“บอร์ดดิจิทัลวอลเล็ต” ไร้ข้อสรุป “เศรษฐา” ตั้งอนุฯ 2 ชุดดูข้อกฎหมายอีก 30 วัน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุม คณะกรรมการนโยบายเติมเงิน 10,000 บาทผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ต ว่าในวันนี้ที่ประชุมมีมติรับทราบมติข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกา และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เสนอมา

โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการในฐานะคณะทำงานไปรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการนี้ตามข้อสังเกตต่างๆ โดยมอบหมายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมช่วยขยายขอบเขตในการรับฟังความคิดเห็นด้วย

ที่ประชุมมีมติตั้งอนุกรรมการ 2 คณะได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการเพื่อป้องกันการผิดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของโครงการ ซึ่งมีการตั้งคณะกรรมการชัดเจนและมอบหมายให้นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน มีหน้าที่ไปดูข้อกฎหมายทั้งในส่วนที่ ป.ป.ช.และคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอมา

2.คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและความคิดเห็นด้าสต่างๆ โดยจะเริ่มทำงานทันทีและมีกรอบทำงานภายใน 30 วัน เมื่อเสร็จสิ้นจะนัดประชุมคณะกรรมการดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่อีกครั้ง

 

เมื่อมีการประชุมครั้งต่อไปจะมีการนำเอาความเห็นของ ป.ป.ช.เข้ามาสู่การพิจารณาและนำเสนอต่อ ครม.ต่อไป

ทั้งนี้การเสนอแนะในโครงการนี้ที่ประชุมฯมีการเสนอว่าขอให้มีการรับฟังข้อคิดเห็นในวงกว้างไม่ใช่แค่กระทรวงการคลัง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งวันนี้มีความชัดเจนทุกๆคนที่อยากเสนอแนะก็ได้มีการพูดคุยกันให้ครบถ้วน และบางเรื่องนั้นเป็นข้อมูลลับก็มีการบอกว่าขอนำไปศึกษาก่อนซึ่งตนก็ยินดีที่ได้มีการ

 

“คณะกรรมการชุดนี้มีองค์ประกอบของคณะกรรมการหลายท่าน โดยหนึ่งในนั้นคือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งก็บอกว่าเพิ่งได้เห็นข้อสังเกตจากกฤษฎีกาและ ป.ป.ช.ก็ต้องขอนำไปศึกษา พิจารณา ซึ่งผมก็ยืนยันว่าได้ครับและขอให้พิจารณาได้เต็มที่ โดยให้พิจารณาถึงข้อเท็จจริง มีข้อเสนอแนะอย่างไรก็ให้ตอบมา”

แหล่งข่าวจากที่ประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตเปิดเผยว่าการประชุมได้มีการพิจารณาข้อกฎหมายทั้งในส่วนที่คณะกรรมการกฤษฎีกา และ ป.ป.ช.ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้มีการตั้งกรรมการขึ้นมา 2 ชุดเพื่อศึกษาความเห็นของ ป.ป.ช.หนึ่งชุด และกรรมการที่ศึกษาคำตอบของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกหนึ่งชุด ซึ่งมีกรอบการทำงาน 30 วันเช่นกัน แล้วนำเอาข้อสรุปเสนอต่อบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตชุดใหญ่

ส่วนเมื่อถามว่าในการประชุมวาระลับเรื่องความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทำไมต้องมีการประชุมวาระลับ แหล่งข่าวระบุว่าเรื่องจากเอกสารดังกล่าวยังมีชั้นความลับอยู่ จึงต้องมีการประชุมวาระลับเฉพาะกรรมการในบอร์ดนี้เท่านั้น

นายเศรษฐา ยังกล่าวว่า ในส่วนของไทม์ไลน์โครงการ และการเปลี่ยนแปลงการแหล่งกู้เงินมาเป็นการใช้งบประมาณประจำปี 2568 แทนหรือไม่นั้น เห็นว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ตอนนี้ขอรอข้อสรุปของคณะทำงานและคณะอนุกรรมการฯ สรุปรายละเอียดออกมาก่อน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...