3 ซีอีโอชี้หนังสือ 'สินค้าจำเป็น' ชี้‘ฮาวทู-ภาษาอังกฤษ-นิยายวาย’มาแรง

“ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวาทกรรมที่บอกว่า คนไทยอ่านหนังสือวันละ 8 บรรทัดได้แล้ว เพราะการมาของโลก ดิจิทัล เกิดการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมหนังสือครั้งใหญ่ ทำให้คนไทยอ่านหนังสือได้ผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ  ผลสำรวจสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยคนไทย อ่านเกินวันละ 2 ชั่วโมงแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องตั้งคำถามคือ คนไทยอ่านหนังสือกลุ่มใดมากที่สุด” 

ริสรวล อร่ามเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปลน ฟอร์ คิดส์ จำกัด  ผู้ผลิตหนังสือเด็กรายใหญ่ของไทย ฉายภาพอุตสาหกรรมหนังสือไทยในปัจจุบันถูกพลิกโฉมจากการเข้ามาของโลกดิจิทัลทำให้คนมีทางเลือกอ่านหนังสือผ่านออนไลน์มากขึ้น แม้การซื้อหนังสือที่ตีพิมพ์แบบกระดาษลดลง แต่ท่ามกลางการชะลอตัวของการตีพิมพ์หนังสือเล่มใหม่ที่อาจน้อยลง ซีอีโอบริษัทหนังสือกลับมองเป็นโอกาสใหม่ที่สำคัญในการรุกตลาด!

 

อุตสาหกรรมหนังสือของประเทศไทยปี 2567 มีมูลค่ารวม 1.4 หมื่นล้านบาท คาดขยายตัวมากกว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจากแรงหนุนของกลุ่มผู้ปกครองที่ยังต้องการเลือกซื้อหนังสือให้แก่ลูก รวมถึงกลุ่มหนังสือประเภทนิยาย และนิยายวายต่างๆ ที่ได้รับความสนใจสูงอย่างต่อเนื่อง

“ในไตรมาสแรกตลาดได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่คึกคักนัก แต่อีกด้านเป็นโอกาสสำคัญทำให้ผู้ผลิตหนังสือหันมาใช้เวลาเลือกตีพิมพ์หนังสือมากขึ้น เน้นหนังสือคุณภาพสูงแทนแตกต่างจากในอดีตที่ผู้ผลิตหนังสืออาจไม่ได้ใช้เวลาพิจารณานานนัก อาจมีหนังสือคุณภาพไม่ดีออกมาสู่กลุ่มนักอ่านได้”

ขณะที่จำนวนสำนักพิมพ์ในประเทศมีประมาณ 400 แห่ง แต่ละปีมีทั้งการเปิดตัวของผู้ผลิตใหม่ และการปิดตัวไปเช่นกัน ซึ่งเทรนด์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจและชื่นชอบในตลาดหนังสือ เข้ามาลงทุนและเปิดสำนักพิมพ์ ทำให้จำนวนสำนักพิมพ์อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน

ส่วนกลุ่มหนังสือหลักมี 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มหนังสือนิยาย กลุ่มหนังสือเด็กและเยาวชน และกลุ่มฮาวทู ในการพัฒนาตัวเอง จากช่วงที่ผ่านมา หนังสือจะแบ่งหลากหลายประเภทมากกว่านี้ แต่เมื่อโควิดทำให้ตลาดหนังสือจะมีสามกลุ่มนี้เป็นหลัก ตามทิศทางการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไป

สำหรับ แปลน ฟอร์ คิดส์ ดำเนินธุรกิจมากว่า 27 ปีแล้ว ปีนี้มีแผนตีพิมพ์หนังสือใหม่ 100 รายการใกล้เคียงกับปีก่อน เน้นหนังสือเด็กตามจุดแข็งและความเชี่ยวชาญในด้านนี้มายาวนาน สอดรับการเทรนด์ตลาดหนังสือเด็กที่กำลังเติบโต

 

ชี้เทรนด์หนังสือภาษาอังกฤษมาแรงในอาเซียน

แจ็คเกอลีน อึ๊ง ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Big Bad Wolf Books จากประเทศมาเลเซีย ประเมินทิศทางตลาดหนังสือในภูมิภาคอาเซียนขยายตัวต่อเนื่องทุกปี สะท้อนจากการจัดงาน Big Bad Wolf Books ตลอด 15 ปีในหลายประเทศมีผลตอบรับดีเนื่องจากผู้ปกครองสนใจเลือกซื้อหนังสือให้ลูก เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพด้านภาษา มองว่าการใช้จ่ายกับหนังสือเป็นการลงทุนที่มีความคุ้มค่าสูง

ในปี 2567 จึงเดินหน้าจัดงานต่อเนื่องในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงประเทศไทย กับ “Big Bad Wolf Books” เทศกาลหนังสือภาษาอังกฤษใหญ่สุดในไทย วันที่ 23 พ.ค.- 4 มิ.ย. ที่ เดอะมาร์เก็ต แบงคอก ราชประสงค์ ระดมหนังสือภาษาอังกฤษนำเสนอในงานกว่า 2 ล้านเล่ม

“งานนี้เริ่มต้นจากในประเทศมาเลเซียมาตั้งปี 2552 ท่ามกลางเสียงที่พูดว่าคนมาเลเซียไม่อ่านหนังสือ แต่เมื่อจัดงานกลับได้รับการตอบรับที่ดีมาก ปี 2544 การจัดงานในมาเลเซีย ยอดขายสูงถึง 1.5 ล้านเล่ม เพราะทุกคนมีความเชื่อมั่นว่า การอ่านหนังสือช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตและโลกของคนได้เลย”

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การจัดงานที่ผ่านมา จะเลือกในประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เนื่องจากมีความต้องการหนังสือภาษาอังกฤษในระดับสูง พร้อมเข้ามาแก้ปัญหาที่คนคิดว่า หนังสือภาษาอังกฤษมีราคาแพง แต่การจัดงานสามารถดีลหนังสือภาษาอังกฤษเข้ามาจำหน่ายราคาถูกพิเศษและมีหนังสือหลากหลาย เพื่อขยายฐานนักอ่าน ซึ่งมีแผนจัดงานต่อไปในประเทศต่างๆ ของทวีปแอฟริกา

ลุยขยายจัดงานต่างจังหวัดเพิ่มฐานนักอ่าน

ตรัสวิน จิตติเดชารักษ์ เลขาธิการสมาคมผู้พิมพ์หนังสือแห่งอาเซียนและผู้อำนวยการ Silkworm Books กล่าวว่า แนวโน้มธุรกิจหนังสือในภูมิภาคอาเซียนมีการขยายตัวจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญในการอ่านหนังสือ รวมถึงกลุ่มคนทำงานสนใจรีสกิล-อัพสกิล เพิ่มทักษะด้านต่างๆ

เพื่อขยายตลาดกลุ่มนักอ่านหนังสือในไทย สมาคมฯ ร่วมมือกับผู้ผลิตหนังสือในประเทศไทย จัดโรดโชว์ในต่างจังหวัดมากขึ้น 

“อยากให้การอ่านเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญทุกคน มีผลวิจัยออกมาว่า การอ่านจากหนังสือมีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาของสมองและสร้างการจดจำที่ดีมากกว่าการอ่านจากช่องทางออนไลน์ ที่ต้องใช้เวลาในการจดจำสูงกว่า ดังนั้น ไม่อยากให้คนไทยหยุดการอ่าน เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพของสมอง อย่างน้อยวันละ 20 นาทีก่อนนอนจะดีที่สุด”

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...