แบงก์ชาติ เปิดดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจ มี.ค. ฟื้น จีนกลับมา สะสมสต๊อกสินค้า

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดรายงานดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจ ในเดือน มี.ค. 2567 โดยพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคม 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต โดยดัชนีฯ เคลื่อนไหวใน ระดับใกล้เคียง 50 ต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2565 

สําหรับความเชื่อมั่นใน อีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีฯ ลดลงจากภาคที่มิใช่การผลิตเป็น สําคัญ ส่วนหนึ่งจากการเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว

โดยในเดือนมีนาคม 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 49.6 จากการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นในเกือบทุก องค์ประกอบ ทั้งนี้ ดัชนีฯ อยู่ในระดับใกล้เคียงระดับ 50 อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2565 สําหรับความเชื่อมั่นในภาคการผลิต ปรับเพิ่มขึ้นในหลาย หมวดธุรกิจ 

นําโดยกลุ่มผลิตยางและพลาสติก จากการกลับมาสะสมสต็อก ยางของจีน และความต้องการใช้บรรจุภัณฑ์ พลาสติกสําหรับผลิตสินค้า อุปโภคบริโภค ส่วนความเชื่อมั่นของกลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับเพิ่มขึ้น ในเกือบทุกองค์ประกอบ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นด้านการส่งออกที่ดีขึ้น ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน 

ขณะที่ ความเชื่อมั่นในภาคที่มิใช่การผลิต ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตามความเชื่อมั่นของกลุ่มการค้าส่งที่ดีขึ้นจาก ด้านผลประกอบการเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นของ ภาคที่มิใช่การผลิตมีแนวโน้มต่ำลงจากความเชื่อมั่นของภาคการค้าปลีก อสังหาฯ และขนส่งสินค้าเป็นสําคัญ

ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมลดลงมาอยู่ที่ 51.9 จาก 53.5 ในเดือนก่อน โดยเป็นการปรับลดลงจากองค์ประกอบด้าน การผลิต คําสั่งซื้อ และผลประกอบการ สําหรับความเชื่อมั่นในภาคที่มิใช่ การผลิตปรับลดลงมากในเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ 

นําโดยกลุ่มการค้า รวมถึง ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารที่ความเชื่อมั่นด้านปริมาณการให้บริการ ผลประกอบการ และคําสั่งซื้อปรับลดลงมาก ส่วนหนึ่งจากการเข้าสู่ช่วงนอก ฤดูกาลท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในภาคการผลิตทรงตัว โดย กลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ความเชื่อมั่นด้านการผลิตลดลง ส่วนหนึ่ง จากภาวะ El Niño ที่ทําให้วัตถุดิบทางการเกษตรมีปริมาณลดลง 

ขณะที่ กลุ่มผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเกือบทุกองค์ประกอบ คาดว่าจากปริมาณสินค้าคงคลังของคู่ค้าที่ทยอยลดลง ทั้งนี้ ดัชนี ความเชื่อมั่นของธุรกิจในภาคการผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่เหนือระดับ 50 ยกเว้น กลุ่มผลิตยานยนต์ที่อยู่ต่ํากว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ตาม ความเชื่อมั่นด้านคําสั่งซื้อและการจ้างงานที่ลดลงเป็นสําคัญ

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านการส่งออกในปัจจุบันปรับเพิ่มขึ้นมาก และ สูงกว่าระดับ 50 เป็นเดือนแรก จากกลุ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และยาง และพลาสติกเป็นสําคัญ เช่นเดียวกับความเชื่อมั่นด้านคําสั่งซื้อโดยรวมที่ ปรับดีขึ้นมาแตะระดับ 50 อีกครั้ง สําหรับความเชื่อมั่นด้านคําสั่งซื้อในอีก 3 เดือนข้างหน้าแม้ดัชนีฯ จะอยู่ในระดับสูงกว่า 50 ต่อเนื่อง แต่ในเดือนนี้ ปรับลดลงเป็นเดือนที่ 2

โดยปัญหามาจาก  ต้นทุนการผลิตสูงยังเป็นอุปสรรคอันดับแรกในการดําเนินธุรกิจ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 31 แต่ธุรกิจมีความกังวลลดลง 

ขณะที่ความ ต้องการจากตลาดในประเทศต่ำเป็นอุปสรรคอันดับรองลงแต่ธุรกิจ กังวลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จาก 2.7 ในเดือนก่อน
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...