บริษัทไต้หวันใน 'ไทย-เวียดนาม' เครียด ทุนจีนหนีร้อนเข้ามาแย่งฐานการผลิต
วันที่ส่ง: 31/05/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีจาก “จีน” กำลังทะลักเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเบียดบังส่วนแบ่งการตลาดซัพพลายเออร์เจ้าเก่าอย่างไต้หวันและบริษัทอื่นๆ ที่เคยใช้ “ไทยและเวียดนาม” ในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Google และ Apple
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “อาเซียน”กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับจีนและค่าแรงงานที่ต่ำกว่ามาก ทำให้ประเทศต่างๆ เช่น เวียดนามและไทยกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับการกระจายห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากบริษัทต่างๆ สามารถส่งชิ้นส่วนที่ผลิตในจีนไปยังตลาดเหล่านี้เพื่อประกอบในประเทศได้อย่างง่ายดาย
สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐที่เพิ่มขึ้น ผลักดันให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีจาก “จีน” กำลังทะลักเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเบียดบังส่วนแบ่งการตลาดซัพพลายเออร์เจ้าเก่าอย่างไต้หวันและบริษัทอื่นๆ ที่เคยใช้ “ไทยและเวียดนาม” ในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Google และ Apple
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “อาเซียน”กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐและจีน ความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับจีนและค่าแรงงานที่ต่ำกว่ามาก ทำให้ประเทศต่างๆ เช่น เวียดนามและไทยกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับการกระจายห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากบริษัทต่างๆ สามารถส่งชิ้นส่วนที่ผลิตในจีนไปยังตลาดเหล่านี้เพื่อประกอบในประเทศได้อย่างง่ายดาย
จีนกดดันซัพพลายเออร์ไต้หวันสั่นคลอน
กูเกิล (Google) เป็นหนึ่งในบริษัทเทคโนโลยีรายแรก ๆ ที่ริเริ่มย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ทำให้ซัพพลายไต้หวันอย่างฟ็อกซ์คอน และอีกหลายแห่ง กำลังเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนจากจีนกำลังรุกเข้ามาในอาเซียนด้วยข้อได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ซึ่งสามารถขายสินค้าตัดราคาและอาจดึงดูดลูกค้าอย่าง Google ไป นำไปสู่ความเสี่ยงในการทำกำไร รวมทั้ง ผู้ผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีจีน กำลังพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ซัพพลายเออร์ไต้หวันสูญเสียความได้เปรียบในที่สุด
ล่าสุดนิเคอิเผยว่า Google กำลังพิจารณาให้บริษัทเกอร์เทค (Goertek) ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์จากจีน ผลิตนาฬิกา Google Pixel Watch นาฬิกาอัจฉริยะรุ่นใหม่ในเวียดนาม ซึ่งก่อนหน้านี้คาดว่าบริษัทไต้หวันจะเป็นผู้รับผิดชอบการผลิตนาฬิการุ่นใหม่ที่จะวางจำหน่ายในปี 2568 แหล่งข่าวเผยว่า “การพิจารณาเลือก Goertek เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจล้วนๆ เนื่องความสามารถในการผลิตนอกประเทศจีนที่มีคุณภาพดี บริการดี และราคาสามารถแข่งขันได้"
ในขณะเดียวกัน บริษัทบีวายดี(BYD) จากจีน ก็ได้ยื่นประมูลเพื่อผลิตโทรศัพท์ Pixel ในอาเซียน แม้ว่า Google จะยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ตาม ปัจจุบัน สมาร์ทวอทช์ Pixel ทั้งหมดผลิตโดยซัพพลายเออร์จากไต้หวัน ส่วน BYD เป็นผู้ผลิต iPad ของ Apple
ความทะเยอทะยานของ Goertek และ BYD ย้ำเตือนถึงการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีนั้นได้ส่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงซัพพลายเออร์ไต้หวันแล้ว
หัวหน้าฝ่ายบริหารของบริษัท นิว คินโปผู้ผลิตสินค้าในประเทศไทยมาานานกว่า 30 ปีกล่าวว่า ขณะนี้บริษัทรู้สึกถึงแรงกดดันที่ต้องแข่งขันกับบริษัทอย่าง BYD, Goertek และ Luxshare อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เศรษฐกิจจีนพ่นพิษ
ไหล หมิง เฉวียน ผู้จัดการทั่วไปของ Acter ผู้ผลิตจอแสดงผลและชิปไต้หวันที่เข้ามาลงทุนในเวียดนามตั้งแต่ปี 2552 และเพิ่งขยายกิจการไปยังมาเลเซียและไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในจีน ซึ่งพบว่ามีบริษัทจีนจำนวนมากกำลังหลั่งไหลเข้ามาในอาเซียนเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดและมองหาแรงขับเคลื่อนการเติบโตนอกเหนือจากตลาดภายในประเทศ ซึ่งบริษัทจีนเหล่านี้ ติดตามบริษัทคู่ค้าอย่าง BYD และ Luxshare เข้ามาในภูมิภาคนี้ด้วย
ทว่าซัพพลายเออร์เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงข้อได้เปรียบด้านราคาที่ต่ำกว่าเพื่อคว้าดีลทางธุรกิจไปเท่านั้น แต่ในหลายประเทศผู้ผลิตเหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางการทูตที่ดีกับรัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งส่งผลดีต่อโอกาสทางธุรกิจด้วย
ขณะที่ เจฟฟ์ ลินนักวิเคราะห์เทคโนโลยีจาก Omdia บริษัทวิจัยตลาดระดับโลกมองว่าแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศมีแนวโน้มผลักดันให้บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของจีนหันมามุ่งมั่นขยายธุรกิจไปต่างประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น โดยมีแรงจูงใจหลักมาจากเป้าหมายในการหารายได้สกุลเงินต่างประเทศและนำเงินเหล่านั้นกลับเข้าสู่จีน
จีนจ่อเริ่มสงครามหั่นราคา PCB ในไทย
วินเซนต์ ชาง กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียของแอดวานซ์เทคมองว่าการแข่งขันอย่างรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นแค่ภายในจีนเท่านั้นกำลังจะเกิดขึ้นในอาเซียนซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงงาน ที่ดิน หรือสิ่งที่จำเป็นที่สุดอย่างคำสั่งซื้อจากลูกค้า แต่ซัพพลายเออร์เจ้าถิ่นจากไต้หวันยังมีจุดแข็งที่เหนือกว่าคือ “ประสบการณ์อันยาวนานในอาเซียน
หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ทุนจีนได้รุกคืบเข้ามาในไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ “แผงวงจรพิมพ์” (PCB) เป็นตัวอย่างสำคัญของภาคส่วนที่การแข่งขันกับซัพพลายเออร์จีนกำลังดุเดือดขึ้น
จากข้อมูลของสมาคมแผงวงจรพิมพ์ไต้หวัน (TPCA) พบว่าทั้งปี 2566 ถึงเมษายนปีนี้ มีผู้ผลิต PCB และซัพพลายเออร์เกือบ 55 ราย ประกาศแผนการลงทุนในประเทศไทย โดย 33 รายเป็นบริษัทจีน ซึ่งมี 13 บริษัทเริ่มก่อสร้างโรงงานแล้ว
มอริซ ลี ประธาน TPCA และที่ปรึกษาอาวุโสของ Unimicron ผู้ผลิต PCB ไต้หวัน ได้ออกมาเตือนว่า อุตสาหกรรม PCB กำลังเผชิญกับปัญหาการแย่งชิงทรัพยากรอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงบุคลากร ที่ดิน และ “คำสั่งซื้อ” ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น เมื่อโรงงานผลิต PCB เริ่มทยอยเปิดตัวในช่วงปลายปีหน้า
ขณะที่ความต้องการ PCB ในตลาดไม่ได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะ "กำลังการผลิตล้น" เพราะสิ่งที่ผู้ผลิต PCB ทุกคนต้องทำตอนนี้คือ แย่งชิงคำสั่งซื้อจากลูกค้าและวิธีเดียวที่ทำได้คือ “การลดราคา"
ผู้ผลิต PCB หลายรายกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ต้องลงทุนในต่างประเทศเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดแม้ว่าจะน้อยกว่ากำลังการผลิตที่จีนทำได้ก็ตาม
จีนลงทุนอาเซียนพุ่ง แซงหน้าสิงคโปร์
ไบรอัน เฉินจาก KPMG ไต้หวันและเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมาซัพพลายเออร์เทคโนโลยีจีนได้ทุ่มเทลงทุนอย่างหนักในอาเซียน ทำให้การลงทุนจากจีนและฮ่องกงในภูมิภาคนี้ แซงหน้าสิงคโปร์ ซึ่งเคยเป็นแหล่งที่มาของการลงทุนจากต่างประเทศอันดับต้น ๆ ในปี 2566
หนึ่งในนั้นคือ “เวียดนาม” ได้รับความสนใจจากบริษัทจีนทั้งเอกชนและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งตอนนี้ซัพพลายเออร์จีนวางแผนที่จะสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งในประเทศเนื่องจากพื้นที่ทางเหนือของเวีดนามมีชายแดนติดกับจีน ซึ่งอาจช่วยเหลือจีนหลังเจอสงครามการค้าครั้งใหม่ของสหรัฐได้
หลังจากโควิด-19 ซัพพลายเออร์จีนเดินหน้าอย่างรุกกร้าวในการสร้างฐานการผลิตในสถานที่ต่างๆ เช่น อาเซียนและเม็กซิโก ซึ่งสหรัฐเรียกว่า “ประเทศมิตรสหาย” เพื่อการผลิตและส่งออก จึงต้องจับตาท่าทีของสหรัฐว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร หากดุลการค้าเกินดุลจากอาเซียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก่อนหน้านี้สหรัฐเคยเปิดการสอบสวนภายใต้การบริหารของอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้าของเวียดนามแล้ว
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
ระเบิดสถานีรถไฟปากีสถาน ดับ 20 บาดเจ็บ 53 ราย
เหตุระเบิดเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 8.20 น.ตามเวลาท้องถิ่นที่ชานชาลาหมายเลข 1 ของสถานีรถไฟในเมืองหลวงข...
‘ทูตจีน’ ลั่น ไม่มีผู้ชนะสงครามการค้า ผวา ‘ทรัมป์’ เพิ่มไฟขัดแย้งสหรัฐ-จีน
เซี้ย เฟิง เอกอัครราชทูตจีนประจำสหรัฐ กล่าวว่า ความแตกต่างระหว่างจีนและสหรัฐ ควรเป็นแรงผลักดันให้เกิ...
สรุปจบตาแจ้ง! ทุกคดีทรัมป์ เอาไงต่อ?
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก สรุปทุกคดีของทรัมป์ ไว้ดังนี้ คดีใช้เงินปิดปากฟ้องโดยรัฐนิวยอร์ก ในเดือน พ.ค. ทร...
"อัยด้า" โพสต์ทันที หลัง "รถถัง" อัด "สมิธ" ลบรอยด่างตกตาชั่ง
ภรรยาของรถถัง โพสต์ถึงสามีสุดที่รัก หลังลบฝันร้ายตกตาชั่ง เอาชนะ "จาค็อบ สมิธ" ทำให้เข็มขัดแชมป์โลก ...
ยอดวิว