ANAN กำไร 195 ล้านใน Q1/67 ยอดโอนเพิ่มขึ้น / กรณี แอชตัน อโศก ยังไม่บันทึกผลเสีย

นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดําเนินงานไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทและบริษัทย่อยมี รายได้รวม 2,105.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,374.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 188 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ 1,826.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,409.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 337.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากการโอนในโครงการพร้อมโอน (Ready to Move) เพิ่มขึ้น อาทิ โครงการไอดีโอ จุฬา-สามย่าน โครงการโคโค่พาร์ค โครงการอาร์เทล อโศก-พระราม 9และโครงการแอชตัน เรสซิเด้นท์41

ทั้งนี้ในไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทมีการจัดแคมเปญเพื่อกระตุ้นยอดขายต่อเนื่องจากปลายปี โดยตั้งแต่ต้นปีบริษัทมีการจัดแคมเปญ ANANDA URBAN JOY ในเดือนม.ค. และ ANANDA JOY DAY SUPER DEAL จัดโปรโมชั่นกับ 19 โครงการพร้อมอยู่ของบริษัท ในงานมหกรรมบ้านและคอนโดฯ ครั้งที่ 45 วันที่ 21-24 มี.ค. 2567 ซึ่งได้รับการสนใจและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
 

ด้านรายได้จากการบริหารโครงการและค่านายหน้า 107.0 ล้านบาท ลดลง 21.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเนื่องจากจํานวนโครงการที่อยู่ในกิจการร่วมค้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

นอกจากนี้ในไตรมาสนี้โครงการเดอะเรสซิเด้นท์38 โดยบริษัท แรบบิท โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) ที่แต่งตั้งให้บริษัทเป็นผู้บริหารโครงการสามารถทํารายได้จํานวน 10.6 ล้านบาท

รายได้ค่าเช่าและบริการมีจํานวน 69.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.2จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการเก็บค่าเช่าของบริษัท

รายได้อื่นๆ มีจํานวน 103.1 ล้านบาท ลดลง 16.4 ล้านบาท หรือร้อยละ13.8จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าในไตรมาส 1 ปี 2567 มีจํานวน 189.9 ล้านบาท ลดลง 104.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 53.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สาเหตุการหลักมาจากไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทไม่มีการเปิดโอนโครงการใหม่

กําไรขั้นต้นเท่ากับ 599.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 423.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 241.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกําไรสุทธิมีจํานวน 198.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 251.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 474.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลง

อย่างไรก็ดี กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่เท่ากับ 195.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 59.56 ล้านบาท

สำหรับ กรณี แอชตัน อโศก สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2566 ศาลปกครองสูงสุดมีคําพิพากษาในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงโครงการแอชตัน อโศก จํานวน 15 คน ได้ฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานรัฐจํานวนรวม 5 รายต่อศาลปกครองกลางนั้น

โครงการดำเนินการโดย บริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย อโศก จํากัด ซึ่งปัจจุบันมีสถานะเป็นบริษัทย่อยของ ANAN ยังคงมีคดีฟ้องร้องอื่นอีกหลายคดีซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการแอชตัน อโศก โดยมีค่าเรียกร้องความเสียหายรวม จํานวน 122 ล้านบาท ซึ่งผลของคดีฟ้องร้องของคดีเหล่านี้ ยังไม่มีข้อสรุป ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และไม่มีผลกระทบต่อการดําเนินกิจการของบริษัทในขณะนี้

ดังนั้น บริษัทจึงไม่ได้บันทึกสํารองสําหรับผลเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากคดีดังกล่าวไว้ สําหรับงบปีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...