กรมชลฯ เร่งฟื้นพื้นที่สีเขียวบนผืนน้ำ ตามแผนพัฒนาคลองบางไผ่

             นายสุรชาติ   มาลาศรี  ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ  กรมชลประทาน   กล่าวภายหลังลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่  อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรีว่า   ตามที่กรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาฯเพื่อทบทวนศักยภาพของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ และศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคลองบางไผ่และสาขา

เพื่อการเก็บกักน้ำการระบายน้ำ การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อออกแบบรายละเอียดเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดทำเอกสารประกวดราคาของโครงการฯ นั้น   ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับโดยเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ตลอดจนเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแผนดำเนินงานโครงการศึกษาฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย

            สำหรับ โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่  อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นั้น   กรมชลประทานได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาฯเพื่อทบทวนศักยภาพของปริมาณน้ำที่ไหลผ่านพื้นที่โครงการเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่โครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ และศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาคลองบางไผ่และสาขา เพื่อการเก็บกักน้ำการระบายน้ำ การเติมน้ำลงสู่ใต้ดิน และการใช้ประโยชน์เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และศึกษาหาข้อมูลเพื่อออกแบบรายละเอียดเพื่อใช้ในการก่อสร้างและจัดทำเอกสารประกวดราคาของโครงการฯ

  ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าตามลำดับโดยเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีการจัดประชุมปฐมนิเทศเพื่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนร่วม ตลอดจนเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนแผนดำเนินงานโครงการศึกษาฯ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย

       ทั้งนี้    โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดอาคารกักเก็บน้ำในลำน้ำคลองบางไผ่และสาขา ถือเป็นโครงการนำร่องในการบริหารจัดการน้ำผ่านการประยุกต์ใช้การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based solution: NbS) ของ สกพอ.  ซึ่งมีแผนเริ่มดำเนินงานเป็นระยะแรก เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่มีคุณภาพ และเพิ่มเสถียรภาพความมั่นคง

รวมทั้งเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมอันงดงามทางภูมิสถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งอาจเป็นการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำลักษณะขั้นบันได 2 จุด และอาคารประกอบ ที่สามารถกักเก็บน้ำต้นทุนได้ประมาณ 2 - 4 ล้านลูกบาศก์เมตร  

นอกจากนี้ กรมชลประทานยังได้ศึกษาแนวทางการออกแบบองค์ประกอบโครงการทางด้านสถาปัตยกรรมสีเขียว หรือ Green Design ได้แก่ Measures ที่ใส่เข้าไปเป็น Green Example

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...