‘ส่งออกไทย’ต่ำสุดในภูมิภาค แนะปรับโครงสร้างภาคการผลิต

การส่งออกสินค้าของไทยในเดือนไตรมาสแรก ถูกพูดถึงอย่างมากเมื่อกระทรวงพาณิชย์รายงานว่า การส่งออกมีมูลค่า 70,995 ล้านดอลลาร์  เทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ติดลบ 0.2% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 75,470 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 3.8% และขาดดุลการค้า 4,475 ล้านดอลลาร์

ในขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคทยอยประกาศตัวเลขการส่งออก ปรากฎว่า การส่งออกของไทยในเดือน มี.ค.2567 ติดลบสูงที่สุดในภูมิภาค โดยการส่งออกของจีน ติดลบ 7.5% , มาเลเซีย ติดลบ 6.1% , อินโดนีเซีย ติดลบ 4.2% และสิงคโปร์ ติดลบ 3.4%ขณะที่การส่งออกของไต้หวัน บวก 18.9% และเวียดนาม บวก 13.0%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของการส่งออกในเดือน มี.ค.2567 หลายประเทศในภูมิภาคจะเห็นว่ามีการชะลอตัวลง และถึงแม้ว่าการส่งออกของไทยที่มีมูลค่า 70,995 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 10.2% แต่ไม่ถึงกับแย่มากเพราะหลายประเทศติดลบ 

ทั้งนี้ ยกเว้นการส่งออกของเวียดนามที่มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ซึ่งเป็นเพราะเป็นการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปยังประเทศสหรัฐมีการเติบโตที่สูง

นอกจากนี้ การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2567 ของไทยมีมูลค่า 70,995 ล้านดอลลาร์ เทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ติดลบ 0.2% เมื่อเทียบกับการส่งออกของภูมิภาคพบว่า มาเลเซีย ติดลบ 5.0% และอินโดนีเซีย ติดลบ 7.2% ในขณะที่การส่งออกของเวียดนาม ขยายตัว 16.8% และสิงคโปร์ ขยายตัว 3.9%

นายชัยชาญ กล่าวว่า การส่งออกไตรมาส 1 ของไทยที่ติดลบมีสาเหตุสำคัญจากผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงทั้งมันสำปะหลัง น้ำตาล รวมถึงการส่งออกทุเรียนล่าช้าจากเดิมส่งออกไตรมาส 1 เลื่อนไปเดือน เม.ย.เพราะผลผลิตออกช้าจากปัญหาอากาศร้อน โดยตัวเลขการส่งออกผลไม้ไทยจะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 แทนที่จะเป็นไตรมาส 1

นอกจากนี้ ยังมีสินค้าพวกผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ที่ส่งออกไปจีนลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว โดยดูจากตัวเลขภาคการผลิตหรือดัชนี PMI ที่อยู่ในระดับ 50 ดังนั้นจึงทำให้การส่งออกสินค้าส่วนนี้ลดลง

“ไม่ต้องกังวลต่อตัวเลขการส่งออกในไตรมาสแรกที่ติดลบ เพราะการส่งออกของไทยยังคงแข็งแกร่ง เพราะเรามีซัพพลายเชนในหลายอุตสาหกรรมทั้งรถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ที้สำคัฐการย้ายฐานการผลิตของรถอีวี และยางล้อรถยนต์ ซึ่งในส่วนนี้จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศไทยในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก”นายชัยชาญ กล่าว

นายชัยชาญ กล่าวว่า ยังมีการย้ายการผลิตของกลุ่ม PCB ทำให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิสก์ของไทยยังมีแนวโน้มที่ดี ดังนั้นการส่งออกของไทยไม่ได้แย่ เพียงแต่ในช่วงแรกผลไม้และเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญส่งออกลดลง ทั้งนี้ไทยมีฐานที่แข็งแกร่งด้านการส่งออก โดยไตรมาส 2 มั่นใจว่าส่งออกจะมีมูลค่า 71,000 ล้านดอลลาร์ เฉลี่ยส่งออกเดือนละ 23,700 ล้านดอลลาร์

ส่วนปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิศาสตร์ยิ่งไม่ต้องห่วง เพราะเป็นปัญหาของประเทศผู้ส่งออกทั่วโลก หากเกิดขึ้นก็ย่อมกระทบต่อไทยและประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนเช่นกัน

แนะปรับโครงสร้างภาคการผลิต

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออกของไทยในเดือน มี.ค.2566 มีมูลค่าถึง 28,004 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นฐานที่สูงมาก ในขณะที่การส่งออกเดือน มี.ค.2567 มีมูลค่า 24,960 ถือเป็นระดับที่สูงแต่การส่งออกช่วงเดียวกันของปีที่แล้วสูงมากจึงทำให้การส่งออกเดือน มี.ค.ปีนี้ ติดลบมาก

ทั้งนี้ การส่งออกของไทยมีหลายรายการที่มีสัญญาณชะลอตัว โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ายานยนต์ที่ในเดือน มี.ค.2567 ติดลบถึง 15.2% ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยเสี่ยงจากความต้องการของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่มีแย่งความต้องการซื้อของรถเครื่องยนต์สันดาปภายใน

นอกจากนี้ การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกของไทยได้รับแรงกดดันจาก 2 ส่วน คือ 1.สินค้ากลุ่มไฮเทค ซึ่งภาคการผลิตของไทยยังไม่สามารถยกระดับเทคโนโลยีขึ้นไปแข่งขันได้ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าที่เกี่ยวของกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) 2.สินค้าที่ใช้แรงงานมาก ซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้

ดังนั้น สถานการณ์ของภาคการผลิตของไทยจึงถูกบีบด้วยการผลิตของกลุ่มไฮเทคและกลุ่มที่ใช้แรงงานสูง ซึ่งจำเป็นที่ภาคการผลิตของไทยจะต้องปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต เช่น สินค้ากลุ่มฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่กำลังเปลี่ยนเทคโนโลยีจากฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ 5.25 เป็นโซลิดสเตทไดรฟ์ โดยผู้ผลิตในไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านการผลิต

ผลผลิตอุตสาหกรรมติดลบ 18 เดือน

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าววา ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มี.ค.2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว5.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39 % ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปี 2567 อยู่ที่ 100.85 หดตัว 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 60.45%

สาเหตุหลักมาจากการผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 8 จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการส่งออกลดลงเกิดจากความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้าในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย) ปรับตัวลดลง

รวมถึงการผลิตยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 22.63% จากรถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถยนต์นั่งขนาดใหญ่ และเครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก ตามการหดตัวของตลาดในประเทศที่ลดลง 33.15% จากกำลังซื้อที่อ่อนแอและหนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง 

วมทั้งสถาบันการเงินยังคงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อต่อไป ประกอบกับการส่งออกลดลง 9.33% จากรถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์ขนาดเล็ก หลังความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้า อย่างฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ปรับตัวลดลง

ธปท.ชี้ส่งออกติดลบตามที่คาดไว้

นางปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การส่งออกเดือน มี.ค.2567 ที่ติดลบ 10.2% ถือว่าเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มองไว้ที่คาดว่าจะเห็นการฟื้นตัวของภาคส่งออกฟื้นตัวได้ช้าๆหลังจากนี้ 

ในขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยที่ออกมาในช่วงไตรมาสแรกปีนี้โดยรวมถือว่าปรับตัวดีขึ้นหากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากแรงขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้การจ้างงานในภาคบริการยังขยายตัวได้ ส่วนการลงทุนเอกชนปรับตัวดีขึ้น โดยภาพรวม ถือว่าเป็นตัวเลขสอดคล้องกับที่ธปท. ประเมินไว้

โดยมองว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกจะเติบโตได้ราว 1% ทั้งหากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ส่วนมูลค่าส่งออกที่ติดลบ 10.2% จากเดือนก่อนหน้า มาจากผลของฐานสูงปีก่อน ดังนั้นภาพเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสแรก ถือว่าไม่ได้ออกมาแย่มากนัก

ส่วนการปรับตัวเลขเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพีของกระทรวงการคลังลดลง ส่วนหนึ่งมองว่ายังสอดคล้องกับที่ธปท.ประเมินไว้ โดยทั้งปีธปท.ยังคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะยังเติบโตอยู่ที่ระดับประมาณการณ์เดิมที่ 2.6% ซึ่งยังไม่มีตัวเลข หรือปัจจัยใด ที่เซอร์ไพรส์ ที่เป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ

“หากเราดูข้อมูลเศรษฐกิจไทย ที่ออกมาไตรมาสแรกที่ออกมา โดยคาดขยายตัวราว 1% หากเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งทั้งปีที่ 2.6% ก็ยังอยู่ในวิสัยที่เราประเมินไว้ได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจจริงที่จะออกมาของสภาพัฒน์ สำหรับไตรมาสแรกอีกครั้ง ว่าภาพรวมจะเป็นอย่างไร แต่โดยรวมถือว่าใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้”

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย ในระยะข้างหน้า ประเมินว่า จะได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายภฝฦที่จะเริ่มใช้จ่ายได้เต็มที่มากขึ้น ที่จะเป็นแรงส่งสำคัญ ที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง

เผยเศรษฐกิจเดือน มี.ค.ดิ่ง

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจไทย เดือนมี.ค. ถือว่าชะลอตัวลง หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากอุปสงค์และท่องเที่ยวที่เร่งไปมาก ในเดือนก่อนหน้า และปัจจัยพิเศษ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ เช่น มาตรการ ลดหย่อนภาษี Easy E-receipt

โดยภาพเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนมี.ค. จำนวนนักท่องเที่ยว ลดลงเหลือ 3ล้านคน จากเดือนก่อนหน้าที่ 3.4 ล้านคน จากการเร่งเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจีน และมุสลิม ที่เป็นช่วงถือสินอด ทำให้เร่งการท่องเที่ยวไปแล้ว ในเดือนก่อนหน้านี้ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลให้รายรับจากการท่องเที่ยวในรูปดอลลาร์ลดลงด้วย ราว 6.9%

อย่างไรก็ตาม หากดูจำนวนนักท่องเที่ยวในไตรมาสแรก โดยรวมอยู่ที่ 9.4 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นมาก หากเทียบกับไตรมาส 4 ที่จำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ระดับ 8.4 ล้านคน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นราว 17.3%จากไตรามาสก่อน จากการเร่งตัวของนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก ซึ่งมาจากช่วงเทศกาลตรุษจีน และมาตรการฟีวีซ่า

เงินบาทอ่อนค่า 7.8% เป็นปัจจัยชั่วคราว

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนของไทย พบว่าอ่อนค่ามากขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน เงินบาทอ่อนค่าลง 7.8% โดยอ่อนค่ามากขึ้น หากเทียบกับบางประเทศในภูมิภาค ส่วนใหญ่มาจากการที่นักลงทุนมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงช้ากว่าคาด ทำให้เงินลงทุนส่วนใหญ่ ไหลกลับเข้าไปสู่ดอลลาร์ หนุนให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นราว 4.4% หากเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

โดยการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนของไทย ถือว่าเคลื่อนไหวตามค่าเงินในภูมิภาค และอ่อนค่ารองจากเงินเยน ญี่ปุ่น ที่อ่อนค่าเกือบ 10% ทั้งนี้ การอ่อนค่าของเงินบาท ส่วนหนึ่งได้รับแรงกดดันจากเชิงฤดูกาล ที่เป็นช่วงการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน และโลซีซั่นของภาคการท่องเที่ยว ที่กดดันเงินบาทให้อ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยชั่วคราว โดยมองว่าหลังจากนี้ หากนักท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น ค่าเงินบาทจะมีแนวโน้มดีขึ้นได้

“การอ่อนค่าลงของค่าเงินบาทในเดือน เม.ย.และไตรมาสแรก ถือว่าอ่อนค่า หากกว่าหลายสกุลเงินในภูมิภาค จากดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น แต่ยังถือว่าอ่อนค่าระดับกลางๆ กับค่าเงินในภูมิภาค ส่วนหนึ่งมาจากตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ออกมาชะลอตัวด้วย และเป็นการอ่อนค่าของเงินบาทมาจากเชิงฤดูกาลด้วย ที่เป็นช่วงการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียน และเป็นช่วงโลซีชั่นของภาคการท่องเที่ยว ที่เป็นแรงกดดันต่อเงินบาท ให้อ่อนค่ามากขึ้น”

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...