'ทนง' แนะรัฐบาลทำ 'ดิจิทัลวอลเล็ต'ต้องมีกลไกหมุนเงินสร้าง 'เศรษฐกิจชุมชน'

วันนี้ (31 ส.ค.) ดร.ทนง พิทยะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในระหว่างเป็นประธานในพิธีการเปิดหลักสูตร หลักสูตร Wealth of Wisdom : WOW รุ่นที่ 3 “ขุมทรัพย์แห่งปัญญา วิถีแห่งการลงทุน” ตอนหนึ่งว่าประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในระยะเวลา ประมาณ 70 ปีที่ผ่านมาทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

โดยการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าทำได้ดีเศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่องยกเว้นปีที่มีปัญหาจากวิกฤติโดยในช่วงวิกฤติทั้ง 2 ครั้งประเทศไทยผ่านมาได้ทั้งต้มยำกุ้ง และวิกฤติโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 2 แสนล้านดอลลาร์

ซึ่งมาจากความสามารถของทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตามตนมองว่าวิกฤติโควิด-19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศระยะยาวมากกว่าช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเนื่องจากกระทบกับรายได้ และหนี้สินครัวเรือนรวมทั้งหนี้สินของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

โดยปัญหาจากโควิด-19 ทำให้ปัญหาของเศรษฐกิจไทยเห็นได้ชัดขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของปัญหาเรื่องรายได้ที่ยังมีความแตกต่างเหลื่อมล้ำมากโดยช่องว่างของผู้มีรายได้สูงและรายได้น้อยต่ำกันมากกว่า 20 เท่า หรือรายได้กว่า 80% ไปอยู่ในมือคนแค่  20%

ขณะที่ปัญหาหนี้สินครัวเรือนสูงมาก และเป็นผลวิกฤติจากโควิด-19 มาถึงปัจจุบันที่คนมีการกู้ยืมเงินมากขึ้นโดยปัจจุบันไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงกว่า 90% ของจีดีพี หนี้ครัวเรือนสูงถึง 16 ล้านล้าน เพิ่มขึ้นจาก 8 ล้านล้าน หรือเพิ่มกว่า 50% ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วมาก

“หนี้ครัวเรือนส่วนนี้คนจนต้องจ่ายดอกเบี้ยมากถึงปีละ 2 ล้านล้านบาท หรือเป็นหนี้ประมาณ 4 หมื่นบาทต่อคนต่อปี หรือจ่ายดอกเบี้ยเดือนละประมาณ 3,000 บาท ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อลดหนี้ลงให้เหลือประมาณ 13  - 14 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ทำให้หนี้ครัวเรือนลดลงเหลือ 70% ต่อจีดีพีซึ่งถือว่าไม่ได้สูงจนเกินไป”

ดร.ทนงกล่าวต่อว่าข้อเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาความยากจน รัฐบาลชุดใหม่ของคุณเศรษฐา ทวีสิน จำเป็นต้องต่อยอดนโยบายจากสมัยไทยรักไทย ซึ่งสามารถลงไปแก้ไขความยากจนของประชาชนในพื้นที่ ทำให้เงินทุนหมุนเวียน และสร้างตลาดสินค้าชุมชนเพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนั้นมีหลายนโนบายที่เกิดขึ้นเช่น กองทุนหมู่บ้านหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท และโอทอป สร้างรายได้ระดับชุมชน และช่วยลดหนี้ให้ประชาชนได้

ทั้งนี้ในสมัยรัฐบาลเพื่อไทยบอกว่าจะใช้เงินดิจิทัลมาทำนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตแจกคนละ 1 หมื่นบาท เป็นวงเงิน 5.6 แสนล้านบาท นั้นเท่ากับแจกเงินให้กับแต่ละหมู่บ้านประมาณ 6.5 ล้านบาท

ก็ต้องถามว่าถ้าจะทำจริงเงินจำนวนนี้สามารถสร้างความสามารถในการยกระดับเศรษฐกิจ หรือหมุนเวียนในชุมชนไปต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลา 4 – 5 ปีซึ่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อเนื่องได้หรือไม่ ซึ่งถ้าได้แบบนี้ก็ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนได้อย่างแท้จริง และเกิดผลิตภายในระดับชุมชนได้ เพราะหากทำแค่ให้การใช้จ่ายเงินก็จะหมุนออกจากชุมชนและออกจากประเทศไปโดยที่ไม่เกิดผลบวกต่อเศรษฐกิจได้มากพอ

“ถ้าจะทำดิจิทัลวอลเล็ตต้องถามว่าจะเพิ่มผลิตภาพเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้อย่างไร จะคิดแค่เป็นการทำเงินดิจิทัลโดยใช้บล็อกเชนอย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องทำให้เกิดการเพิ่มจีดีพีจากข้างล่างขึ้นมาจนถึงระดับประเทศ แล้วทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อเนื่องไม่ได้ถึงจะเกิดผลบวกต่อเศรษฐกิจทั้งระบบได้จริง”ดร.ทนง กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...