"แพลนต์เบสฟู้ดส์" หนุนนโยบายไทยเป็นครัวอาหารสุขภาพโลก

 แพลนต์เบสฟู้ดส์ (Plant-based Food) อาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือกที่ใช้วัตถุดิบจากพืชที่ให้โปรตีนสูง กลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ต้องการลดบริโภคเนื้อสัตว์ รวมถึงมีส่วนช่วยในการลดคาร์บอนฯ กลายเป็นเทรนด์อาหารยุคใหม่ ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากแนวโน้มการบริโภคในปัจจุบัน ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมที่ตระหนักถึงสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงความกังวลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหาร  ข้อมูลจาก Euromonitor ระบุว่า ในช่วงปี 2562 – 2567 มูลค่าตลาด Plant-Based Food ทั่วโลก มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) 10.5 % และในปี 2567 คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดประมาณ 25,000 ล้านดอลลาร์

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ( สนค.) กระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า  สำหรับประเทศไทย Krungthai Compass (2020) คาดการณ์ว่า ในปี 2567 จะมีมูลค่า 45,000 ล้านบาท มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีแบบทบต้น (CAGR) อยู่ที่ 10 %  ใกล้เคียงกับอัตราการเติบโตของตลาดโลก

โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ที่ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และจริยธรรมที่มีต่อสัตว์มากขึ้น อีกทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต ประกอบกับในโลกยุคดิจิทัลที่การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว เพิ่มการรับรู้และยอมรับสินค้าชนิดใหม่ ๆ

 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยขับเคลื่อนอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสินค้า Plant-Based Food อาทิ จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารที่ก้าวหน้า

ประกอบกับไทยมีจุดแข็ง มีวัตถุดิบ และมีห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมอาหารที่ค่อนข้างครบวงจรในประเทศ ตั้งแต่การปลูกพืช และส่งต่อถึงการผลิตและแปรรูป อีกทั้งอาหารไทยได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงในระดับโลก จึงทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและการค้าสินค้าอาหารจากพืช

“พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ “ ผู้อำนวยการสนค. กล่าวว่า  ภาพอนาคตสินค้า Plant-Based Food ของไทย มีหลายฉากทัศน์ซึ่งฉากทัศน์ของอนาคตที่เป็นไปได้ (Probable Future) คือ ไทยเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารเพื่อสุขภาพของโลก เป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ภาคการเกษตร รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิต Plant-Based Food ที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ เพื่อยกระดับและสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ไทยยังได้ประโยชน์จากการที่ไทยเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพราะไทยถือเป็นแหล่งของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ รวมทั้งสินค้าอาหาร Plant-Based Food  ของไทยตอบสนอง ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม  ห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร Plant-Based Food ไทย ยังคงต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งด้านการผลิตและแปรรูป ด้านการตลาด ด้านการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านฐานข้อมูล ด้านการลงทุน และด้านกฎหมาย เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการค้าสินค้าเกษตร สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรของไทย และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางอาหาร Plant-Based Food ที่สำคัญของโลก

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อเมริกันดราม่า! กองเชียร์จี้ไบเดนลาออก เปิดทาง ‘ประธานาธิบดีแฮร์ริส’ สู่ทำเนียบขาว

เว็บไซต์ Times Now รายงานว่า แม้แฮร์ริสจะยอมรับความพ่ายแพ้ไปแล้วและขอให้ผู้สนับสนุน “สู้ต่อไป” แต่บร...

อีลอน มัสก์ หนุนทรัมป์แทรกแซง 'เฟด' ชูประเด็น #EndtheFed ให้ปธน.คุมแบงก์ชาติ

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งบริษัทเทสลาและสเปซเอ็กซ์ และเป็นเจ้าของแ...

การกลับมาของวัฒนธรรม Gothic ทางเลือกของ Gen Z ท่ามกลางป๊อปคัลเจอร์

วัฒนธรรมกอธิค หรือโกธิคที่มีรากฐานมาจาก Dark Romantic ความเข้มข้นทางอารมณ์ และการแสดงออกถึงตัวตนที่แ...

คาด 'วันคนโสดจีน' 11.11 ปีนี้ ยอดขายดีขึ้น แต่แบรนด์เนมหรูยังฟื้นยาก

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า เทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งเป็นเทศกาลชอปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในรอบปีของจีน แล...