'ขายสินค้า' หรือ 'รับจ้างทำของ' เช็กให้ชัวร์! ต้องเสียภาษีมาตราไหน

รายได้จากการค้าขายสินค้าในนามบุคคลธรรมดา ซึ่งมีทั้งที่รับมาขายไป หลายรายรับผลิตสินค้าและใช้วัสดุของตนเองด้วย และบางรายก็รับผลิตโดยใช้วัสดุของผู้ว่าจ้าง ซึ่งรู้หรือไม่ว่าลักษณะการดำเนินงานของกิจการแต่ละแบบ เวลายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะต้องยื่นภาษีคนละมาตรากัน

ดังนั้น ตอนนี้ใครที่กำลังจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มาเช็กให้ชัวร์ก่อนว่าลักษณะการดำเนินธุรกิจค้าขายสินค้าของคุณ จัดอยู่เงินได้พึงประเมินที่เท่าไหร่ หรือเรียกว่ามาตราไหนกันแน่ ดังจะอธิบายความแตกต่างของลักษณะการขายสินค้ากับรับจ้างทำของได้ตามมาตราดังนี้

  • เงินได้พึงประเมินที่เข้าลักษณะขายสินค้า

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 มาตรา 40(8) ได้แก่ รายได้ ค่าจ้างที่ได้จากการทำธุรกิจ และมีต้นทุนในการทำงานสูงคือมีค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าหรือรับงานทั้งปี เมื่อนำมารวมกันแล้วมีจำนวนเงินที่สูงกว่า 40% ของรายได้จาการขายสินค้าทั้งปี

หรือหากเป็นการประกอบธุรกิจที่ต้นทุนไม่สูง แต่ยังถือเป็นการประกอบธุรกิจมาตรา 40(8) จะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีสถานที่ตั้งสำนักงาอาคารชัดเจนเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง หรือมีสัญญาเช่า มีการจ้างลูกน้อง ลูกจ้างมีการลงทุนในการจัดหาอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าใช้จ่ายของร้านค้า สำนักงาน มีการจ่ายประกันสังคม มีค่าใช้จ่ายในการรับรองลูกค้า มีหนังสือจากบริษัทในการทำสัญญาติดต่อธุรกิจกัน มีการจ่ายค่านายหน้าในการดำเนินงานหาลูกค้า

ดังนั้น ลักษณะการค้าขายสินค้าแบบซื้อมาขายไป หรือรับผลิตสินค้าและใช้วัสดุของตนเอง โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกิน 40% หรือมีอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น มีลูกน้องค่าแรงที่ต้องจ่าย มีค่าเช่าสถานที่ เป็นต้น จึงจัดอยู่เงินได้พึงประเมินที่ 8 หรือมาตรา 40(8) ซึ่งในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาตรานี้ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2 แบบ คือ แบบหักค่าใช้จ่ายตามจริง (ต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย) และหักแบบเหมา 60%

  • เงินได้พึงประเมินที่เข้าลักษณะรับจ้างทำของ

- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 มาตรา 40(2) ได้แก่ ค่าจ้างทั่วไป หมายถึงถ้าเป็นค่าจ้างทำของหรือให้บริการในนามบุคคลธรรมดา ที่ออกแค่แรงเพียงอย่างเดียว จะถือว่าอยู่ในมาตรา 40(2) ให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า สูงสุด 35% โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% แต่เมื่อรวมหักค่าใช้จ่ายจากเงินประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 แล้ว ต้องไม่เกิน 100,000 บาท     

- เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 มาตรา 40(7) ได้แก่ ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ หมายถึงต้องเป็นค่าจ้างทำของที่ผู้รับจ้างมีทีมงานเหมางานทั้งหมด ทั้งแรงงาน วัสดุอุปกรณ์ จัดการสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากอุปกรณ์ เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย สามารถนำมาคำนวณภาษีหักแบบเหมา 60% หรือหักตามจริงได้

ตัวอย่างเช่น

- ธุรกิจที่รับจ้างผลิตสินค้าให้โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้ผลิตขาย และวัสดุเป็นของผู้ว่าจ้าง ลักษณะนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ มาตรา 40(2) แต่ถ้าผู้รับจ้างเป็นคนหาวัสดุเอง ลักษณะนี้ถือเป็นการเหมารับจ้างทำของ มาตรา 40(7)  

​- ผู้รับจ้างผลิตสินค้าขายและวัสดุเป็นของผู้รับจ้าง ลักษณะนี้ถือเป็นการขายสินค้า มาตรา 40(8)  

- ผู้รับจ้างผลิตสินค้าขายแต่วัสดุเป็นของผู้ว่าจ้าง ลักษณะนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ มาตรา 40(2)

สรุป... ยังมีภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

นอกจากเงินได้พึงประเมินแล้ว การขายสินค้าและรับจ้างทำของ ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยการ “ขายสินค้า” และ “รับจ้างทำของ” แบบไหนต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ดังนี้

- ขายสินค้า คือการขายสินค้าทั้งที่ซื้อมาขายไป รวมถึงผลิตขายและใช้วัสดุของตนเอง ไม่จัดเป็นงานบริการ ดังนั้น นิติบุคคลผู้ซื้อไม่สามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ ในกรณีที่ซื้อสินค้าจากผู้ขายสินค้า

​- ค่าจ้างทำของ คือการจ้างให้ผู้อื่นทำให้ และต้องได้ของกลับมา โดยผู้รับจ้างมีแรงงาน อุปกรณ์ ทั้งแบบที่ผู้จ้างนำวัตถุดิบไปให้ หรือไม่มีวัตถุดิบให้จ่ายเงินอย่างเดียว เรียกว่าจ้างทำของเช่นกัน ซึ่งลักษณะนี้บริษัทนิติบุคคลผู้จ้างหากจ้างทำของหรือจ้างบริการ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% และนำส่งส่วนที่หักไว้แก่กรมสรรพากรภายในวันที่ 7-15 ของเดือนถัดไป ยกเว้นค่าจ้างต่อสัญญาไม่เกิน 1,000 บาท ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

แต่ถ้าหากเป็นสัญญาระยะยาว ยอดเกิน 1,000 บาท จะต้องหักภาษี ณ ที่ จ่าย 3% และผู้ว่าจ้างออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้ผู้รับจ้างทุกครั้งด้วย

ดังนั้น อาจพอสรุปได้คือ กรณีที่เกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องแยกตามประเภทการรับจ้าง มาตรา 40(2) 40(7) และ 40(8) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคลผู้จ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 3% สำหรับค่าจ้างทำของก่อนจ่ายเงินให้กับผู้รับจ้าง แต่ขายสินค้าไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

 

อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...