สทท. เปิด 3 ซีนาริโอ ‘รายได้ท่องเที่ยวไทย’ ปี 67 จะไปถึง 3.5 ล้านล้านหรือไม่?

นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) กล่าวว่า จากเป้าหมายรัฐบาลต้องการสร้างรายได้การท่องเที่ยวจากทั้งตลาดในและต่างประเทศรวม 3.5 ล้านล้านบาทในปี 2567 สามารถทำได้

ปัจจัยอยู่ที่นโยบายรัฐ และความพร้อมของด้านซัพพลาย (Supply Side) รัฐบาลชุดนี้ได้ขับเคลื่อนเชิงนโยบายที่ได้ผลหลายอย่างเช่น มาตรการขยายวันพำนักแก่นักท่องเที่ยวจาก 93 ประเทศที่ได้รับการยกเว้นวีซ่า (Visa-Free) จากเดิมไม่เกิน 30 วัน เป็นไม่เกิน 60 วัน รวมถึงการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์เพื่อการท่องเที่ยว การส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ การผลักดันให้เกิดเมกะอีเวนต์ (Mega Event) ต่างๆ และการส่งเสริมเมืองรองให้เป็นเมืองน่าเที่ยวผ่านมาตรการภาษี

นางฉลอง สงล่า ประธานสมาคมสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย ( TFOPTA) กล่าวว่า TFOPTA เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการในต่างจังหวัดกว่า 100 สมาคม ส่วนใหญ่มาจาก 55 เมืองรอง ซึ่งวันนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลสนับสนุนให้เป็นเมืองน่าเที่ยว และมีนโยบายส่งเสริม เช่น มาตรการภาษีกระตุ้นสัมมนาในประเทศสำหรับนิติบุคคล และกระตุ้นการท่องเที่ยวสำหรับบุคคลธรรมดา 15,000 บาท สมาชิก TFOPTA คือ เจ้าของสินค้าและบริการในท้องถิ่น สิ่งที่ท้าทายคือเราต้องพัฒนาสินค้าให้สะดวก สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรม จุดอ่อนของเมืองรอง คือ ความสะดวกในการเดินทาง ความพร้อมของบุคลากรและแหล่งท่องเที่ยว  และการยังไม่เป็นที่รู้จักของทั้งนักท่องเที่ยวและ Travel Agency ดังนั้นเราต้องการ 4 เรื่อง คือ การฝึกอบรมและ Workshop สร้าง 5 Must do 55 เมือง บัสทัวร์ทั่วไทย 5,000 เที่ยวส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามภาค 5 ภาค การจัดมหกรรมท่องเที่ยว 5 ภาค และการจัด Fam Trip แนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเมืองน่าเที่ยวให้กับ Agent และ Influencer

นายกิตติ พรศิวะกิจ ประธาน Smart Tourism สทท. และกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า จำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีแรกถือว่าทำได้ตามเป้าที่ 17.5 ล้านคน ความท้าทายอยู่ที่ครึ่งปีหลัง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 3 ซีนาริโอ ดังนี้

  • Worse Case ถือเป็นรายได้ขั้นต่ำที่ต้องทำให้ได้ 2.7 ล้านล้านบาท มาจาก 36 ล้านคน ค่าใช้จ่าย 50,000 บาท ต่อคนต่อทริป จะได้ 1.8 ล้านล้านบาท และไทยเที่ยวไทย 200 ล้านคนครั้ง ค่าใช้จ่าย 4,500 บาทต่อคนต่อทริป = 0.9 ล้านล้านบาท
  • Base Case เป้าท้าทายที่เป็นไปได้ 3 ล้านล้านบาท มาจาก 38 ล้านคน ค่าใช้จ่าย 50,000 บาทต่อคนต่อทริป จะได้ 1.9 ล้านล้านบาท และ 220 ล้านคนครั้ง ค่าใช้จ่าย 5,000 ต่อคนต่อทริป จะได้ 1.1 ล้านล้านบาท จากไทยเที่ยวไทย เป้านี้ถือว่าท้าทาย แต่มีโอกาสทำได้สูง เราควรตั้งเป้าหมายที่ 3.02 ล้านล้านบาทถือเป็นนิวไฮ (New High) เพราะเราเคยได้ 3.01 ล้านล้านบาทในปี 2562
  • Best Case เป้าหมายสูงสุด 3.5 ล้านล้านบาท ที่ทำได้จาก 40 ล้านคน ค่าใช้จ่าย 56,000 บาทต่อคนต่อทริป จะได้ 2.24 ล้านบาทและ ไทยเที่ยวไทยอีก 1.26 ล้านบาท = 229 ล้านคนครั้ง ค่าใช้จ่าย 5,500 บาทต่อคนต่อทริป

 

ดังนั้น โจทย์ที่ต้องทำเพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ได้แก่

1. เติมจำนวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ 4 ล้านคน จาก 36 เป็น 40 ล้านคน

2. เพิ่มค่าใช้จ่ายนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อคนต่อทริป จาก 50,000 เป็น 56,000 บาท

3. เพิ่มจำนวนทริปและค่าใช้จ่ายตลาดไทยเที่ยวไทย

นายชำนาญ กล่าวเสริมว่า เพื่อเพิ่มรายได้จาก 2.7 ล้านล้านบาท เป็น 3.5 ล้านล้านบาท ยุทธศาสตร์ที่ สทท. เสนอต่อภาครัฐ มีดังนี้

1. เติมนักท่องเที่ยวต่างชาติ  4 ล้านคน ระยะสั้น 1.5 ล้านคน ใน Q3 เช่น ตะวันออกกลาง อินเดีย จีนและคนเชื้อสายจีน อาเซียน และออสเตรเลีย / Q4 2.5 ล้านคน ในช่วงไฮซีซัน  โดย Mega Event, Joint Promotion และ Influencer

2. เพิ่ม Spending โดยเพิ่มวันพัก เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อวัน เราต้องหากิจกรรมเสริม เติมเมืองน่าเที่ยว เติมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ กีฬา ชุมชน สิ่งแวดล้อม อาหาร ผลไม้ สินค้าของฝาก OTOP / GI ผ่าน Softpower ต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อเพิ่มรายได้ 12%

3. เพิ่มรายได้ไทยเที่ยวไทย ด้วย บัสทัวร์ทั่วไทย รัฐทัวร์ทั่วไทย อบท.เที่ยวช่วยชาติ และ Digital Wallet เพื่อการท่องเที่ยวในประเทศ เพิ่มรายได้ 250,000 ล้านบาท ได้ในปีนี้

4. เพิ่มพันธมิตรทางการตลาด โดยสร้าง Thailand Team  29 สำนักงาน ททท. ร่วมมือกับ 10 เอเย่นต์ ช่วยกันทำตลาดเชิงรุก-เชิงรับ ร่วมกับ 100 คลังสมองท่องเที่ยวไทย

5. เพิ่มศักยภาพบุคลากรและผู้ประกอบการ ด้วย Tourism Clinic เช่น อบรมมัคคุเทศก์และ facilitator สำหรับ Medical & Wellness การฝึกอบรมภาษาอาหรับ จีน รัสเซีย เกาหลี ฯลฯ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและธุรกิจท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์ Mega Trend การบริหารการเงินและภาษี  การใช้เทคโนโลยี AI & Cloud เพื่อการท่องเที่ยว การยกระดับสู่ Tourism Development Goal (STG) เป็นต้น

6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวในระยะยาว เพื่อผลักดันดัชนี TTDI จากอันดับที่ 47 สู่ 25 ของโลก โดยใช้กองทุนท่องเที่ยวฯ เพื่อซ่อมสร้างคนและแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับมาตรฐาน ความปลอดภัย ห้องน้ำสะอาด ป้ายบอกทาง ร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...