ผวา ‘SABUY’ ขาดทุนอ่วม ตลาดหุ้นกู้เกาะติด

วานนี้ (6 มิ.ย.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินไตรมาส 1 ปี 2567 หลังจากผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกตถึงความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงาน บมจ. สบาย เทคโนโลยี (SABUY) และ บมจ. สบาย คอนเน็กซ์ เทค (SBNEXT) พร้อมติดตามคำชี้แจงภายใน 13 มิ.ย.นี้ และความเห็นคณะกรรมการบริษัทภายใน 20 มิ.ย.นี้ 

โดย SABUY ขาดทุน 1,961 ล้านบาท มีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ขาดทุนสะสม 3,084 ล้านบาท มีข้อสังเกตกรณีมีข้อบ่งชี้ว่ากลุ่ม SABUY สูญเสียอำนาจควบคุมใน SBNEXT ซึ่ง SABUY ได้ตั้งด้อยค่าความนิยมและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนอื่น รวมทั้งเงินให้กู้ยืมแก่ SBNEXT ทั้งจำนวนรวม 1,464 ล้านบาท อีกทั้งมีผลขาดทุนจากขายเงินลงทุนใน บจก.ดับเบิ้ลเซเว่น (DOU7) 996 ล้านบาท 

กรณีดังกล่าวผู้ลงทุนหุ้นกู้ SABUY เริ่มเฝ้าระวังความเสี่ยงบริษัทผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ที่จะครบกำหนดพร้อมกับรอติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของบริษัทอย่างใกล้ชิด

สำหรับ หุ้นกู้ SABUY มี 1 รุ่น ที่จะครบกำหนดปีนี้คือ SABUY24DA จะครบกำหนด 30 ธ.ค.2567 มูลค่า 1,500 ล้านบาท  และยังมีอีก 3 รุ่นจะครบกำหนดในปีถัดๆไป คือ SABUY254A ครบกำหนด 7 เม.ย.2568 มูลค่า 1,000 ล้านบาท, SABUY258A ครบกำหนด17ส.ค. 2568 มูลค่า 1,295.80 ล้านบาท และ SABUY263A ครบกำหนด 21 มี.ค.2569 มูลค่า 195.70 ล้านบาท

สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) ล่าสุด ขึ้นเครื่องหมาย IC หุ้นกู้ SABUY ทั้ง 4 รุ่น  เตือนนักลงทุนให้ระมัดระการลงทุนแล้ว พร้อมแนะนำนักลงทุนควรติดตามข้อมูลของบริษัทอย่างใกล้ชิด โดยอาจสอบถามเพิ่มเติมไปทางบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ด้วย มองว่าน่าจะได้รับแจ้งข้อมูลโดยตรง 

นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ  ThaiBMA กล่าวว่า  ความเสี่ยงทางด้านผิดนัดชำระหนี้ และขอปรับโครงสร้างยืดชำระหนี้หุ้นกู้  จริงๆแล้ว สถานการณ์นิ่งขึ้นกว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ และหุ้นกู้ที่มีปัญหายังคงใกล้เคียงกับไตรมาส 1 ปีนี้

แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงดังกล่าว เราก็ยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังประมาทไม่ได้ 

ด้านนายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลท. กล่าวว่า บริษัทที่ขาดทุนเป็นความเสี่ยงที่ส่งผลต่อตลาดตราสารหนี้นั้น นักลงทุนยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติม จากบริษัทเพื่อนำมาพิจารณาวิเคราะห์รอบด้านต่อไป 

เพราะมองว่า บางครั้งบริษัทที่มีปัญหาขาดทุนไม่ได้มีปัญหาที่ความสามารถการทำกำไร แต่เป็นการบริหารสภาพคล่อที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถจ่ายเงินได้เป็นช่วงๆ 

   

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...