วิจัยพบ 70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ จุดเริ่มต้นจากติ่งเนื้อ!

ติ่งเนื้อเยื่อยื่นออกมาจากผนังลำไส้ เรียกว่า Polyp เกิดจากการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณผิวหนังลำไส้ใหญ่ โดยก้อนเนื้อจะถูกกระตุ้นด้วยสารพิษที่อยู่ในอาหารโดยเฉพาะอาหารมัน ซึ่งมักจะเป็นผลมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเป็นเวลานานหลายปี ประกอบกับมีความผิดปกติที่ยีน หรือสารพันธุกรรมจนเกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกเล็กๆ ขึ้น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดมีก้าน (Pedunculated type) และชนิดไม่มีก้าน (Sessile type)

 

Freepik/ freepik
มะเร็งลำไส้

ทางการแพทย์ระบุไว้ว่า ยิ่งมีขนาดใหญ่โอกาสเป็นมะเร็งก็มีสูงขึ้น โดยติ่งเนื้อชนิดมีก้านขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ก่อนที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ดังนั้นถ้าสามารถตรวจพบติ่งเนื้อก่อนตั้งแต่ขนาดเล็ก และตัดออกให้หมดก็จะสามารถตัดวงจรการกลายเป็นมะเร็งได้

จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าประมาณ 70 % ของโรคมะเร็งลำไส้เกิดจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก (polyp) ที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อจนกลายเป็นมะเร็งในที่สุด การศึกษาของประเทศไทยเองพบว่าโอกาสตรวจพบติ่งเนื้อในประชากรที่มารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ30 โดยมากขึ้นตามอายุ ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีรายงานไว้ได้แก่ ผู้มีประวัติติ่งเนื้อในลำไส้หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว (โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคตั้งแต่อายุน้อยกว่า 50 ปี) โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง การรับประทานอาหารที่มีกากใยต่ำ เป็นต้น

ตรวจหาติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่

เนื่องจากอาการของติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ โดยทั่วไปมักไม่มีอาการแสดง การตรวจหาจึงสามารถทำได้โดย

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการส่องกล้องทางทวารหนัก เพื่อดูความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ หากพบติ่งเนื้อที่น่าสงสัยก็สามารถตัดติ่งเนื้อออกมาเพื่อตรวจผลทางพยาธิวิทยาได้ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดในการตรวจหาติ่งเนื้อ
  • การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Colonography) เป็นการตรวจที่เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติใดๆ แต่มีความต้องการที่จะตรวจคัดกรองโรค โดยการตรวจด้วยวิธีนี้จะเห็นทั้งภายในและภายนอกลำไส้ รวมทั้งอวัยวะในช่องท้องทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องส่องกล้องผ่านทางทวารหนัก แต่จะใช้การเป่าลมเข้าไปทางทวารหนักแทน

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

  • ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาระบายชนิดพิเศษ
  • ปรับชนิดของอาหาร โดยแนะนำให้รับประทานอาหารประเภทเหลวใส
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทผัก หรือผลไม้ อย่างน้อย 1 วัน เพื่อช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจ

ใครควรตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปีแต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
  • ประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว
  • ประวัติโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • ประวัติโรคมะเร็งหลายชนิดร่วมกันในครอบครัว

ดังนั้นการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ดีที่สุด คือ การตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นประจำสม่ำเสมอ ด้วยวิธีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ หรือการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง รวมถึงการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุลและปลอดภัยจากโรคร้าย

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ และ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...