ThaiBMA เผยยอดออกหุ้นกู้ไตรมาส1/67 วูบ 24% เหตุบ.ใหญ่หันระดมทุนแหล่งอื่น

นายสมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 ตลาดตราสารหนี้ไทยมีมูลค่าคงค้างเท่ากับ 17ล้านล้านบาท ขยายตัว 3%จากสิ้นปีที่แล้ว จากการเพิ่มขึ้นของตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลและ ธปท.เป็นหลัก ในส่วนของการออกตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาว (หุ้นกู้ระยะยาว) มีมูลค่า 207,126 ล้านบาท ลดลง  24% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

สาเหตุจากบริษัทขนาดใหญ่ เรตติ้งA  ยังมีเงินสดในมือค่อนข้างมาก  และหากแหล่งระดมเงินในช่องทางอื่น เช่น  ยังมีวงเงินกู้แบงก์เหลืออยู่ ที่ยังมีต้นทุนดอกเบี้ยถูกกว่าออกหุ้นกู้ แม้จะมีแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ย แต่ปัจจุบันดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง ทำให้เห็นกลุ่มนี้ชะลอการออกหุ้นกู้ระยะยาว รอดอกเบี้ยปรับลดลง ก่อน

"เรามองว่า การปรับลดลงสมเหตุสมผลกับการบริหารความเสี่ยงให้เหมาะสมกับภาวะตลาด และ หุ้นกู้ที่ออกส่วนใหญ่กว่า 93% อยู่ในกลุ่ม Investment gradeกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการออกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เงินทุนและหลักทรัพย์ และอาหารและเครื่องดื่ม  อีกทั้งเชื่อว่า เมื่อดอกเบี้ยลดลงแล้ว จะกลับมาสนับสนุนตลาดหุ้นกู้ ดังนั้นเรายังคงยอดออกหุ้นกู้ปีนี้ไว้ที่ 900,000 ล้านบาท ถึง1 ล้านล้านบาท ตามเป้าหมายเดิม"

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย (Government bond yieldcurve) ในไตรมาส 1 ปี 2567 มีการปรับตัวลดลงในรุ่นอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปในทิศทางเดียวกับอัตราเงินเฟ้อและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยBond yield รุ่นอายุ 2 ปี ปรับลดลง 19 bps. 5 ปี ลดลง 21 bps. และ 10 ปี ลดลง 19 bps. จากสิ้นปี 2566 มาอยู่ที่ 2.15% 2.24% และ 2.51% ตามลำดับ ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 

อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate bond yield curve) ในไตรมาส 1 ปี 2567 อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาคเอกชนรุ่นอายุ5 ปี กลุ่มอันดับเครดิต AAA ถึง A ปรับลดลง 15-21 bps. จากสิ้นปี 2566 โดยอันดับเครดิต AAA ปรับลงมาอยู่ที่ 2.90% AA ที่ 3.17% และ A ที่ 3.44% ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 ขณะที่หุ้นกู้อันดับเครดิต BBB+ และ BBB มีการปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4.68% และ 5.46% ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนถึงพฤติกรรม Flight to quality ของผู้ลงทุนที่มีความระมัดระวังในการลงทุนมากขึ้น

กระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศ (Fund flow)ของนักลงทุนต่างชาติในไตรมาส 1 ของปี 2567 เป็นการขายสะสมสุทธิตราสารหนี้ไทยจำนวน 34,305 ล้านบาท ทำให้มีการถือครองตราสารหนี้ไทยเท่ากับ 9 แสนล้านบาท ณ สิ้นไตรมาส 1

ปี 2567 คิดเป็นสัดส่วน 5.3% ของมูลค่าคงค้างตลาดตราสารหนี้ไทย โดยตราสารหนี้ไทยที่ผู้ลงทุนต่างชาติถือครองมีอายุคงเหลือเฉลี่ย 8.8 ปี เพิ่มขึ้นจาก 8.6 ปี เมื่อสิ้นปี 2566

นายสมจินต์ กล่าวถึง ผลการสำรวจการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในปี 2567 ที่ผู้ร่วมตลาดส่วนใหญ่คาดว่า กนง. จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายประมาณ 2 ครั้ง รวม 0.5% ในปี 2567

โดยมีโอกาสสูงที่ กนง.จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบเดือนมิถุนายนนี้

สำหรับการคาดการณ์ Bond yield ไทย ผู้ตอบแบบสอบถามคาดว่าในปี 2567 Bond yield ไทยรุ่นอายุ 5 ปี และ 10 ปี อาจปรับตัวลดลงเฉลี่ย 5-10 bps. จากสิ้นไตรมาส 1 ปี 2567 

มาอยู่ที่ 2.13% และ 2.44% ตามลำดับ ณ สิ้นปี 2567 โดยปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อ Bond yield ในอนาคตคือ ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ และสภาวะเศรษฐกิจของไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...