เปิดบทวิเคราะห์ เจาะตลาดเวียดนาม โอกาสทองธุรกิจไทย ซื้อใจลูกค้า 98 ล้านคน

ปัจจุบันประเทศเวียดนาม ถือเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามจะขยายตัวถึง 7% ในปี 2024 และขยับสูงขึ้น ถือเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยที่จะมุ่งสู่ตลาดเวียดนามเพื่อขยายการเติบโตในอนาคต

ในงานสัมมนา The Bridge Forum Vietnam Market Insights ได้นำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจ จากผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เพื่อติดอาวุธให้ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยพร้อมบุกตลาดเวียดนาม

บทวิเคราะห์ ภาพรวมตลาดเวียดนามที่น่าสนใจ

แคสเปอร์ เสริมสุขสัน ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SEA Bridge เผยว่า ภายในปี 2030 อาเซียนจะเป็นตลาดอันดับที่ 4 ของโลก ด้วยประชากรมากกว่า 720 ล้านคน ซึ่งประเทศเวียดนามมีประชากรทั้งหมด 98 ล้านคน อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ถือว่าชาวเวียดนามอายุยังน้อยสามารถที่จะพัฒนาได้อีกไกล สิ่งที่น่าสนใจคือประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ที่ชาวเวียดนามสนใจมาเที่ยวอีกด้วย

ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม และผู้จัดการทั่วไป ธนาคารกรุงเทพ เวียดนาม เสริมว่า แผนของเวียดนามวางไว้ว่าภายในปี 2045 จะกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว คนในประเทศจึงเริ่มมีกำลังซื้อ โดยจะเพิ่มขึ้นถึง 50 ล้านคน ในปี 2035 โดยมี 3 เสาหลักที่เอื้อต่อการพัฒนา ได้แก่ 

  • Strict Enforcement of Law กฎหมายที่เข้มงวด ทำให้คนเป็นระเบียบและไม่มีการคอร์รัปชันเกิดขึ้นในสังคม
  • Human Resources ทรัพยากรมนุษย์เข้มแข็งมาก มีความพยายามและทำงานหนัก
  • Government การปกครองของเวียดนาม มีการมองโอกาสก้าวหน้า สร้างความเจริญ ทำให้ประชากรอยู่ดีกินดี และทำให้ต่างชาติสนใจมาลงทุน

โอกาสลงทุนในเวียดนาม

วิมล ปั้นคง รองผู้อำนวยการ (วิชาการ) สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา ได้แชร์มุมมองจากประสบการณ์การทำงานที่ประเทศเวียดนามว่า ตลาดเวียดนามน่าสนใจเป็นอันดับที่ 2 รองจากพม่า เนื่องจากตลาดเวียดนามมีการแข่งขันและความท้าทายสูง มีคู่แข่งต่างชาติเยอะ เวียดนามจึงใช้มาตราการกีดกันภาษีมากที่สุดในอาเซียน ทำให้กระบวนการนำเข้าซับซ้อน 

ทั้งนี้ คนเวียดนามมีความกระตือรือร้นต่อการมีส่วนร่วมในการลงทุนของไทย จึงควรนำวัฒนธรรมไทยมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสินค้า หรือธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตร เนื่องจากคนเวียดนามชอบความเป็นไทย ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถด้านการท่องเที่ยว การบริการ และการเกษตร ต้องใช้จุดเด่นเหล่านี้มาเป็นจุดขาย สร้าง Benefit และเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน

ปิยะพงศ์ จริยเศรษฐพงศ์ ที่ปรึกษาสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม เสริมว่า ประเทศเวียดนามมีพรรคการเมืองเดียว เป็นการปกครองแบบเบ็ดเสร็จ สื่อต่าง ๆ จึงถูกควบคุมโดยรัฐบาล การจะลงทุนในจังหวัดใดต้องดูให้ดี นอกจากนี้เวียดนามมีกฎหมายเยอะมาก ต้องทำความเข้าใจ รวมถึงควรสร้างความสัมพันธ์กับคนเวียดนามแบบ Casual ด้วย ต้องสร้างตัวตน ให้ความสำคัญกับตำแหน่ง และวางตัวให้เป็นมืออาชีพ

พฤติกรรมของผู้บริโภคเวียดนาม

ธนียา ฟูเจริญ อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงฮานอย ได้ให้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคเวียดนาม ดังนี้

  • ภาคเหนือ มี Loyalty กับแบรนด์สูง
  • ภาคกลาง มีแนวโน้มคล้อยตามสูง
  • ภาคใต้ พร้อมจะทดลองสินค้าใหม่ ๆ ตามคุณภาพและความน่าสนใจ
  • คนเวียดนามยุคใหม่เข้าถึงได้ด้วยสื่อดิจิทัล

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการให้บริการด้านวิเคราะห์ข้อมูลโซเซียลในประเทศไทย เผยโซเชียลเทรนด์ (Social Trends) ในประเทศเวียดนาม ที่น่าสนใจ

  • 8 ใน 10 ของคนเวียดนามเล่น Internet และใช้ Social Media
  • คนเวียดนามกว่าครึ่งชอบ Shopping Online 
  • E-Commerce Industry ของเวียดนามกำลังเติบโต
  • ผู้บริโภคชาวดิจิทัล (Digital Consumer) ไม่รู้ว่าตัวเองอยากได้อะไร หรือมองหาอะไรเฉพาะเจาะจง และมีการ Shopping Online ผ่าน Social Media Platform อย่าง Facebook และ TikTok 
  • คนเวียดนามมี Social Trend Cycle ประจำปี เช่น เดือนมกราคม Lunar New Year เดือนมีนาคม Happy Women’s Day, เดือนกันยายน Back to School, Mid Autumn เป็นต้น
  • ภาษาเป็นสิ่งสำคัญ ต้องทำความเข้าใจกับภาษาท้องถิ่น หรือ Slang Meme เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคท้องถิ่น (Local Consumer)

กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อคนเวียดนาม

กฤษฎา ตั้งกิจ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ปันโปรโมชั่น จำกัด เล่าถึงเทคนิคและประสบการณ์ที่ได้จากการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ Nghien Thai (เหงียนไทย) ที่เวียดนาม 

คอนเทนต์ที่คนเวียดนามสนใจมากที่สุด

  • อาหาร 
  • สินค้าของไทย
  • วัฒนธรรม
  • ท่องเที่ยว

รูปแบบเนื้อหาที่โดนใจ
ความสนุก  ความตลก ชวนคุย สร้างคอมมูนิตี้ หรือพื้นที่พูดคุย เปิดโอกาสให้พูดคุย สร้าง Engagement ร่วมกัน เช่น มาเมืองไทยอยากทำอะไร?

เข้าถึงคนเวียดนามด้วยกลยุทธ์ Localization

  • Localize ใช้ภาษาเวียดนามได้อย่างกลมกลืน เป็นธรรมชาติ และเป็นส่วนหนึ่งของคนเวียดนามด้วยการใช้ Slang Meme
  • Local Team มีทีมงานเป็นคนเวียดนาม สามารถให้ Insights ที่แท้จริงได้ดี
  • Long Term สร้างคอนเทนต์โดยหาจุดเชื่อมโยงระหว่างคนไทยและคนเวียดนาม รวมถึงการสร้างคอมมูนิตี้ร่วมกันผ่านคอนเทนต์ ที่สำคัญต้องทำให้เกิด Success Case ให้ได้

นอกจากนี้ ผศ.ดร. มานา ปัจฉิมนันท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในมุมมองและการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสาร โดยก่อนทำธุรกิจควรวิเคราะห์ตลาด ทั้งในมุมของความต้องการลูกค้า และสิ่งที่แบรนด์สามารถตอบโจทย์ลูกค้า รวมทั้งศึกษาคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาดเพื่อหา Winning Zone

อรวรรณ กิตติธนนิรันดร์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด  Nghien Thai (เหงียนไทย) เสริมเรื่องกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์ให้โดนใจคนเวียดนามต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูล Insights เพื่อนำมาปรับให้เข้ากับเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ที่สำคัญต้อง Keep it simple

 


อ้างอิง : งาน The Bridge Forum Vietnam Market Insights

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...