ปรับอุตสาหกรรมชิ้นส่วน เริ่มต้นช้าดีกว่าไม่ได้ทำ

ผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ยังไม่เห็นรัฐบาลมีแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 22 อุตสาหกรรมไทยที่ได้รับผลกระทบกรณีสินค้าจีนเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ประกอบด้วย เครื่องจักรกลโลหการ, เครื่องจักรกลการเกษตร, เหล็ก, อะลูมิเนียม, หล่อโลหะ, พลาสติก, ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, เฟอร์นิเจอร์, หัตถกรรมสร้างสรรค์, อาหารเสริมอาหาร, ต่อเรือ ซ่อมเรือเครื่องนุ่งห่มเทคโนโลยีชีวภาพ, แก้ว (อ้างอิงกลุ่มอุตสาหกรรมจาก ส.อ.ท.) ท่ามกลางความกังวลของผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้ ยอดขายชะลอตัว 20-30% ส่วนหนึ่งเพราะผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าราคาถูกกว่าและกำลังซื้อลดลง 

อุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมดั้งเดิม และเป็นการรับจ้างผลิต (OEM) ต้องมีการปรับตัวไปสู่โครงการการผลิตสมัยใหม่ไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (S-Curve & Industry Transformation) ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ พัฒนาเอสเอ็มอีให้เข้าถึงเทคโนโลยีหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งสู่ Carbon Neutrality & Climate Change เพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในสภาวะวิกฤติขาดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจขณะนี้ 

เพราะตั้งแต่ต้นปี 2023 จนถึงไตรมาสแรกของปี 2024 มีโรงงานปิดตัวลงไปแล้วกว่า 1,700 แห่ง กระทบการจ้างงานกว่า 42,000 ตำแหน่ง ส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่มการผลิตเครื่องหนัง การผลิตยาง อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมไม้ และการผลิตเครื่องจักรโรงงานขนาดใหญ่ ขณะที่ตัวเลขการเปิดตัวโรงงานใหม่ชะลอตัวลงเหลือเพียง 50 โรงงานต่อเดือน ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินนโยบายเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในบางกลุ่มสินค้าโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย 

โดยเฉพาะอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ ที่เป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตั้งแต่ต้นปีที่มาผ่านมา ออเดอร์ติดลบจาก 20% เพิ่มเป็น 30% ทำให้บางโรงงานต้องปรับลดกำลังการผลิต ลดการจ้างงานจากเดิมหยุด 2 วัน ก็ปรับมาหยุด 3 วันต่อสัปดาห์ บางบริษัทเข้าโครงการจ่าย 75% เหมือนช่วงวิกฤติโควิด-19 หากเป็นแบบนี้ต่อไปจะส่งผลกระทบเอสเอ็มอีรายเล็กๆ ที่มีเงินหมุนเวียนสำรองไว้ไม่เกิน 3- 6 เดือน

เมื่อนั้นการปิดตัวโรงงานก็จะเพิ่มมากขึ้น ภาครัฐควรจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไปสู่อุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงอยู่รอดได้ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์, หุ่นยนต์, ชิ้นส่วนอากาศยาน, ชิ้นส่วนระบบรางและอาฟเตอร์มาเก็ต แม้ว่าอาจจะเริ่มต้นช้าไปแล้วแต่ก็ดีกว่าไม่ได้เริ่มต้น 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...