สุ่มตรวจหมู พบยาปฏิชีวนะเกินมาตรฐาน 5 แหล่งจำหน่ายชื่อดัง!

เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)  และภาคีเครือข่ายผู้บริโภค จัดงานแถลงข่าวยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อหมู นำโดย ปรกชล อู๋ทรัพย์ Thai-PAN  ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) ทัศนีย์ แน่นอุดร นิตยสารฉลาดซื้อ และ ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค

Thai-PAN  ได้นำเสนอผลการตรวจวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังยาปฏิชีวนะตกค้างในเนื้อหมู โดยให้รายละเอียดจากการตรวจเนื้อหมูจำนวน 30 ตัวอย่าง ใน 22 จังหวัด

Thai-PAN
เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

พบว่า มี 4 กลุ่มตกค้างจาก 5 แหล่งจำหน่าย พบว่ามีสาร Florfenicol ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะที่ไม่ควรมีการตกค้างในเนื้อสัตว์และเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตาม พ.ร.บ.อาหาร 2522 และไม่เหมาะสมที่จะใช้ในการประกอบอาหารตามประกาศของกรมปศุสัตว์ ปี 2559

ผลสรุป เนื้อหมูทั้ง 5 ตัวอย่างที่ผิดมาตรฐาน และผิดกฎหมาย ต้องมีการดำเนินการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องการตรวจสอบย้อนกลับและแถลงต่อสาธารณชน ข้อเรียกร้องต่อผู้จำหน่ายเนื้อหมูขนาดใหญ่ทั้ง 5 แหล่งที่ตรวจพบยาปฏิชีวนะเกินมาตรฐานในเนื้อหมูแถลงต่อสาธารณชนถึงผลดังกล่าว

ข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการในการสร้างความเข้าใจและความรู้ต่อสังคมเรื่องยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ โดยชี้ให้เห็นประเภทของยา ข้อดี ข้อเสีย นอกจากนี้ควรดำเนินการดังกล่าวเพื่อบรรลุเป้าแผน MR ในระดับชาติ ฉบับที่ 2  ซึ่งพูดถึงการลดการใช้ยาปฏิชีวนะในเนื้อสัตว์ลง 50% เมื่อเทียบกับปี 2564 ให้ได้

ข้อเสนอให้มีมาตรการเฝ้าระวัง มีกลไกแจ้งเตือนภัยอย่างเร่งด่วน โดยให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินการอย่างมีส่วนร่วม

นักวิชาการกังวลสารตกค้างในเนื้อหมูส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค “แพ้ยา-ดื้อยา” ต่อร่างกาย

สารตกค้าง Florfenicol นั้น เป็นยาปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อคนทำให้เกิดการแพ้ได้ เพราะเมื่อมีการตกค้างในเนื้อหมู และประชาชนบริโภคสามารถก่อให้เกิดการแพ้ได้ การใช้ antibiotic มีผลกระทบหลัก 2 เรื่อง คือ 1.การดื้อยา 2.การแพ้ยา ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้ไม่ต้องมีปริมาณสูงก็เกิดภาวะดังกล่าวได้

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) กล่าวว่า  ยาปฏิชีวนะนั้นมีข้อควรระวังในการใช้ หากไม่ระมัดระวังจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดเชื้อดื้อยา และสามารถส่งผลต่อระบบนิเวศน์ในสิ่งแวดล้อมได้ด้วย  ข้อคำนึงของการใช้ยานั้น แม้จะมีความเชื่อว่ายาสามารถช่วยรักษาโรคได้ แต่ปัญหาสำคัญของการใช้ยาคือการปรับตัวของเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะโดยขาดความรู้ ความเข้าใจ และข้อระมัดระวัง จะนำไปสู่การที่เชื้อแบคทีเรียจะต่อสู้และมีภูมิต้านยากว่าเดิม และสามารถดื้อยาได้เร็วมาก โดยเฉพาะเชื้อไวรัสที่มีการปรับตัวเร็วที่สุด ยาที่พบตกค้าง Florfenicol มีอยู่ตัวเดียวก็จริง แต่ต้องคำนึงด้วยว่า การตรวจไม่พบ(ยาปฏิชีวนะตัวอื่น) ไม่ได้แปลว่าไม่ได้ใช้ ฉะนั้น ผลดังกล่าวจึงเป็นเพียงการไม่พบสารตกค้างด้วยเครื่องมือที่มีอยู่

Thai-PAN
สุ่มตรวจเนื้อหมู

สิ่งสำคัญในการการตรวจสอบนั้นจำเป็นต้องตอบคำถาม 3 อย่าง ได้แก่

  • มียาปฏิชีวนะ(antibiotic) ตกค้างหรือไม่? 
  • มีเชื้อดื้อยาเกิดขึ้นหรือไม่?
  • มีสารดื้อยาพันธุกรรมเกิดขึ้นไหม?

ในส่วนของการตรวจพบสารตกค้าง Florfenicol นั้น เป็นยาปฏิชีวนะที่เป็นอันตรายต่อคนทำให้เกิดการแพ้ได้ ซึ่งมีการห้ามใช้ในหมู เพราะเมื่อมีการตกค้างในเนื้อหมู และประชาชนบริโภคสามารถก่อให้เกิดการแพ้ได้ แม้จะไม่ได้เกิดกับทุกคนแต่มีจำนวน % ก็มีเยอะ ซึ่งการใช้ antibiotic มีผลกระทบหลัก 2 เรื่อง คือ 1.การดื้อยา 2.การแพ้ยา ภาวะดื้อยาก่อให้เกิดโรคติดต่อได้ สามารถแพร่เชื้อได้ ทั้งคนไปสู่สัตว์ และสัตว์สู่คน เพราะฉะนั้น ประเด็นการดื้อยาจึงถูกให้ความสำคัญในระดับนานาชาติ และถือเป็นวาระหนึ่งขององค์การอนามัยโลก เพราะโรคระบาดหรือเชื้อเหล่านี้มองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง และส่งผลกระทบจริงและรุนแรงในประวัติศาสตร์ ภาครัฐควรเร่งตรวจสอบต่อแหล่งที่มาเนื้อสัตว์ ผู้ประกอบการต้องมีส่วนร่วมในการแจ้งแหล่งผลิตที่ไม่มีความปลอดภัย

หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องเริ่มดำเนินการตรวจสอบ ผู้บริโภคกินเข้าไปทุกวัน เราเสียเงินแทนที่จะได้ของที่ปลอดภัย แต่ดันตั้งคำถามว่าหมูที่กินนั้นเสี่ยงรึเปล่า?

ภก.ภาณุโชติ ทองยัง ประธานอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ความเห็นต่อผลตรวจของ THAI-PAN และเครือข่ายการทำงานนั้น คือ ภาพสะท้อนระบบอาหารในประเทศไทย ด้าน food safety ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่การตำหนิภาครัฐ แต่เป็นภาพสะท้อนและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ยืนยันว่าการดำเนินการเรื่องดังกล่าวของภาครัฐยังไม่เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ ประเด็นที่สภาองค์กรของผู้บริโภคเรียกร้องให้เกิดขึ้นหลังจากพบยาปฏิชีวนะในเนื้อหมูเกินมาตรฐาน คือ ต้องมี“ระบบเฝ้าระวังเชิงรุกและเตือนภัยเร่งด่วนอย่างมีส่วนร่วม” เพื่อแจ้งเตือนภัยเร่งด่วน (Rapid Alert) สื่อสารสังคม และสนับสนุนผู้ประกอบการคุณภาพ หน่วยงานภาครัฐควรมีคณะกรรมการต้องให้เครือข่ายผู้บริโภคตัวจริงเข้าไปมีสิทธิในการมีส่วนร่วม มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ผู้ประกอบการต้องมีการพัฒนาระบบและสามารถมีการดำเนินการแจ้งตรงต่อภาครัฐเมื่อพบผู้ผลิตที่ทำเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้สื่อมวลชน ผู้บริโภคต้องติดตามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดอาหารปลอดภัย

ผู้บริโภคทุกคนควรได้พูดถึงความต้องการที่จะไม่เอาเนื้อสัตว์หรืออาหารที่ปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ประกาศเจตนารยม์ และขณะเดียวกันต้องสนับสนุนให้ influencer ที่มีอิทธิพลต่อคนในสังคมที่ควรรีวิวนอกจาก รสชาติ ราคา แต่ควรสอบถามถึงแหล่งอาหารที่เชื่อถือหรือวางใจได้แทนผู้บริโภคด้วย นอกจากเรื่องความอร่อยแต่ควรคำนึงเรื่องความปลอดภัยด้วย ทัศนีย์

ทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายเผยแพร่ และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า  นิตยสารฉลาดซื้อได้ติดตามการปนเปื้อนยาปฏิชีวนะในอาหารมาเป็นระยะเวลาหลายปี โดยทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจใหมีการปฏิเสธการสนับสนุนผู้จัดหา (Supplier) ที่เป็นแหล่งจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ในฐานะของฝ่ายผู้บริโภคพบว่า การทำงานเรื่องนี้จำเป็นต้องเร่งด่วน เพราะปัจจุบันผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ในตลาดทั่วไปที่ระบุว่าปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ หรือ antibiotic มีราคาสูง กว่า 2-3 เท่ากว่าราคาเนื้อสัตว์ปกติ ซึ่งในทางกลับกันนั้นเนื้อสัตว์ในท้องตลาดทั่วไปผู้ซื้อก็ไม่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ว่าเนื้อเหล่านี้มาจากที่ใด แหล่งใด แม้จะเป็นโมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้าที่ได้มาตรฐาน ก็ระบุเพียง น้ำหนัก ราคา และวันหมดอายุ สิ่งนี้สะท้อนว่าผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งผลิตอาหารได้เอง

ข้อเสนอแนะของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มี 4 ข้อ

  • ผู้บริโภคต้องมีส่วนในการเรียกร้องที่จะไม่รับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเพื่อให้เกิดการตรวจสอบแหล่งที่มี รวมถึงคนที่ทำงานเกี่ยวกับอาหารสื่อสารสังคมต้องตั้งคำถามเรื่องความปลอดภัยของอาหารด้วย
  • ผู้ประกอบการ ซึ่งตลาดอาหารนั้นมีขนาดที่ใหญ่มากเกือบ 5 แสนล้านบาท แบรนด์อาหารดังๆ ควรสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นเรื่องอาหารปลอดภัยไร้การปนเปื้อนยาปฏิชีวนะ ควรแสดงจุดยืนที่ชัดเจน “ไม่รับซื้อเนื้อสัตว์ที่มีการตกค้างของยาปฏิชีวนะ” เพื่อแสดงความจริงใจต่อการเลือกสรรวัตถุดิบที่ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งยังจะเป็นผลดีต่อการลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในกระบวนการเลี้ยงสัตว์
  • ผู้จัดหาและให้บริการเนื้อสัตว์ ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ตและตลาดสดที่มีศักยภาพสูง ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของเนื้อสัตว์ที่นำมาจำหน่าย ด้วยการจัดทำมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้า รวมไปถึงส่วนประกอบของสินค้าหรือระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) และกำกับให้ซัพพลายเออร์ต้องแสดงหลักฐานว่าสินค้าปลอดการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะ เพื่อยุติการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในฟาร์ม
  • ภาครัฐที่เกี่ยวข้องควรได้ทำการเฝ้าระวังตรวจการตกค้างของยาปฏิชีวนะในฟาร์ม โรงเชือด ร้านค้าและแจ้งผลการเฝ้าระวังให้ประชาชนทราบอย่างสม่ำเสมอ ผ่านระบบฐานข้อมูลที่เข้าถึงง่าย รวมทั้งเปิดรับข้อมูลจากผู้ใช้งานที่ต้องการแจ้งเบาะแสเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในฟาร์ม

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...