'พลังงาน' เปิดแผน 'ลดค่าไฟ' ทุก 1 สต.แลกแบกหนี้ 600 ล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า จากรายงานตัวเลขต้นทุนที่แท้จริงค่าไฟฟ้างวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 จะอยู่ที่หน่วยละ 4.07 บาท ซึ่งจามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรียกเก็บค่าไฟที่หน่วยละ 4.45 บาท นั้น เพื่อคืนหนี้ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประมาณหน่วยละ 38 สตางค์ คิดเป็นเงินประมาณ 600 ล้านบาทต่อ 1 สตางค์ ในยอดรวม 1 งวด หรือจะอยู่ที่ประมาณ 22,800 ล้านบาท ซึ่งหากค่าไฟเหลือ 4.25 บาท กฟผ. จะรับคืนราวหน่วยละ 18 สตางค์ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม จากรายงานของกกพ. ระบุว่า กฟผ. เสนอลดการยืดหนี้มาได้เพียงเท่านี้ กกพ. จึงทำตัวเลขให้ได้ออกมาเรียกเก็บประชาชนที่หน่วยละ 4.45 บาท ดังนั้น หากนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อยากให้ลดอัตราค่าไฟฟ้าให้ได้มากกว่านี้ก็สามารถทำได้ โดยหารือกับกฟผ. และออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาให้กฟผ. ยืดหนี้ออกไปอีก และรัฐบาลก็จะต้องเข้าไปดูแลกฟผ. แทน

รอการเมืองเคาะราคาค่าไฟฟ้า 

“ทีมข้าราชการก็มีหน้าที่ดำเนินงานเตรียมแผนงานไว้ให้เลือกในหลักความเป็นจริง ดังนั้น การลดค่าไฟฟ้างวดสุดท้ายของปี 2566 จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะตัดสินใจ ดังนั้น ตัวเลขราคาหน่วยละ 4.07-4.45 บาท ท่านรมว. ก็สามารถเลือกได้ว่าอยากได้ตัวเลขที่เท่าไหร่ แล้วสั่งกฟผ. ให้รับในจำนวนดังกล่าว”

แหล่งข่าว กล่าวว่า โดยหลักการความเป็นจริงที่กระทรวงพลังงานมอง หากยึดตัวเลขหน่วยละ 4.07 บาท ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว เพราะจากรายงานราคาก๊าซนำเข้า LNG มีราคาลดลง แต่ช่วงปลายปีก็จะเริ่มแพง ดังนั้น หากจะให้ตัวเลขสวย และคงราคาค่าไฟฟ้าไว้ในระยะยาวถึงปีหน้า ควรอยู่ที่หน่วยละ 4.20-4.30 บาท เพื่อรักษาราคาค่าไฟในระยะยาว โดย กฟผ. ยังได้คืนมาบ้างนิดหน่อยและแบกภาระไม่มาก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการแก้ปัญหาราคาค่าไฟที่สำคัญคือ ต้องรีบเพิ่มกำลังผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพราะจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยในเรื่องของภาระค่าใช้จ่ายที่น้อยลง เพราะหากเพิ่มกำลังผลิตขึ้นมาไม่ได้ ก็จะแบกค่าใช้จ่ายไว้อย่างนี้อีกต่อไป ซึ่งการแก้ปัญหาในเบื้องต้นแบบเร่งด่วนก็คือ รัฐบาลจะต้องดูตัวเลขเองว่าจะให้ค่าไฟอยู่ที่เท่าไหร่ ซึ่งกฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลถือหุ้น 100% และรัฐบาลอยากให้รับไว้ก่อนก็ได้ แต่ต้องดูว่าสถานะรับได้เท่าไหร่ และต้องดูราคาในระยะยาวแทนที่จะดูราคาในงวดนี้งวดเดียว

ราคาเหมาะสมหน่วยละ4.20-4.30บาท

“ส่วนตัวมองว่าราคาหน่วยละ 4.20-4.30 บาท น่าจะเป็นค่าไฟที่ได้ในระยะยาว กฟผ. อาจรับบ้างนี้หรืองวดหน้าก็พอได้ หากจะช่วยเหลือเป็นกลุ่มอีก รัฐบาลก็จะต้องหาเงินมาเหมือนเดิม จึงมองว่าน่าจะช่วยราคาครอบคลุมทั่วไปดีกว่า ทั้งนี้ ปัจจุบัน กฟผ. ยังคงแบกภาระค่า FT ที่ราว 1.35 แสนล้านบาท ถ้างวดนี้ได้คืนปกติจะเหลือราว 1.1 แสนล้านบาท ถ้าไม่ได้คืนจะเหลือเท่าเดิม อาจบวกลบนิดหน่อยเพราะงวดก่อนหน้ายังไม่ได้มาคิด และยังไม่ได้มีการบวกลบกันจริงจัง”

นอกจากนี้ ประเด็นที่ภาคเอกชนตั้งสมมติฐานว่าจะลดราคาค่าไฟลงมากกว่านี้ โดยการไปซื้อ LNG มาก่อนนั้น ในการดำเนินธุรกิจแล้วเป็นไปได้ยาก ไม่มีคนขาย เพราะการไปซื้อตอนที่ราคาถูก เพื่อให้ส่ง LNG มาในช่วงที่ราคาแพงจะไม่มีนักธุรกิจที่ไหนยอมส่งให้ ซึ่งทุกอย่างจะต้องมีสัญญา นอกเสียจากจะซื้อมาในช่วงราคาถูกและเก็บในคลัง ซึ่งปัจจุบันคลังจัดเก็บยังมีน้อย

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทิศทางในไตรมาส 4 มีสัญญาณในการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศตะวันตก และยังมีปัจจัยจากซาอุดิอาระเบียที่จะขยายเวลาการลดกำลังการผลิตที่ต้องติดตามใกล้ชิด รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก

แหล่งเอราวัณยังผลิตได้ไม่เต็มที่

“ราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) เอทานอลในช่วงไตรมาส 4 ภาพรวมคาดว่าจะสูงขึ้น ยกเว้นในส่วนของไบโอดีเซล (B100) ที่มีทิศทางลดลงจากตลาดโลกมีความเข้มงวดในเรื่องของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

สำหรับการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้น 6 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-มิ.ย.66) ของไทยอยู่ที่ 678 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ลดลง 4.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากปัจจัยหลักคือแหล่งน้ำมันดิบทานตะวันที่ลดลงถึง 30% และแหล่งก๊าซเอราวัณ (G1/61) จากการหารือร่วมกับ ปตท.และ กกพ. วางเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 600 ล้านลูกบาศหก์ฟุตต่อวันในสิ้นปี คงจะอยู่เท่าเดิมที่เพียง 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ก็ได้รับคำยืนยันว่าภายในเม.ย.2567 จะเพิ่มเป็น 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้น ปลายปีที่ไม่เป็นไปตามแผนต้องนำเข้า LNG เข้ามาแต่ปริมาณเท่าใดคงจะต้องดูว่าทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะไปเร่งการผลิตในแหล่งอื่นๆ มาเสริมได้มากน้อยเพียงใดด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...