‘เศรษฐา’จ่อนั่ง ‘หัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล’ แบ่งงานรองนายกฯหลังแถลงนโยบาย

วานนี้ (5 ก.ย.) ภายหลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง นำคณะรัฐมนตรี (ครม.) เข้าถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนปฏิบัติหน้าที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครม.ได้มีการถ่ายรูปหมู่ร่วมกันและได้มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนที่ทำเนียบรัฐบาลเป็นครั้งแรกว่าตนได้นำ ครม. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อถวายสัตย์และปฏิญาณเป็นที่

เรียบร้อยแล้ว ตนและครม. จะน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการต่อไป ขอยืนยันว่ารัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของประชาชนและทุกท่านที่มาในวันนี้มาที่นี่ มาเพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนทุกคน รัฐบาลนี้เรามีความตั้งใจ เพราะปัญหามีมากมาย เราจะทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยทุกวัน ทุกนาที เราจะเอาความต้องการของประชาชนทุกคนเป็นที่ตั้ง เริ่มจากวันที่ 8 ก.ย.นี้ ตนจะลงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จ.อุดรธานี และจ.หนองคาย เพื่อพูดคุยรับทราบปัญหาของประชาชนทุกคน เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไปและสัปดาห์หน้าในวัน 11 ก.ย.จะมีการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา

“เราจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข โดยการฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ โปร่งใสภายใต้หลักการที่มีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งรัฐบาลจะสร้างโอกาสความเท่าเทียมให้กับประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนในอนาคต”

เมื่อถามว่าการประชุมครม.นัดพิเศษในวันที่ 6 ก.ย. เป็นการประชุมเรื่องอะไร นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นเรื่องการเตรียมตัวแถลงนโยบายในวันที่ 11 ก.ย.

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ จะเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเองหรือไม่ เพราะปัญหาเศรษฐกิจตอนนี้ค่อนข้างจะเยอะ นายเศรษฐา กล่าวว่า เรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งรัฐบาลนี้ทุกท่านให้ความสำคัญ ขอไปพูดคุยกันภายในพรรคร่วมรัฐบาลก่อน เพราะหลายคนอาจจะมีความคิดที่ดีและจะแจ้งให้ทราบ 

เมื่อถามว่า เป็นห่วงงบประมาณล่าช้าหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ตนและรัฐมนตรีทุกท่านที่ยืนอยู่ ณ ที่นี้ทราบถึงปัญหานี้ และคิดว่าคงไม่เป็นอุปสรรคใดๆในการบริหาร อะไรทำได้ก่อน เราจะทำทันที 

เมื่อถามว่า นโยบายแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่น จะอยู่ใน 100 วันแรกที่รัฐบาลจะทำได้ใช่หรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ยังไม่เคยบอกว่า 100 วัน แต่จะพยายามทำให้ได้เร็วที่สุด คิดว่าไม่เกินไตรมาสแรกของปีหน้า ยืนยันว่าอย่างไรก็ต้องทำ และเป็นการจ่ายรวดเดียวหนเดียวไม่ใช่ทยอยจ่าย 

เมื่อถามว่า นายกฯ เป็นผู้นำรัฐบาลความหวังของประชาชน ได้ตั้งเป้าไว้หรือไม่ภายใน 1-2 ปีประชาชนจะมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น นายเศรษฐา กล่าวว่า เป็นคำถามที่ประชาชนทุกคนอยากจะทราบ วันนี้เรื่องปัญหาปากท้องเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่ประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ทุกวัน

“มั่นใจว่า รัฐมนตรีทุกท่านจะทำงานอย่างหนักพยายามเข็นนโยบายออกมา เพื่อเป็นประโยชน์ให้ประชาชนทุกคน บางอย่างทำได้เร็ว บางอย่างทำได้ช้า และจะไม่เอามาเป็นข้ออ้างในการไม่ทำทั้งหมด อะไรที่ทำได้เร็วเราจะรีบทำก่อน”

นายกฯนั่งหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาล

ายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจากการที่ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีทราบว่าท่านนายกฯจะเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง เพื่อดูภาพรวมของเศรษฐกิจของประเทศ โดยกระบวนการตอนนี้เรารอในเรื่องของการแถลงนโยบายโดยหลังจากแถลงนโยบายการแบ่งงานด้านต่างๆจะมีความชัดเจนขึ้น

เมื่อถามว่าเรื่องการลดราคาพลังงานทั้งเรื่องราคาน้ำมันและไฟฟ้าจะนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ครั้งแรกหรือไม่ นายจุลพันธ์กล่าวว่ารัฐบาลได้วางแผนไว้แบบนั้น โดยความชัดเจนจะอยู่ที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน โดยท่านได้รับทราบในปัญหาแล้วจะนำเรื่องที่เป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ต่อไป

"พีระพันธุ์" แจงแนวทางลดราคาพลังงาน

ต่อมานายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน กล่าวว่า ในการประชุมคณรัฐมนตรีนัดแรกหลังแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเสร็จสิ้น จะเป็นไปตามที่นายเศรษฐาบอกไปแล้วว่าจะพิจารณาปรับลดราคาพลังงาน น้ำมันและไฟฟ้า เท่าที่ดูเบื้องต้นโครงสร้างของราคาพลังงานทั้งหลาย โดยมี 2 ส่วน บางส่วนอยู่เหนือการควบคุม เช่น ราคาก๊าซ ซึ่งปรับลดในส่วนนั้นไม่ได้ แต่ในโครงสร้างราคาทั้งหมด มีหลายส่วนที่จะไปดู เบื้องต้นสามารถปรับลดได้อย่างแน่นอน

“หลังจากแถลงนโยบายเสร็จ และมีการประชุม ครม.นัดแรกก็ต้องมีมาตรการออกมา ซึ่งนายกฯ และกระทรวงพลังงานได้เตรียมการเรื่องนี้แล้ว ส่วนเรื่องของรูปแบบในการช่วยเหลือประชาชน อันดับแรก เพื่อให้เกิดความรวดเร็วจะใช้โครงสร้างเดิมก่อน ดูว่าส่วนไหนสามารถปรับลดลงไปได้ เพราะโครงสร้างราคาต่างๆ เหล่านี้ ประกอบไปด้วยหลายส่วน ส่วนไหนที่ปรับลดได้ก็ปรับลด ปรับลดราคาสุดท้ายที่ขาย เพียงแต่รัฐต้องยอมเสียสละในส่วนที่เคยได้อยู่ออกไป”

ส่วนจะใช้งบประมาณหรือวิธีการกู้ยืมมาแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องที่กำลังพิจารณาอยู่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ก็ต้องเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด และคุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญ เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง พยายามหาทางลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน หลักเกณฑ์ต่างๆ ของรัฐบาล คือ การไม่ไปสร้างอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ หรือการดำรงชีวิตของประชาชน ต้องเป็นรัฐบาลที่สร้างการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเดินหน้าต่อไปในทุกเรื่อง

 

"กฤษฎา"ดูความเหมาะสมกลไกกองทุนน้ำมันฯลดดีเซล

ด้านนายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ตอบคำถามสื่อมวลชนว่าในส่วนของนโยบายลดราคาน้ำมันดีเซลนั้นตอนนี้กำลังดูว่าจะใช้กลไกใดระหว่างการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และการใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปอุดหนุน เพราะตอนนี้กองทุนน้ำมันฯก็ยังมีรูมอยู่ต้องไปดูดีๆว่าหนี้จริงๆเท่าไหร่ผมให้ไปดูกันอยู่

ส่วนเมื่อถามว่าการจัดทำงบประมาณปี 2566 จะต้องรื้อใหม่หรือไม่ รมช.คลังตอบว่าคงไม่ต้องรื้อใหม่ทั้งหมดอะไรที่เป็นหลักการก็อาจคงไว้อะไรที่ต้องปรับเปลี่ยนก็ปรับไป

คลัง-พม.ประสานเสียงเดินหน้าบัตรสวัสดิการรัฐ

เมื่อถามถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้นจะคงไว้หรือไม่ นายกฤษฎากล่าวว่ายังคงไว้เป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ส่วนเมื่อถามว่าในส่วนของงบประมาณหรือแหล่งเงินที่จะใช้ในนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทได้ข้อสรุปว่าอย่างไร นายกฤษฎากล่าวว่าเรื่องนี้ได้แจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีแล้ว หลังแถลงนโยบายจะมีความชัดเจนอีกครั้ง

เมื่อถามว่าจะมีการขยายเพดานหนี้เพื่อมาใช้ในนโยบายนี้หรือไม่ รมช.คลังไม่ตอบ แต่บอกว่าจะมีความชัดเจนอีกครั้งหลังแถลงนโยบาย

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่าในส่วนของนโยบายสวัสดิการประชาชนต่างๆรัฐบาลก็คงจะคงไว

“อะไรที่ดีอยู่แล้วก็คงไม่ได้ไปยกเลิก ไม่งั้นผมก็โดนคนด่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เบี้ยผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ ก็จะคงไว้เป็นสิทธิ์ประชาชน” นายวราวุธ กล่าว

เตรียมฟื้น "ผู้แทนการค้าไทย" ช่วยเปิดตลาดต่างประเทศ

นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวว่าในส่วนของนโยบายด้านเศรษฐกิจและต่างประเทศตอนนี้ต้องรอท่านนายกรัฐมนตรีมอบหมายงานที่ชัดเจน

รวมทั้งเรื่องของการเข้าไปดูนโยบายการเจรจาการค้าระหว่างประเทศด้วย แต่ในเบื้องต้นรัฐบาลนี้จะมีการฟื้นผู้แทนการค้าไทย (TTR) ขึ้นมาช่วยดูงานในด้านนี้ด้วย ส่วนจะมีคนจากภาคเอกชนเข้ามาเป็น TTR หรือไม่ รวมทั้งจะมี TTR กี่คนเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีที่ต้องดูต่อไปว่าจะมีการแต่งตั้งใครบ้าง

 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...