พาณิชย์ถก 8 หน่วยงาน คุมเข้มสกัดสินค้านำเข้าไม่ได้มาตรฐาน

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาการนำเข้าสินค้าราคาถูกเข้ามาในไทย ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศว่า ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง เช่น ทุกกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์, กรมศุลกากร กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ), กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ),

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ฯลฯ มาหารือเพื่อหาทางแก้ปัญหาเร่งด่วน ซึ่งจะพิจารณาผลกระทบของผู้บริโภค และผู้ประกอบการในไทย โดยคำนึงถึงคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้บริโภคว่า สินค้าที่นำเข้ามามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรองหรือไม่ เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งนี้ ในการพิจารณาการแก้ปัญหานั้น ได้แบ่งสินค้านำเข้าที่วางขายในไทยเป็น 2 รูปแบบ คือ ออฟไลน์ และออนไลน์

 

 

โดยออฟไลน์นั้น ใน 1-2 วันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จะลงพื้นที่ตรวจสอบว่า สินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ที่วางขายในไทยนั้น ทำถูกต้อง ถูกกฎหมายไทยหรือไม่ เช่น มีการจดทะเบียนพาณิชย์ จดทะเบียนนิติบุคคลหรือไม่ สินค้าที่นำเข้ามีคุณภาพ  ได้มาตรฐานหรือไม่ เป็นสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่  เป็นต้น

เพราะจากการสุ่มตรวจสอบ พบว่า ร้านค้าในแหล่งที่มีคนต่างชาติอยู่มาก คนขายไม่ใช่คนไทย ไม่มีวีซ่าเข้าประเทศ ไม่มีใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ หรือจดทะเบียนนิติบุคคลหากพบความไม่ถูกต้อง ก็จะใช้กฎหมายที่มีอยู่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดดำเนินการ โดยต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นการดำเนินการในระยะเร่งด่วน ส่วนระยะกลาง และยาว ก็ต้องมาดูว่า ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใดๆ บ้าง เพื่อให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น

ขณะที่ออนไลน์นั้น  ได้ขอความร่วมมือกรมศุลกากร จัดส่งสินค้า 10 อันดับแรกที่นำเข้าจากต่างประเทศสูงสุดผ่านการซื้อทางออนไลน์ เพื่อดูว่า สินค้านั้น เป็นไปตามาตรฐานหรือไม่ หรือเป็นสินค้าทดแทน หรือเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องนำเข้า รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูว่า แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ที่ให้บริการซื้อขายผ่านทางออนไลน์ในไทยนั้น กฎหมายไทย จะดำเนินการใดๆ ไดบ้าง เช่น กำหนดให้ต้องตั้งสำนักงานตัวแทนในไทย หรือต้องจดแจ้งใดๆ หรือไม่

โดยในเบื้องต้น สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) แจ้งว่า ภายใต้พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลพ.ศ.2565 มาตรา 18 (2) และ (3) กำหนดให้แพลตฟอร์มดิจิทัล ที่แม้ไม่ได้ตั้งอยู่ในไทย แต่มีลูกค้าในไทย หรือมีความเสี่ยงต่อการเงิน การพาณิชย์ หรืออาจกระทบ หรืออาจเกิดความเสียหายต่อสาธารณะชน ต้องมาจดแจ้งข้อมูลกับ ETDA ด้วย

“การซื้อขายผ่านออนไลน์ กำลังดูว่า จะมีมาตรการอะไรมาดำเนินการเพิ่มเติมได้อีก นอกเหนือจากการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับสินค้านำเข้าที่ซื้อผ่านทางออนไลน์ ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1,500 บาท เริ่มตั้งแต่บาทแรก ที่คลังได้จัดเก็บแล้ว”

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

คำเดียวสั้นๆ "แฟนสาวจาค็อบ" พูดต่อหน้า "รถถัง" หลังชวดแชมป์โลก

เผยคำพูด แฟนสาวของ จาค็อบ สมิธ ที่พูดต่อหน้า รถถัง จิตรเมืองนนท์ หลังฟาดปากกันในศึกมวยไทย รุ่นฟลายเว...

กรมวิชาการเกษตร ระดมแผนเตรียมพร้อม ส่งลำไยเจาะตลาดจีน

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไ...

ผลบอล "บาเยิร์น มิวนิก" ไม่พลาด บุกเชือด "ซังต์ เพาลี" รั้งจ่าฝูงบุนเดสลีกา

"เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิก ทำได้ตามเป้า บุกมาเอาชนะ ซังต์ เพาลี เก็บ 3 คะแนนสำคัญ รั้งจ่าฝูง บุนเดสลี...

ส่องขุมทรัพย์ที่ดิน 'รถไฟ' 9.6 หมื่นล้าน จ่อประมูลสร้างรายได้เชิงพาณิชย์

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีทรัพย์สินที่ดินทั่วประเทศจำนวนมาก และยังเป็น...