ชวนรู้จักรถไฟขอนแก่น - หนองคาย ‘สุริยะ’ ลุยประมูลสร้างผลงานแรก

โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 นับเป็นอีกหนึ่งแผนพัฒนาขีดความสามารถการขนส่งทางรางของประเทศ โดยโครงการเหล่านี้ ประกอบด้วย รถไฟทางคู่ 7เส้นทาง รวมวงเงินลงทุนกว่า 2.71 แสนล้านบาท ถูกยกยอดมาจากรัฐบาลก่อนหน้า เพื่อส่งไม้ต่อให้รัฐบาล “เศรษฐา 1” เร่งขับเคลื่อน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุชัดในวาระเข้ากระทรวงคมนาคมเพื่อเริ่มงานวันแรก เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา ประกาศชัดว่านโยบายสำคัญของการบริหารงานในกระทรวงคมนาคมยุคนี้นอกจากจะแก้ไขปัญหาตามที่รัฐบาลมอบหมาย และเป็นไปตามความคาดหวังของประชาชนแล้ว เรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศเป็นอีกหนึ่งเรื่องเร่งด่วน

สืบเนื่องจากระบบโลจิสติกส์ครองสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (GDP) สูงถึง 15% แต่กลับพบว่าในนั้นมีการขนส่งระบบน้ำและรางเพียง 2% ดังนั้นไทยต้องลงทุนพัฒนาโลจิสติกส์เหล่านี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน โดยเฉพาะระบบขนส่งทางรางอย่างรถไฟทางคู่ ต้องมีการปรับปรุงให้ตรงเวลา เพื่อทำให้การขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

“การผลักดันระบบรางเพื่อเพิ่มขีดความสามารถเป็นเรื่องที่ต้องทำ โดยเฉพาะรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น - หนองคาย ที่มีการศึกษาความเหมาะสมและมีความพร้อมในการลงทุนแล้ว ต้องผลักดันให้เกิดการลงทุนจริง นี่คือสิ่งที่ตั้งใจมากที่จะทำ”

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น - หนองคาย สถานะโครงการก่อนหน้านี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ทำการศึกษาโครงการและความเหมาะสมด้านการลงทุนแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคา โดย ร.ฟ.ท.ให้ความสำคัญกับโครงการรถไฟทางคู่สายนี้ เนื่องจากเล็งเห็นว่าจะเป็นโครงการที่ทำให้โครงข่ายทางรางสมบูรณ์และสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางรางระหว่างไทย ลาว และจีน

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ช่วงขอนแก่น - หนองคาย มีระยะทาง 167 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 29,748 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ค่าจ้างที่ปรึกษา สำรวจอสังหาริมทรัพย์ราว 9 ล้านบาท
  • ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 369 ล้านบาท
  • ค่าที่ปรึกษาจัดการประกวดราคาประมาณ 7 ล้านบาท
  • ค่าก่อสร้าง 28,759 ล้านบาท
  • ค่าจ้างควบคุมงานก่อสร้าง 604 ล้านบาท

ขณะที่รูปแบบโครงการจะเป็นงานก่อสร้างระดับโครงสร้างพื้นดิน และทางยกระดับรถไฟ สามารถทำความเร็วในการให้บริการ 100-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงโครงการรถไฟระหว่างประเทศไทย ลาว จีน ในการขนส่งสินค้า และเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟลาว-จีน ที่เป็นรางขนาด 1.435 เมตร (European Standard Gauge) เข้าสู่รางรถไฟไทย 1 เมตร (Meter Gauge) โดยโครงการจะมีสถานีให้บริการรวมทั้งหมด 15 สถานี ย่านกองเก็บและขนถ่ายสินค้า 3 แห่ง ได้แก่

1.สถานีโนนสะอาด

2.สถานีหนองตะไก้

3.สถานีนาทา (จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า Transshipment Yard)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...