กทพ. เตรียมเปิดพีพีพีทางด่วนสายใหม่ ศรีนครินทร์ - สุวรรณภูมิ

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นประธานประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 (ผลการคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสม) โครงการทางพิเศษสายศรีนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พร้อมระบุว่า กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ กทพ.รับมอบโครงการทางด่วนสายนี้มาจากกรมทางหลวง (ทล.) เมื่อกลางปี 2565 เพื่อให้ กทพ.เร่งรัดดำเนินโครงการแก้ปัญหาการจราจรติดขัด อีกทั้งเพื่อพัฒนาแนวเส้นทางให้เชื่อมต่อกับโครงข่ายทางด่วนอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา หลังจาก กทพ.ได้รับโอนโครงการจึงนำรายละเอียดโครงการมาทบทวนใหม่ และมองว่าควรจะมีแนวเส้นทางต่อจากทางพิเศษศรีรัช ผ่านทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ (ส่วน D) รัช ผ่านทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เพื่อให้เกิดการเดินทางในระบบทางด่วนแบบไร้รอยต่อ โดยการศึกษาแนวเส้นทางและรูปแบบก่อสร้างปัจจุบันใกล้แล้วเสร็จ กทพ.จึงเปิดเวลารับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ เพื่อพูดคุยกับประชาชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะนำแบบไปปรับให้สมบูรณ์

“ทางด่วนสายนี้การทางฯ เรานำผลการศึกษาจากกรมทางหลวงมาทบทวน และพบว่าเพื่อเป็นการลดผลกระทบประชาชน ลดต้นทุนการก่อสร้าง การทางฯ จะปรับลดขนาดงานก่อสร้างลง ปรับจากการสร้างทางด่วนสองฝั่ง ปรับเบี่ยงแนวเส้นทางมาเป็นทางด่วนฝั่งเดียว ซึ่งจะทำให้ลดวงเงินการลงทุนจากผลการศึกษาเดิมไปได้อีก”

อย่างไรก็ดี กทพ.ได้วางแผนดำเนินงานโครงการกำหนดศึกษาความเหมาะสมแล้วเสร็จภายในปี 2567 หลังจากกนั้นจะเริ่มขั้นตอนจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ควบคู่ไปกับการเสนอรูปแบบการลงทุนตาม พรบ.ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนปี 2562 ซึ่งคาดว่าขั้นตอนเหล่านี้จะแล้วเสร็จในปี 2568 ก่อนเปิดคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนช่วงระหว่างปี 2568 – 2570 ขณะเดียวกันจะเร่งดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน เพื่อเริ่มก่อสร้างโครงการในปี 2570 แล้วเสร็จเปิดบริการในปี 2573

เบื้องต้นแนวเส้นทางที่ กทพ.ทำการศึกษา มีระยะทาง 18 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้วงเงินลงทุนลดลงจากผลการศึกษาเดิมของ ทล.ประเมินไว้กว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยจะอยู่บนเขตทางเดิมของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 จุดเริ่มต้นจะเชื่อมต่อจากจุดสิ้นสุดของทางพิเศษศรีรัช ผ่านทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ข้ามทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 บริเวณด่านทับช้าง

หลังจากนั้นจะข้ามทางแยกต่างระดับร่มเกล้า จนกระทั่งเชื่อมต่อทางแยกต่างระดับสุวรรณภูมิ โดยแนวเส้นทางหลักจะไปทางทิศตะวันออกตามแนวทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ผ่าน ICD และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก่อนจะสิ้นสุดโครงการบริเวณก่อนถึงจุดตัดถนนฉลองกรุง

โดยการศึกษาและคัดเลือกรูปแบบทางเลือกที่เหมาะสมของโครงการ ประกอบด้วย ตำแหน่งทางยกระดับของโครงการที่เหมาะสม จะอยู่ทางทิศใต้ของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (ขวาทาง) โดยทางยกระดับมีจุดเริ่มต้น ต่อจากจุดสิ้นสุดของทางพิเศษศรีรัช (ส่วน D) บริเวณเกาะแบ่ง ระหว่างทางหลวงพิเศษและทางบริการ ของทั้ง 2 ทิศทาง ทิศทางละ 2 ช่องจราจร และจะวิ่งผ่านทางต่างระดับศรีนครินทร์

จากนั้นทางยกระดับด้านเหนือจะเบี่ยงแนว ลงมารวมกับด้านทิศใต้เป็น ถนนขนาด 4 ช่องจราจร (ไป - กลับ) ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ผ่านจุดตัดทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 และจะแยกออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งละ 2 ช่องจราจร ต่อทิศทางเช่นเดิม และจะวิ่งผ่านทางต่างระดับร่มเกล้า ผ่านทางแยกต่างระดับสุวรรณภูมิ โดยบริเวณนี้จะมีทางแยกออก เพื่อเชื่อมต่อทางต่างระดับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งขาเข้าและขาออก จากนั้นแนวเส้นทางหลักจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 และลดระดับลงเป็นถนนระดับดินที่จุดสิ้นสุดโครงการ

ส่วนรูปแบบจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ มีลักษณะเป็น Partial Cloverleaf Interchange ประกอบด้วย ทางขึ้น-ลง 4 ทิศทาง ส่วนรูปแบบจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณตำแหน่งทางขึ้น-ลงลาดกระบัง จะเป็นรูปแบบทางขึ้น-ลง บริเวณก่อนสะพานกลับหน้าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในปัจจุบัน ทั้ง 2 ฝั่ง

โดยที่ทางขึ้น ออกแบบเป็นทางขนาด 2 ช่องจราจรแยกจากทางหลักของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 อ้อมด้านข้างของสะพานกลับรถในปัจจุบัน ก่อนจะยกระดับเข้าสู่โครงการ ส่วนทางลง ออกแบบทางลงขนาด 2 ช่องจราจร อ้อมด้านข้างของสะพานกลับรถในปัจจุบันเข้าเชื่อมทางหลักของทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อสร้างทางพิเศษสายศรีนครินทร์ – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ พบว่ามีประเด็นสำคัญ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มีความเห็นว่าโครงการไม่ควรมีโครงสร้างอยู่ด้านบน เนื่องจากจะบดบังทัศนียภาพ อีกทั้งกังวลว่าจะเกิดผลกระทบด้านความปลอดภัยของประชาชน เปรียบเทียบจากกรณีงานก่อสร้างบนถนนพระราม 2 ที่มีโครงสร้างทางด่วนด้านบนและประชาชนได้รับผลกระทบ

อย่างไรก็ดี สจล.มีความเห็นอยากให้พิจารณาก่อสร้างทางด่วนสายนี้ในลักษณะอุโมงค์ใต้ดิน เพราะไม่บดบังทัศนียภาพ และยังแก้ปัญหาการจราจร ตลอดจนยังลดผลกระทบจากประชาชนระหว่างการก่อสร้าง ทั้งนี้ฝากให้หน่วยงานภาครัฐไปพิจารณา โดยต้องการเห็นการประเมินผลของภาครัฐเป็นการประเมินแบบ 360 องศา รับฟังความเห็นของประชาชน ไม่ใช่มีเป้าหมายในการดำเนินงานอยู่แล้ว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

คำเดียวสั้นๆ "แฟนสาวจาค็อบ" พูดต่อหน้า "รถถัง" หลังชวดแชมป์โลก

เผยคำพูด แฟนสาวของ จาค็อบ สมิธ ที่พูดต่อหน้า รถถัง จิตรเมืองนนท์ หลังฟาดปากกันในศึกมวยไทย รุ่นฟลายเว...

กรมวิชาการเกษตร ระดมแผนเตรียมพร้อม ส่งลำไยเจาะตลาดจีน

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนนโยบายผัก ผลไ...

ผลบอล "บาเยิร์น มิวนิก" ไม่พลาด บุกเชือด "ซังต์ เพาลี" รั้งจ่าฝูงบุนเดสลีกา

"เสือใต้" บาเยิร์น มิวนิก ทำได้ตามเป้า บุกมาเอาชนะ ซังต์ เพาลี เก็บ 3 คะแนนสำคัญ รั้งจ่าฝูง บุนเดสลี...

ส่องขุมทรัพย์ที่ดิน 'รถไฟ' 9.6 หมื่นล้าน จ่อประมูลสร้างรายได้เชิงพาณิชย์

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่มีทรัพย์สินที่ดินทั่วประเทศจำนวนมาก และยังเป็น...