‘ร้านสะดวกซื้อ’ VS ‘ร้านรายย่อย’ รัฐปัดดิจิทัลวอลเล็ตเอื้อเจ้าสัว-นายทุน

ประเด็นหนึ่งที่มีการถกเถียงกันอย่างมากในสังคมเกี่ยวกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้กับประชาชน 50 ล้านคนของรัฐบาลก็คือการที่ร้านค้าที่เป็นร้านสะดวกซื้อที่เข้าสู่โครงการนั้นจะเป็นการเอื้อให้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่หรือไม่ เนื่องจากร้านสะดวกซื้อบางรายนั้นมีเครือข่ายร้านค้าสาขาอยู่จำนวนมากทั่วประเทศ

ในประเด็นนี้ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  นายชัย วัชรงค์  กล่าวว่าโครงการนี้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่สามารถรับเงินดิจิทัลในการใช้จ่ายรอบแรกจากประชาชนภายใน 6 เดือนตามหลักเกณฑ์ของโครงการนั้นกำหนดให้เป็นร้านค้ารายย่อยทั้งในระบบภาษี และไม่ได้อยู่ในระบบภาษี

โดยร้านค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีจะไม่สามารถถอนเงินดิจิทัลเป็นเงินสดได้ แต่สามารถนำเงินดิจิทัลไปซื้อสินค้าที่เป็นทุนได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในการซื้อสินค้ารอบที่ 1  ส่วนร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีสามารถที่จะถอนเงินดิจิทัลออกมาเป็นเงินสดได้จะต้อง เป็นร้านค้าที่อยู่ในระบบภาษีที่ ได้แก่

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) หรือ
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) หรือ
  •  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) เฉพาะผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร

ซึ่งจะเห็นว่าโครงการนั้นจะเห็นว่าสามารถให้ร้านค้าเข้าร่วมได้หลากหลายโดยรัฐบาลไม่ได้มีการปิดกั้นโครงการ ส่วนข้อกล่าวหาเรื่องร้านสะดวกซื้อว่าจะมีเงินไหลเข้ากระเป๋าเจ้าสัว อย่าง 7/11 ได้ไปเช็คตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์มีสาขา 14,500 สาขา

โดยครึ่งหนึ่งเป็นของบริษัทซีพีออลล์ ส่วนอีกครึ่งเป็นแฟรนไชส์ ส่วนร้านค้าย่อยขนาดเล็กทที่เคยลงทะเบียนโครงการคนละครึ่งมีมากถึง 1.2 ล้ายรายก็เข้ามาร่วมได้ และถ้าเทียบจำนวนร้านสะดวกซื้อกับร้านค้ารายย่อยมีมากกว่าเป็นหมื่นเท่า มีเงินใช้จ่ายในระบบทั้งหมด 4.1 ล้านล้านบาท เทียบกับร้านสะดวกซื้อที่ มีเงินใช้จ่าย 380,000 ล้านบาท

"รัฐบาลไม่ได้เอาเงินกระตุ้นเศรษฐกิจไปเข้ากระเป๋าใคร และร้านเหล่านี้อยู่ในระบบภาษีจะเกิดประโยชน์กับประเทศ"

นายชัยกล่าวด้วยว่าโครงการนี้จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2568 เพิ่มขึ้น 1.2-1.8% จะเกิดแรงกระเพื่อมด้านเศรษฐกิจไปอีก 2-3 ปี ตนเองได้ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการคลังว่าจะทำให้เกิดเงินหมุน 3.2-3.5 รอบ และทำให้ตัวเกิดตัวทวีคูณทางการคลัง 1.2-1.4 เท่าของเม็ดเงินที่ใส่ลงไป 500,000 ล้านบาท เช่นถ้า 1.3 เท่าก็เท่ากับ  650,000 ล้านบาท จะมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจไปอีก 3 ปี 

อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าจับตาก็คือเมื่อรัฐบาลต้องการให้โครงการนี้เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจ แต่การหมุนเงินจากร้านค้าสะดวกซื้อขนาดใหญ่ที่มีอำนาจต่อรองกับซัพพลายเออร์สูงมาก ในการจ่ายเงินให้กับคู่ค้าที่ใช้ระยะเวลานานกว่าธุรกิจและร้านค้าขนาดเล็กทั่วไป โครงการนี้จะทำให้การหมุนเงินในระบบเศรษฐกิจเป็นไปอย่างที่รัฐบาลคาดหวังหรือไม่ ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกันเพราะหากเงินหมุนช้าโครงการนี้ก็ประสบความสำเร็จได้ยาก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...