คลังสินค้าโซนอีอีซีบูมรับดีมานด์ห้องเย็น-สินค้าอันตราย-อีวีมาแรง!

ท่ามกลางการบริโภคทั่วโลกที่ลดลง และความไม่แน่นอนที่ขยายเป็นวงกว้างช่วงครึ่งหลังปี 2566 ส่งผลกระทบธุรกิจโลจิสติกส์ และคลังสินค้าชะลอตัว! สะท้อนจากอัตราการครอบครองลดลง การดูดซับติดลบ 31,800 ตร.ม. เป็นครั้งแรกที่เกิดขึ้นในรอบ 5 ปี ขณะที่พื้นที่ครอบครองอยู่ที่ 4.81 ล้าน ตร.ม.

 มาร์คัส เบอร์เทนชอว์  กรรมการบริหาร หัวหน้าฝ่าย Occupier Strategy & Solutions ไนท์แฟรงค์ ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันอุปทานรวมของคลังสินค้าสำเร็จรูปแตะ 5.7 ล้าน ตร.ม. เพิ่มขึ้น 169,000 ตร.ม. เทียบครึ่งปีก่อน เพิ่มขึ้น 3.1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี และ 6.3% ปีต่อปี อุปทานใหม่ ได้แก่ คลังสินค้าเคอาร์ และอัลฟ่า แหลมฉบัง ชลบุรี, เฟรเซอร์ บางนา 2 ฉะเชิงเทรา, อีเอสอาร์ เอเชีย สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ และอัลฟ่า รังสิต-พหลโยธิน กม.33 ปทุมธานี

 อุปทานที่เพิ่มขึ้นมาจากการขยายโครงการที่มีอยู่ เช่น คลังสินค้าเคอาร์-บ่อวิน ชลบุรี และบิลด์เวลล์ ของอาร์บีเอฟ ปทุมธานี

การกระจายตัวของคลังสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 เขตหลัก ได้แก่ เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (BMR) มีส่วนแบ่งตลาดมากสุด 45% ของอุปทานคลังสินค้าทั้งหมด 41% อยู่ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ

ขณะที่อุปทานเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีส่วนแบ่งเป็นอันดับ 2 คิดเป็น 38% ของอุปทานคลังสินค้าโดยรวม โดยชลบุรีขึ้นนำ มีส่วนแบ่ง 25% ฉะเชิงเทรา 10% ส่วนเขตภาคกลาง อยุธยา เป็นศูนย์กลางการขนส่งภายในประเทศที่สำคัญคิดเป็น 13% ของพื้นที่คลังสินค้ารองลงมาคือปทุมธานี 4%


 

ช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อุปทานทุกเขตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ให้เช่าสุทธิในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพิ่มขึ้น 1% ครึ่งปีต่อครึ่งปี แตะ 2.52 ล้าน ตร.ม. เขตอีอีซี ขยายตัวมากสุดในครึ่งปีนี้ ที่ 4.4% แตะ 2.16 ล้าน ตร.ม. ส่วนเขตภาคกลางและภูมิภาคอื่นๆ เติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 3.8% ครึ่งปีต่อครึ่งปี รวมพื้นที่ให้เช่าทั้งหมด 944,700 ตร.ม.

อุปทานรวมของพื้นที่ให้เช่าที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567 อยู่ที่ 413,900 ตร.ม. ประกอบด้วย 218,100 ตร.ม. ในครึ่งปีแรก และ 195,800 ตร.ม. ในครึ่งปีหลัง พื้นที่ในอนาคตคิดเป็น 7% ของอุปทานปัจจุบัน ประมาณ 70% ของอุปทานในอนาคตตั้งอยู่ในพื้นที่อีอีซี รองลงมา คือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 25% แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการโยกย้ายพื้นที่เช่ามายังอีอีซี  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออัตราการครอบครองในเขตอื่นๆ

“แม้จำนวนพื้นที่เช่าลดลงเล็กน้อย แต่ในบางอุตสาหกรรม เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) และยานยนต์ ยังคงเป็นผู้เช่ารายสำคัญที่ต้องการคลังสินค้าสำเร็จรูปที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความคล่องตัวรวมทั้งการขยายตัวในอีคอมเมิร์ซ แม้ว่าความต้องการพื้นที่จะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเหมือนช่วงโควิด”

ประเทศไทย มีบทบาทในตลาดคลังสินค้ามากที่สุด โดยได้แรงสนับสนุนจากการบริโภคภายในประเทศ ตามมาด้วยบริษัทญี่ปุ่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมของไทยมานาน อันดับสาม บริษัทจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจประเทศที่ส่งผลกระทบวงกว้าง

ผู้ประกอบการเริ่มหันมาขยายธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจคลังสินค้าแบบดั้งเดิมสู่บริการเฉพาะทาง เช่น ห้องเย็น คลังสินค้าอันตราย ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วน (EV) ซึ่งเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...