ปล่อยผ่านหรือ

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ผุดขึ้นมาในช่วงการประชุมบอร์ดการกีฬานัดส่งท้ายของรัฐบาลชุด “ลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มี “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นประธานบอร์ดการกีฬาฯ และ กองทุนฯ

กับการขาดเงิน ขาดงบประมาณในการจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ทางเรียบชิงแชมป์โลก หรือ “โมโตจีพี 2023” ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 ในเมืองไทย กำลังจะเกิดขึ้นในอีกเพียงไม่ถึง 2 เดือนดี ที่สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ระหว่าง 27-29 ต.ค.นี้ จำนวน 150 ล้านบาท

และเป็นที่ทราบกันดีว่า “โมโตจีพี” เกมนี้ มีความสำคัญยิ่งและเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทยที่ดังไปทั่วโลก แม้ว่าที่ผ่านมาแต่แรกๆก็มีเสียงตำหนิบ้าง สงสัยบ้างในความคุ้มค่ากับจำนวนเงินค่าลิขสิทธิ์ที่ต้องจับจ่ายและใช้สอยในการจัดที่สูงลิ่ว แต่สุดท้ายก็ค่อยๆหายไป และมีการต่อสัญญาให้ไทยจัดต่อไปอีกหลายปี ก็ด้วยความยิ่งใหญ่ และสำคัญของเกมนั่นแหละ ทำให้ส่วนรวมก็ได้ประโยชน์อย่างไม่มีข้อกังขา

เมื่อโมโตจีพีเคยจัดแล้ว จัดอยู่ และจะจัดต่ออีกนาน จึงไม่น่าเป็นปัญหา เกิดข้อขัดข้อง ในส่วนของงบประมาณที่ต้องตั้งและต้องเตรียมกันล่วงหน้า เปรียบเป็นงานประจำอยู่แล้ว

แต่ทำไมมาเป็นเรื่องและปูดออกมาเป็นประเด็นในช่วงรอยต่อของรัฐบาลที่กำลังเปลี่ยนมือ

ยิ่งเหตุผลประกอบที่พูดกันถึงการขาดงบ พาดพิงไปถึงการไม่อนุมัติเงินของกองทุนฯ ซึ่งกองทุนก็มี พล.อ.ประวิตรเป็นประธานบอร์ด โยงไปถึงการเห็นค้านของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีงบประมาณ การขอกรอบวงเงินไม่สามารถทำได้ทันในไตรมาสที่ 3 แถมมีความเห็นของประธานบอร์ดกองทุนฯที่บอกว่าควรจะเอาเงินจากสปอนเซอร์แทน

ต้องไม่ลืมว่าโมโตจีพีนั้นไม่ใช่เพิ่งจัดครั้งแรก มีประสบการณ์ มีแบบปฏิบัติมาก่อน มีวาระล่วงหน้าชัดเจน และรู้มานานมากแล้ว ไม่เป็นเรื่องปุ๊บปั๊บกะทันหัน!

แม้ว่าต่อมานายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงแต่แรกๆหลังมีข่าวออกมา ก่อนผู้ว่าการ กกท. ดร.ก้องศักดิ ยอดมณี จะแก้ปัญหาด้วยการใช้งบประมาณของ กกท.เอง โดยเกลี่ยงบประมาณประจำปี 2566 และ 2567 เพื่อนำมาใช้จัดงาน ซึ่งทาง กกท.ก็ได้จัดประชุมเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้าใจ และความเชื่อมั่นไปเมื่อวันวาน

ดูเหมือนทุกอย่างจะจบลงง่ายๆเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น

แต่จะปล่อยผ่าน ลืมๆกันไปหรือไม่

โดยเฉพาะทีมงานกีฬาของรัฐชุดใหม่ ไล่ตั้งแต่หัวขบวน นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน มาถึง รมต.การท่องเที่ยวและกีฬา สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล และรวมถึงบอร์ดการกีฬาและบอร์ดกองทุนที่ต้องมีการเปลี่ยนใหม่ตามธรรมเนียมปฏิบัติ

ควรหาทางทำความเข้าใจถึงปัญหาที่ผ่านมา ไม่เฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ ยังมีอีกมากมายหลายประเด็นที่อาจมาจากรากฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเกี่ยวกับ โครงสร้าง กลไก ระบบ หรือแม้แต่ตัวบุคคลที่ฉุดรั้งในหลายเรื่อง หลายมิติ ทำให้การพัฒนากีฬาไม่ไหลลื่น ซ้ำยังขัดกันแบบไม่น่าเกิดขึ้น

อะไรเป็นปัญหา ต้องขจัดปัดเป่า

เข้ามาทำงานต้องเข้าใจให้ถ่องแท้และแก้ให้ตรงจุด จะได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างราบรื่น และเกิดประโยชน์สูงสุด...

“เบี้ยหงาย”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...