"Pop Mart" - "น้องหมีเนย" เบื้องหลังความฮิตติดกระแส

เมื่อมองย้อนในอดีตก็จะมีหลายปรากฏการณ์ความฮิตที่ติดกระแส ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสายมูอย่างเช่น จตุคาม หรือ ไอ้ไข่ สายของเล่น เช่น ตุ๊กตาไบลธ์ หรือ ทามาก็อตจิ เป็นต้น

เมื่อมองในมุมธุรกิจแล้ว ถ้าสินค้าหรือบริการของตนสามารถฮิตติดกระแสได้ ย่อมนำไปสู่ทั้งการเติบโตของธุรกิจ ยอดขาย และกำไร 

กลยุทธ์เพื่อให้สินค้าหรือบริการฮิตติดกระแส จะต้องเริ่มจากการสาเหตุที่ทำให้สินค้าหรือบริการฮิตติดกระแสได้ ซึ่งหลักๆ แล้วประกอบด้วย

1. Social Proof และ FOMO - เป็นสองแนวคิดที่มักจะมาคู่กัน โดย Social Proof เป็นแนวคิดที่ระบุว่าคนจะอาศัยผู้อื่นหรือสังคม เพื่อชี้นำถึงพฤติกรรมตนเอง

เมื่อสินค้าหรือบริการใดเริ่มเป็นที่นิยม ย่อมเป็นเสมือนการพิสูจน์ถึงสิ่งที่ดี เกี่ยวกับสินค้าบริการนั้น ส่วน FOMO หรือ Fear of Missing Out เป็นสภาวะที่กลัวว่าตนเองจะล้าหลัง ไม่ทันสมัย เหมือนผู้อื่น ต้องการที่จะอยู่ในกระแสและมีความทันสมัยด้วย

2. สนใจอยากลองของใหม่ - ธรรมชาติของคน จะมีความสนใจ อยากลองในสิ่งใหม่ เมื่อมีสิ่งใหม่ที่เริ่มฮิตติดกระแส ก็จะทำให้คนมีความสนใจ ตื่นเต้นที่จะได้ใช้ ได้ทดลอง จึงไม่แปลกใจว่าทำไมจึงมักจะปรากฎการณ์ต่อคิวเข้าร้านอาหารหรือซื้อขนมที่เพิ่งออกใหม่และกำลังฮิตติดกระแส

3. อิทธิพลจากอินฟลูเอนเซอร์ และผู้มีชื่อเสียง - คนจะได้รับอิทธิพลจากบุคคลอื่นที่มีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือ ยิ่งบุคคลนั้นเป็นอินฟลูเอนเซอร์ที่ดีงาม ความดีงามของบุคคลผู้นั้นก็จะถูกแพร่ไปยังสินค้าหรือบริการที่ใช้ด้วย ตัวอย่างชัดเจนสุดคือกรณีของลิซ่า ที่ไม่ว่าจะหยิบจับหรือใช้สินค้าตัวไหนก็ทำให้สามารถฮิตติดกระแสได้

4. ทำให้มีตัวตนและเป็นที่ยอมรับ - มาจากแนวคิดว่าคนต้องการได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น ดังนั้นถ้าบุคคลอื่นในกลุ่มหรือสังคมกำลังฮิตในเรื่องใด การที่ฮิตในสิ่งนั้นด้วยก็เป็นการยืนยันถึงความมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มหรือสังคมด้วย

อย่างไรก็ดีใช่ว่าเมื่อมีสิ่งใดฮิตติดกระแสแล้ว ผู้บริโภคทุกคนจะตอบสนองเหมือนกันหมด

สามารถแบ่งผู้บริโภคตามการตอบสนองออกได้เป็นอีก 4 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย

1) Early Adopters ที่จะเป็นคนแรกๆ ที่เกาะกระแสฮิตก่อนคนอื่น เป็นพวกมีอะไรใหม่ที่ทำท่าจะฮิต จะต้องเป็นรายแรกๆ ที่รู้จักและใช้ก่อน

2) Followers เป็นกลุ่มที่รอจนเห็นความฮิตที่เกิดขึ้นจริง ถึงจะเริ่มเข้าไปใช้ เป็นกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 

3) Skeptics จะมองกระแสใหม่ๆ ด้วยความสงสัย และต้องการหลักฐานหรือข้อมูลยืนยืนที่ชัดเจนก่อน ว่าสิ่งใหม่นั้นมีคุณค่าและประโยชน์จริงๆ

4) Rejecters เป็นพวกที่ปฏิเสธต่อกระแสใหม่ อาจจะเนื่องจากมีความต้องการส่วนตัวที่ชัดเจน ไม่ต้องการเดินตามกระแส หรือ อาจจะเป็นพวกต่อต้านกระแสเลยก็ได้

ในมุมของธุรกิจนั้น นอกจากรอเป็นฝ่ายรับให้มีกระแสก่อน ก็ควรจะปรับมุมมอง เป็นการสร้างความฮิตติดกระแสให้เกิดขึ้นกับสินค้าและบริการของตนให้ได้ ซึ่งจะต้องเน้นในการศึกษาและทำความเข้าใจต่อพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ก็จะต้องให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยเช่นกัน 

น่าจับตาดูว่าหลัง Pop Mart และน้องหมีเนยแล้ว ในไทยจะมีปรากฏการณ์ใดอีกที่ฮิตติดกระแสต่อมา และเจ้าของผลิตภัณฑ์มีแนวทางในการสร้างความฮิตได้อย่างไร.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...