รายงานผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ปรากฏการณ์กีฬาไทยในครึ่งปีแรก 2567”

รายงานผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง “ปรากฏการณ์กีฬาไทยในครึ่งปีแรก 2567”

นับจากครึ่งปีแรก 2567 พบว่าวงการกีฬาไทยมีปรากฎการณ์และความเคลื่อนไหวในหลากหลายมิติ เพื่อสะท้อนมุมมองของแฟนกีฬา KBU SPORT POLL มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตโดยความร่วมมือของศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์กับสาขาวิชาการบริหารนวัตกรรมการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์จึงสำรวจคิดเห็นเรื่อง “ปรากฎการณ์กีฬาไทยในครึ่งปีแรก 2567” 

สำหรับการสำรวจดังกล่าวดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน -1 กรกฎาคม 2567 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนทั่วไปซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 1,003 คนโดยแบ่งเป็นเพศชาย 702 คน คิดเป็นร้อยละ 70.00 เพศหญิง 301 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00 ซึ่งผลการวิเคราะห์ในประเด็นต่างๆโดยภาพรวมพบว่า

ปรากฎการณ์ที่ส่งผลให้น่าสนใจและติดตาม กลุ่มอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 29.10 นักกีฬาทีมชาติไทยสร้างผลงานและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ รองลงมาร้อยละ 24.90 การเลือกตั้งนายกสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ร้อยละ 17.60 การเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยละ 16.10 รัฐบาลกับการขับเคลื่อนนโยบายสนับสนุนการกีฬาของประเทศ ร้อยละ 8.30 สังคมไทยตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬาและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น และอื่นๆร้อยละ 4.00

พัฒนาการโดยรวมของนักกีฬาทีมชาติไทย ส่วนใหญ่ร้อยละ 46.50 ดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 43.20 คงเดิม ร้อยละ 6.10 ถดถอย และ ร้อยละ 4.20 ต้องปรับปรุง 

ชนิดกีฬาที่สร้างผลงานเข้าตาประชาชน  อันดับ 1 ร้อยละ 78.90 วอลเลย์บอลหญิง อันดับ 2 ร้อยละ 52.60 ฟุตซอล อันดับ 3 ร้อยละ 47.40 ฟุตบอล/เทควันโด อันดับ 4 ร้อยละ 42.10 แบดมินตัน/กรีฑา/มวยสากล/ยกน้ำหนัก อันดับ 5 ร้อยละ 36.80 ตะกร้อ/จักรยาน/มวยไทยสมัครเล่น/กอล์ฟ  

ผศ.ดร.รัฐพงศ์ บุญญานุวัตร ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการสำรวจดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างสนใจและติดตามผลงานนักกีฬาไทยกับการเข้าร่วมการแข่งขันในรายการต่างๆอย่างต่อเนื่องซึ่งต่อกรณีนี้คงจะส่งผลให้นักกีฬามีขวัญกำลังใจและตื่นตัวในการที่จะพัฒนาตนเองและพร้อมที่จะสร้างผลงานให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันหากพิจารณาถึงมุมมองที่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าพัฒนาการโดยรวมของนักกีฬาทีมชาติไทยดีขึ้นนั้นในมิตินี้ก็คงจะสอดคล้องกับผลงานของนักกีฬาในหลากหลายชนิดที่สามารถจับต้องได้เป็นรูปธรรมในเชิงประจักษ์ และที่สำคัญถึงแม้ว่าบางชนิดกีฬาผลงานอาจจะยังไม่เข้าตาประชาชนมากนัก แต่คาดว่าในครึ่งปีหลังซึ่งกำลังจะมีเกมกีฬาระดับโลกอย่างปารีสเกมส์ 2024 รวมทั้งระดับเอเชียและนานาชาติที่รออยู่ก็หวังว่านักกีฬาและสมาคมกีฬาต่างๆภายใต้การสนับสนุนของภาครัฐและเอกชนคงจะได้เร่งพัฒนาและยกระดับให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จดังที่ทุกภาคส่วนคาดหวังกันต่อไป

ฝ่ายสื่อสารและกิจการสังคม ศูนย์นวัตกรรมการพัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต รายงาน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...