังคงได้รับความกดดัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจ PET และ Polyester Fibers

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...