อุ้มไม่อุ้ม 'ดีเซล'

มีการประเมินว่าถ้าสงครามรุนแรงจนถึงขั้นอิหร่านต้องปิดช่องแคบฮอร์มุซ กระทบต่อการขนส่งน้ำมัน อาจทำให้ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกทะลุระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไปจนถึง 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ ซึ่งเชื้อเพลิงหลักของประเทศไทยมีการนำเข้ามาทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากอิสราเอลหรือปาเลสไตน์

โดยปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากประเทศกลุ่มตะวันออกกลางประมาณ 57% และในส่วนของ LNG นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 33% ว่ากันว่าปัจจุบันไทยมีน้ำมันเชื้อเพลิงสำรองใช้ได้กว่า 2 เดือน แบ่งเป็น น้ำมันดิบเฉลี่ย 33 วัน อยู่ระหว่างขนส่งอีก 14 วันน้ำมันสำเร็จรูป 20 วัน ส่วนก๊าซหุงต้ม (LPG) ใช้ในภาคครัวเรือน 21 วัน 

ช่วงที่สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกผันผวน รัฐบาลได้ใช้มาตรการรับมือราคาน้ำมันดีเซล ด้วยการลดภาษีดีเซล 1 บาทเพื่อชดเชยราคาน้ำมันดีเซลอยู่กว่า 4 บาทต่อลิตร คิดเป็นจำนวนเงินที่กองทุนน้ำมันฯ ต้องจ่ายประมาณ 8,000-10,000 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสุทธิ ณ วันที่ 14 เม.ย. 2567 ติดลบ 103,620 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 56,407 ล้านบาท ส่วนก๊าซ LPG ติดลบ 47,213 ล้านบาท ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุด 19 เม.ย. 2567

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567  โดยใช้กลไกของภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซลในตลาดโลกยังคงตัวอยู่ระดับสูง 104.03 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (เฉลี่ยวันที่ 1 - 20 มี.ค. 2567) เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลภายในประเทศสอดคล้องกับราคาตลาดโลกมากขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป

ต้องรอดูว่ารัฐบาลจะพิจารณาขยายเวลาปรับลดภาษีสรรพาสามิตน้ำมันดีเซล 1 บาทต่อลิตร ที่จะสิ้นสุดวันที่ 19 เม.ย. 2567 ออกไปอีก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน และภาคธุรกิจช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวหรือไม่

โดยว่ากันว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (18 เม.ย. 2567) จะมีการขออนุมัติต่อมาตรการลดภาษีดีเซล ซึ่งไม่ว่าจะลดกี่บาท ก็จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ หรือการอนุมัติงบประมาณกลางเพื่อลดภาระกองทุนน้ำมันฯ เพื่ออุดหนุนราคาดีเซลและก๊าซหุงต้ม ลดการชดเชยราคาดีเซล เพื่อเพิ่มเพดานราคาให้สูงเกินลิตรละ 30 บาท โดยทยอยปรับขึ้นตามกลไกตลาดเป็นลิตรละ 31-32 บาท หรือขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ จากที่ได้รับอนุมัติวงเงินไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เพื่อชำระให้คู่ค้าน้ำมันมาตรา 7 และจ่ายดอกเบี้ยธนาคารรัฐ 3 แห่งเดือนละ 200-250 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามไม่ว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาบริหารจัดการ ซึ่งก็จะอยู่บนพื้นฐานการนำเงินในอนาคตมาใช้ และต้องเป็นภาระงบประมาณที่ต้องจัดเก็บรายได้มาใช้คืนในอนาคต ดังนั้นการตัดสินใจดำเนินการใดๆ จึงต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและมีมาตรการอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเพื่อรักษาความมั่นคงทางการคลังของประเทศ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...