ปรับ ครม. เพื่อใคร

การเปลี่ยนโฉมหน้าคณะรัฐมนตรี “เศรษฐา 2” หน้าตาดี หรือขี้เหร่ คงรับรู้กันแล้วทั่วบ้านทั่วเมือง ในอดีตที่ผ่านมา ภาพจำของการปรับ ครม.ส่วนใหญ่มักปรับเพื่อเอื้อผลประโยชน์พวกพ้อง พรรคการเมือง แต่ถ้ามองไม่ร้ายเกินไป ก็คิดว่า การปรับครั้งนี้ คงเพื่อ Put the right man on the right job กระมัง แต่คงต้องใช้เวลาในการพิสูจน์ว่าเป็นแบบนี้จริงไหม 

รัฐบาลเศรษฐา วันนี้ตกอยู่ในห้วงสถานการณ์วิกฤติรอบด้าน โลกที่เปลี่ยนแปลง ความท้าทายใหม่ก็ดาหน้าเพิ่มเข้ามา 

โดยเฉพาะสถานการณ์เศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง หนี้ครัวเรือน ภัยแล้ง โลกร้อน แรงงาน ภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนต้องได้ทีมบริหารรัฐบาลที่เก่ง โฉมหน้า ครม.ที่ปรับครั้งล่าสุด

หากสามารถแสดงฝีมือ พร้อมเผชิญหน้ายิงยุทธศาสตร์เจ๋งๆ สู้กับความท้าทายเหล่านี้ได้ ก็นับว่าปรับแล้วมีประโยชน์ ...แต่กลัวจะไม่ใช่เช่นนั้น

ล่าสุดกระทรวงการคลัง เปิดตัวเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.4% (อยู่ในช่วงคาดการณ์ที่ 1.9 ถึง 2.9%) โดยคาดการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งนี้ได้ปรับลดลงเมื่อเทียบกับครั้งที่แล้วของกระทรวงการคลัง ณ เดือน ม.ค. 2567 ที่ 2.8% เนื่องจาก 4 ปัจจัยหลัก ประกอบด้วย

1.การส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

2.การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังหดตัว สะท้อนจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) โดยเฉพาะหมวดยานยนต์และหมวดชิ้นส่วนแผงวงจรในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567

3.ภาคเกษตรได้รับผลกระทบภัยแล้งและปรากฏการณ์เอลนีโญ

4.การคลังยังคงใช้การเบิกจ่ายตามงบประมาณตามปี 2566 ไปพลางก่อน

แม้กระทรวงการคลังจะยังเชื่อมั่นว่า เสถียรภาพภายในประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ 0.6% ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ที่ 0.1 ถึง 1.1%) ตามการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าอาหารบางกลุ่ม อีกทั้งราคาสินค้าในหมวดพลังงานที่ลดลงจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพภาครัฐ

ขณะที่เสถียรภาพภายนอกประเทศ ดุลบริการมีแนวโน้มจะเกินดุลตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่คาดว่าจะเดินทางเข้ามาในปีนี้ราว 35.7 ล้านคน ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2567 มีแนวโน้มกลับมาเกินดุล 9.3 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 1.8% ของ GDP รวมทั้งเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวดีขึ้น

แต่เรากลับมองว่า  สถานการณ์เศรษฐกิจจากนี้จะเข้าสู่วิกฤติมากขึ้น เป็นปมใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข โดยเฉพาะปัญหาปากท้องของคนระดับรากหญ้า เอสเอ็มอี ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่

ปัญหาผิดนัดชำระหนี้ ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ภาวะหนี้เรื้อรัง ที่จะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจประเทศ ความเชื่อมั่นลดลง บรรยากาศการลงทุนไม่ดี ฉุดรั้งเศรษฐกิจ ปัญหาเหล่านี้ รอพิสูจน์ฝีมือ ครม.เศรษฐา 2 ว่า จริงๆ แล้วปรับครม.ครั้งนี้ เพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อ หรือแค่ปรับเพื่อสนองความต้องการของกลุ่ม หรือ “ใครบางคน” เท่านั้น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...