ชะตากรรม ‘GDPไทย‘ หลังไตรมาส1 จ่อทรุด ’เอกชน‘ คาดกรอบ 67 ขยายตัว 1.5-2.7%

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจะประกาศตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 1/2567 รวมทั้งแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2567  ในวันจันทร์ที่ 20 พ.ค.2567  ที่จะถึงนี้ ในการแถลง GDP ครั้งที่ผ่านมา สศช.ได้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ 2.2 – 3.2% ซึ่งจะขยายตัวได้ต่อเนื่องจาก 1.9% ในปี 2566  อย่างไรก็ตามต้องจับตาการแถลงตัวเลขของ สศช.ว่าในไตรมาสที่ 1 จีดีพีจะขยายตัวได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากมีการขยายตัวต่ำมากอาจนำไปสู่การปรับลดประมาณการปี 2567 ทั้งปีลงหรือไม่

โดยก่อนหน้านี้หลายหน่วยงานเศรษฐกิจได้ปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปี 2567 ลง เช่น สำนักเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดจีดีพีลงเหลือ 2.4% จากประมาณการเดิมที่ 2.8%  และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)  มาที่ 2.2-2.7% ในการแถลงครั้งล่าสุด

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ถือว่าเผชิญปัจจัยลบทางเศรษฐกิจหลายประการ โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวได้ช้า มูลค่าการส่งออกสินค้าในไตรมาสแรกกลับมาติดลบ 0.2% หลังจากที่ในเดือน มี.ค.การส่งออกหดตัว 10.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสินค้าไทยเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว โดยการค้าโลกในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดไว้เดิม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดคาดการณ์การค้าโลกจากเดิมโตได้ 3.3% เหลือโต 3% และปรับลดคาดการณ์การส่งออกของประเทศ Emerging Markets จากเดิมโตได้ 4.1% เหลือโต 3.7%

นอกจากนี้ IMF ยังประเมินว่าความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั้งรัสเชีย-ยูเครน และอิสราเอล -อิหร่านที่ยกระดับขึ้นจะกระทบต่อปริมาณการค้าโลกได้ ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นปัจจัยลบต่อแนวน้มการส่งออกสินค้าของไทยในระยะข้างหน้า ทำให้คาดว่าการส่งออกจะเติบโตได้น้อยกว่าที่คาดไว้เดิม

สารพัดปัจจัยฉุด GDP ไตรมาส1/67

ในส่วนของภาคการผลิตซึ่งถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะฉุดGDP ไทย โดยการแถลงล่าสุด 7 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มี.ค.2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39%  ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2567 อยู่ที่ 100.85 หดตัวเฉลี่ย 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย 60.45% ซึ่งกำลังการผลิตที่ยังหดตัวต่อเนื่องทำให้การลงทุนใหม่ๆของภาคเอกชนที่จะขยายการลงทุนยังไม่เกิดขึ้น

สำหรับในเครื่องยนต์สำคัญทางเศรษฐกิจอีกตัวคือภาคท่องเที่ยวถึงแม้ว่าในปีนี้จำนวนนักท่องเที่ยวจะฟื้นตัวขึ้นนักท่องเที่ยวช่วง 3 เดือนแรกของปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. ยอดสะสม 9.4 ล้านคน  แต่การใช้จ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว (Spending per Head) ยังต่ำกว่าปี 2562   โดยใช้จ่ายอยู่ที่ 45,760 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าปี 2562 ที่มีSpending per Head เฉลี่ย 47,895 บาท อยู่ราว 4.5%

2 สมมุติฐานเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ในการประเมินGDP ปี 2567 ที่ กกร.มีการประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณ 2.2 -  2.7% นั้นภาคเอกชนมีการประเมินข้อมูลโดยมีการวางสมมุติฐานไว้ 2 กรณีคือ

1.กรณีที่เป็นพื้นฐาน (Base case) ที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัว 2.2 – 2.7% นั้นมาจากสมมุติฐานว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวได้ 0 .5 – 1.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยการส่งออกของไทยยังถือว่าฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้และสอดคล้องกับมุมมองของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งได้ปรับลดประมาณการปริมาณการค้าโลกปี 2567 ลงสู่ 3.0% (จากเดิม 3.3%) อีกทั้งสินค้าส่งออกบางกลุ่มได้รับ ผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้าง

ส่วนในสมมุติฐานนี้นั้นคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังประเทศไทยอยู่ที่ไม่ต่ำกว่า 35 ล้านคน โดยการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาไทยนั้นพบว่านักท่องเที่ยวตะวันออกกลางลดลง 60% ตั้งแต่ Q2/2567 จากผลกระทบของสงครามการค้า แต่นักท่องเที่ยวโซนเอเซียฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี ทำให้จำนวนโดยรวมยังอยู่ที่ 35 ล้านคนได้ทั้งนี้ต้องจับตาการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว

 2.กรณีเลวร้าย (Worst case) โดยกรณีนี้ กกร.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้เพียง 1.5 – 2% จากปีก่อน โดยกรณีนี้การส่งออกอาจจะหดตัว 0.5% ถึงขยายตัวได้ 0.5% โดยการส่งออกที่ขยายตัวได้ต่ำจะมาจากปัจจัยสถานการณ์ในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วอ่าวเปอร์เซียร์ตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 และเริ่มคลี่คลายเล็กน้อยในไตรมาสที่ 4 ซึ่งส่งผลให้การขนส่งและการเดินทางมีความยากลำบากกระทบต่อการขนส่งในตะวันออกกลาง ขณะที่การส่งออกไปยุโรปได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย

ส่วนปัจจัยเรื่องของภาคการท่องเที่ยวในสมมุติฐานนี้คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทย 32.5 ล้านคน เนื่องจากสงครามในตะวันออกกลางส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวตะวันออกกลางลดลง 80% และนักท่องเที่ยวยุโรปลดลง 40% ในช่วงที่เหลือของปี

ขณะที่นักท่องเที่ยวจากจีนและโซนเอเซียฟื้นตัวได้ช้ากว่า base case  โดยการประมาณการ GDP 2567 ในส่วนี้ยังไม่รวมผลของมาตรการ Digital Wallet ทั้งนี้ หากนโยบายเติมเงินใน digital wallet ดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท รัฐประเมินว่าจะช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ได้ 1.2-1.6% ในช่วงการดำเนินโครงการอย่างไรก็ตามมาตรการนี้หากสามารถใช้ได้จริงภายในปีนี้จะมีผลต่อเศรษฐกิจปี 2568 มากกว่า

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...