'หนี้ครัวเรือน' ฉุดยอดผลิตรถปี'67 กลับไปต่ำสุดในรอบ10 ปี

นายสุพจน์ สุขพิศาล ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากกรณีการเลิกผลิตยานยนต์ของซูซูกิและซูบารุ 2 แบรนด์รถญี่ปุ่นที่ออกประกาศมาแล้วนั้น ในภาพใหญ่อุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยหากแบ่งเป็น พาสเซ็นเจอร์คาร์กับปิคอัพ โดยไทยผลิตพาสเซ็นเจอร์คาร์สัดส่วน 30% และปิคอัพ 70% ดังนั้น ในกลุ่มของการใช้ชิ้นส่วนในประเทศของปิคอัพจะอยู่ที่มากกว่า 90% ส่วนพาสเซ็นเจอร์คาร์โดยรวมแล้วจะใช้ประมาณ 30%  

อย่างไรก็ตาม ซูบารุเองชิ้นส่วนจะนำเข้าจากญี่ปุ่นและมาเลเซีย เพื่อนำมาพ่นสีในประเทศไทย ดังนั้น ชิ้นส่วนที่ใช้ในประเทศเป็นไปตามฟรีโซน โดยฟรีโซน 40% นี้ให้รวมทั้งต้นทุนและมาร์จิ้นเข้าไปด้วย ถือว่าน้อยกว่า 40% ดังนั้น หากมองใน 2 มิติ ถือว่ากระทบแต่น้อย เพราะใช้ชิ้นส่วนในประเทศระดับ 30% อาจจะกระทบซัพพลายเชนเกี่ยวกับเบาะ ล้อ ยาง และกระจก เป็นต้น 

ในมิติที่ 2 นี้ ช่วงหลังๆ ซูบารุ ซึ่งเดิมก็เป็นโรงงานของตัน จง อินเตอร์เนชั่นแนล (TCIL) ล่าสุดโฮลดิ้งฮ่องกง ช่วงเริ่มต้นแค่ย้ายฐานการผลิตจากมาเลเซียเข้ามาในไทย จากการปรับนโยบายยอดผลิตช่วงแรกๆ เฉลี่ยเดือนละ 100 คัน หลังๆ ก็ลดลงไม่ถึง 100 คันต่อสัดส่วน 1.5 แสนคัน จึงอิมแพ็คน้อย และที่ผ่านมาก็ใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทยน้อยแยู่แล้ว ส่วนซูซูกิ จะเห็นว่าในช่วงแรกๆ ยอดขายอีโคคาร์ดี กำลังการผลิตเฉลี่ย 7-8 พันคันต่อเดือน ช่วงหลังผลิตไม่ถึง 1 พันคันต่อเดือน ถือว่าอิมแพ็คน้อยเช่นกัน 

นายสุพจน์ กล่าวว่า ในมุมมองของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจะไม่เกี่ยวกับการไม่ผลิตรถของทั้ง 2 ค่ายนี้ แต่ปัจจัยหลักคือ กรณีที่ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อในกลุ่มรถปิกอัพด้วยปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนที่ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ปัจจุบันสัดส่วนถึงกว่า 90% ของ GDP ประเทศ อีกทั้งยังมีหนี้นอกระบบอีกกว่า 10% โดยเฉลี่ยแล้วรายได้ที่ออกมาไม่พอกับการใช้หนี้ การจ่ายหนี้ขั้นต่ำก็เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 5 ปี เป็น 10 ปี ดังนั้น 1-2 ปีนี้ก็ยังแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนไม่ได้ จึงมองว่าปัจจัยหนี้ครัวเรือนเป็นปัจจัยหลักอันดับ 1 

นอกจากนี้ จากปัญหาดังกล่าวของ 2 แบรนด์ มองว่าจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนแน่นอน โดยเฉพาะแบรนด์ที่จะเข้ามาใหม่ เพราะไม่รู้ว่า 2 แบรนด์นี้มีเหตุปัจจัยของแบรนด์ ทั้งในเรื่องของการปรับกลยุทธ์ในเชิงภูมิภาค แต่ต้องอย่าลืมว่านักลงทุนมองอนาคตไม่เห็น จึงมองเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งแน่นอนว่าไม่เห็นอนาคตว่าอีก 3 ปี จะเป็นอย่างไร จะดีหรือกลับไปที่เดิมหรือกลับไป 2 ล้านคัน 

"ด้วยยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แบรนด์จีนที่เข้ามาเยอะ ทำให้ซูซูกิลดราคาคันละเกือบ 1 แสนบาท ดังนั้น ความเชื่อมั่นจึงมีผลแน่นอน แม้ว่า ณ วันนี้จะยังไม่อิมแพ็ค ซึ่งที่ผ่านมาผู้ผลิตต่างออกมาให้สัมภาษณ์ว่าอีวีจีนที่เข้ามา ผู้ผลิตไทยยังเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนน้อยและยากมาก เพราะมีทั้งในเรื่องของต้นทุน วัฒนาธรรมการทำธุรกิจ โดยคนไทยอาจจะคุ้นเคยกับการทำธุรกิจกับญี่ปุ่นมานาน ตรงนี้ต้องอาศัยการปรับตัวที่ค่อนข้างหนัก และเชื่อว่ามีไม่มากนักที่จะปรับตัวจากกระตรงนี้ได้" นายสุพจน์ กล่าว

สำหรับมูลค่าอุตสาหกรรมยานยนต์ต่อปีอาจจะแบ่งเป็น 1 ก้อน 3 ชิ้น โดยในชิ้นที่ 1 คือมูลค่าการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 7.5 แสนล้านบาท ชิ้นที่ 2 เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ส่งโดยออกประมาณปีละ 7.5 แสนล้านบาท และชิ้นที่ 3 เป็นมูลค่ายานยนต์ในประเทศอีก 7.5 แสนล้านบาท โดยปีนี้จะหดตัวลงแน่นอน จะเห็นได้จากยอดผลิตในก้อนที่ 1-2 พบว่า 4 เดือน ติดลบลบมาแล้ว 20% และ ส.อ.ท. พยากรณ์ว่าสิ้นปีนี้ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหันหัวขึ้น การใช้จ่ายจากภาครัฐ 1 เดือนยังไม่เห็นการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์

ในส่วนของแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจะมีสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกและใช้ในประเทศที่ 50:50 แต่ปัจจุบันจะเป็นส่งออก 55% และในประเทศ 45% เพราะตลาดในประเทศหดตัว ในขณะที่การส่งออกก็ยังมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยล่าสุดยอดส่งออก 2 เดือนล่าสุดเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาเริ่มหักหัวลง ซึ่งมีปัจจัยจากทะเลแดง ภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงสหรัฐที่ตั้งกำแพงภาษีกับจีน แม้ยานยนต์ของไทยจะไม่ได้ส่งไปสหรัฐโดยตรงแต่ก็ส่งไปประเทศที่มีรายได้จากการทำธุรกิจกับจีน จึงกระทบหมด 

"อุตสาหกรรมยานยนต์จะฟื้นปีไหนอันนี้ตอบยาก และไม่กล้าตอบอย่างปีที่แล้วยอดผลิต 1.84 ล้านคัน ปีนี้น้อยกว่าแน่นอน จากที่เคยคาดการณ์จะถึง 1.9 ล้านคัน แต่จะให้ภาพไว้เลยว่าจะกลับไปต่ำสุดในรอบ 10 ปีแน่นอน" นายสุพจน์ กล่าว 

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัญหาหลักของการเลิกผลิตของทั้ง 2 ค่ายนี้ อาจคงมาจากยอดขายที่ไม่ได้ขนาด การผลิตก็น้อยลง และจริงๆ ก็มีการส่งออกด้วย ดังนั้น ก็คงเป็นไปตามข่าวที่แบรนด์รถออกแถลงการ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผลกระทบของซัพพลายเชนของทั้ง 2 แบรนด์ นี้นั้น ก็เป็นซัพพลายเชนในไทยที่ต้องผลิตชิ้นส่วนในประเทศตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งอาจจะกระทบบ้างในช่วงปีหน้า เพราะตอนนี้ก็ยังมีการตามปกติ พร้อมศูนย์ต่างๆ ก็ยังอยู่ และยังมีการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ส่งออกนอกประเทศด้วย

ทั้งนี้ เอกชนจะยังคงรอดูว่าเศรษฐกิจของไทยจะดีขึ้นหรือไม่ ตอนนี้เป้าการผลิตรถยนต์ทั้งปีแม้จะคิดว่าจะมีการลดเป้าการผลิตแต่ก็จะขอดูก่อนว่าแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนภาครัฐ รวมถึงเอกชนที่ยื่นขอสิทธืประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะเป็นอย่างไรบ้าง

“มองว่าซัพพลายเชนจะไม่ถึงกับปิดกิจการ เพราะยังมีค่ายรถรายใหญ่อีกเยอะ โดยเฉพาะกลุ่มที่ผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้วก็ยังอยู่กันครบ อีกทั้ง กลุ่มผู้รับสิทธิประโยชน์ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) 3.0 ที่นำรถอีวีเข้ามาเมื่อปี 2565-2566 ราว 8-9 หมื่นคัน จะต้องรีบผลิตชดเชย”

นอกจากนี้ ยังไม่รวมที่ต้องผลิตชดเชยที่นำเข้าตามยอด อาจจะผลิตมากกว่าก็ได้ เพราะยังได้รับเงินอุดหนุนหากผลิตปีนี้กับปีหน้าตามโครงการอีวี 3.0 ดังนั้น จะต้องหาพาสเนอร์เหมือนกับบริษัทญี่ปุ่นสมัยก่อนที่ร่วมพาสเนอร์นกับไทยในการผลิตชิ้นส่วนในไทยในราคาที่แข่งขันได้

อีกทั้ง จะเห็นว่ายอดรถยนต์ไฮบริดเติบโตทั้งในและทั่วโลก โดยมียอดขายมากกว่ารถ BEV ด้วยซ้ำ เพราะการผลิตเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันร่วมกับแบตเตอรี่เพราะไม่ต้องกังวลในเรื่องของการหาสถานีชาร์จอีวี
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...